การศึกษาพัฒนาการการปั้นและพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์
ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 - 4 ปี
บทที่ 1
บทนำ
บทนำ
ภูมิหลัง
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา การพัฒนาประเทศจะดำเนินไปได้ด้วยดีนั้นย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศเป็นสำคัญ ฉะนั้นการพัฒนาคุณภาพของประชากรจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาประเทศ การศึกษามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพของประชากร ดังพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช พระราชทานแก่ครูใหญ่และนักเรียน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ความว่า “...การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรมของบุคคล เพื่อให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ...” โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรที่มีคุณภาพจำเป็นต้องมีลักษณะประการหนึ่ง คือมีความคิดสร้างสรรค์ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2532 : 3) ซึ่งแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544) ได้เน้นถึงการศึกษาพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะที่เป็นผู้ใฝ่การเรียนรู้ รู้จักคิดวิเคราะห์ใช้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ มีความคิดรวบยอด มีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2540 : 24)
ความคิดสร้างสรรค์จัดเป็นคุณสมบัติที่มีคุณภาพกว่าความสามารถด้านอื่นๆ ของมนุษย์ บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะสามารถสร้างสรรค์ตนเองและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสม พึงพอใจและมีชีวิตที่เป็นสุขได้ (อารี พันธ์มณี. 2543 : 69) ซึ่งความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในตัวคนทุกคนและสามารถส่งเสริมคุณลักษณะนี้ให้พัฒนาสูงขึ้นได้ (Gale. 1961 อ้างถึงในอารี พันธ์มณี. 2543 : 2) สอดคล้องกับสตอร์ม (Storm. 1963 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2543 : 2) ที่ว่า “ทุกคนมีศักยภาพทางความคิดสร้างสรรค์ แต่อาจแตกต่างกันในระดับของความมากน้อย” และทอแรนซ์ (Torrance. 1965) ก็สนับสนุนว่า ความคิดสร้างสรรค์สามารถพัฒนาได้ด้วยการสอน ฝึกฝนและการฝึกปฏิบัติที่ถูกวิธี และยังเสนอแนะว่า ควรส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัย โดยเฉพาะในช่วงก่อนวัยเรียนหรือช่วง 6 ขวบแรกของชีวิต เป็นระยะที่เด็กมีจินตนาการสูง ศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กกำลังพัฒนา ดังนั้นหากช่วงวัยนี้เด็กได้รับประสบการณ์หรือกิจกรรมที่เหมาะสมและต่อเนื่องกันเป็นลำดับ ก็นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เด็ก เท่ากับเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในวัยต่อมาและวัยผู้ใหญ่ ดังที่หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ได้กำหนดให้การมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เป็นจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ซึ่งเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ข้อที่ 11 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546 : 31)
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กทำได้หลายวิธีเช่น การจัดกิจกรรมประสบการณ์ การสอน การฝึกฝน การทำกิจกรรมศิลปะ การวาดภาพ การให้เด็กฟังนิทาน การเล่นเกม ปริศนาคำทาย การตั้งคำถามให้เด็กตอบหลายๆ ทาง การให้เด็กเล่นของเล่นอย่างอิสระ เป็นต้น หลักการสำคัญของวิธีการเหล่านี้ คือเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดจินตนาการและแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง (มานพ ถนอมศรี. 2538 : 166 – 169) ดังที่จรัล คำภารัตน์ (2541 : 29) กล่าวว่า กิจกรรมศิลปะมีบทบาทที่เด่นชัดในการสร้างเสริมจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก การวาดภาพเป็นกิจกรรมศิลปะที่ให้โอกาสเด็กได้คิดจินตนาการแล้วแสดงออกเป็นรูปภาพ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้ นอกจากการวาดภาพแล้วการปั้นก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การปั้นแป้งหรือดินน้ำมัน นับเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่เรียกว่าเป็นสื่อแบบสามมิติ และยังช่วยให้เด็กได้แสดงออกถึง ความเก็บกด ก้าวร้าว เพราะเด็กจะต้องใช้มือปั้น บีบ คลึง ทุบ นวด (วิทยาลัยครูจันทรเกษม. 2534 : 118 อ้างถึงใน วรรณี อยู่คง. 2547 : 13) ดังผลการวิจัยของ ณัฐวรรณ ขนชัยภูมิ (2546 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้กิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้าในการวาดภาพกับการปั้นที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 พบว่า เด็กที่ได้รับการฝึกโดยใช้กิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้าในการวาดภาพและฝึกโดยใช้กิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้าในการปั้น มีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น และเด็กที่ได้รับการฝึกโดยใช้กิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้าในการวาดภาพ กับเด็กที่ได้รับการฝึกโดยใช้กิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้าในการปั้น มีความคิดสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกัน และเด็กปฐมวัย มีพัฒนาการการปั้นเป็นลำดับขั้นตอน และแสดงออกด้วยรูปแบบและลักษณะของชิ้นงานที่แตกต่างกัน ดังที่ธัญวลี พวงชาติ (2545 : 38 – 41) ได้ศึกษาพัฒนาการการปั้นของเด็กไทยอายุ 3 – 5 ปี ที่ศึกษาในโรงเรียนสาธิตสังกัดสถาบันราชภัฎทั่วประเทศพบว่า การปั้นของเด็กอายุ 3 ปี อยู่ใน ขั้นเริ่มต้น ผลงานมีลักษณะเป็นก้อน เกิดจากการที่เด็กจะดึงแป้งโดออกเป็นชิ้นหรือใช้มือสับหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งชิ้นงานนั้นจะมีลักษณะคล้ายๆกัน ชิ้นงานแต่ละชิ้นจะแสดงรายละเอียด 1 – 2 อย่าง
จากความสำคัญของเอกสารและงานวิจัยดังกล่าวผู้วิจัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์สามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาพัฒนาการการปั้นและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นแป้งโดของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการได้รับการจัดกิจกรรม การปั้นแป้งโด
2. เพื่อศึกษาพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นแป้งโด
ความสำคัญของการวิจัย
ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ทำให้ทราบถึงพัฒนาการการปั้นและพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นแป้งโด และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอน ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนในระดับอนุบาลศึกษา สามารถนำวิธีการจัดกิจกรรมไปใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการการปั้นและพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กต่อไป
ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ทำให้ทราบถึงพัฒนาการการปั้นและพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นแป้งโด และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอน ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนในระดับอนุบาลศึกษา สามารถนำวิธีการจัดกิจกรรมไปใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการการปั้นและพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กต่อไป
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยค้นคว้าครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียน ชาย – หญิง อายุระหว่าง 3 – 4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 1 ห้องเรียน จำนวน 19 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยค้นคว้าครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียน ชาย – หญิง อายุระหว่าง 3 – 4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 8 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)
3. ตัวแปรที่ศึกษา
3.1 ตัวแปรอิสระ คือ การปั้นแป้งโด
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาการการปั้น
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียน ชาย – หญิง อายุระหว่าง 3 – 4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 8 คน
2. พัฒนาการการปั้น หมายถึง ความสามารถทางการปั้นของเด็กปฐมวัยที่พัฒนาเป็นไปตามลำดับขั้น ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเด็ก เด็กมีขึ้นตอนพัฒนาการการปั้น แบ่งเป็น 4 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 “แป้งโดคืออะไร” เด็กอายุ 2 ปี จะเกิดประสบการณ์จากการทดลองคุณสมบัติของแป้งโด โดยการใช้ประสาทสัมผัสการมอง การจับ การดมกลิ่น การเลีย การชิมและการฟังเสียงที่เกิดจากการเล่นแป้งโด เด็กๆ จะทิ้งขว้างหรือจับแป้งโดโยนให้มันกระเด้งหรือติดบนผิวหนัง เด็กๆ ไม่สนใจจะทำสิ่งอื่น นอกเหนือจากการใช้ประสาทสัมผัสและมีคำพูดง่ายๆ สั้นๆ ที่สัมพันธ์กับประสบการณ์การสัมผัสแป้งโด
ขั้น 2 “ฉันสามารถทำอะไรกับแป้งโดได้บ้าง” เด็กอายุ 3 ปี จะทำงานเป็นระบบมากขึ้น โดยกระบวนการต่างๆ คล้ายนักวิทยาศาสตร์ มีการทดสอบดินเหนียวด้วยการม้วน หยิก ฉีก ดึง และแทงให้เป็นรู โดยใช้ร่างกายในการตรวจสอบคุณสมบัติของแป้งโด ในขั้นนี้เด็กไม่มี ความละเอียดรอบคอบ จะพบวิธีการปั้นเป็นรูปร่างต่างๆ โดยบังเอิญ เช่น ลูกบอลเล็กๆ ขนมเค้ก งู เป็นต้น เด็กจะทำพฤติกรรมการปั้นชิ้นงานซ้ำๆ หลายครั้ง
ขั้นที่ 3 “มองดูซิ ฉันทำอะไรได้บ้าง” เด็กอายุ 4 ปี เป็นวัยแห่งการใช้ความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบการปั้นแป้งโด เด็กจะนำลูกบอลมาวางบนส่วนยอดของสิ่งอื่นๆ เด็กจะทำแป้งโดให้แบนหรือม้วนเป็นรูปร่างใหม่ จะมีการปั้นแป้งโดให้มีรูด้วยการดึงออก เด็กจะใช้สัญลักษณ์และการพูดเกี่ยวกับสิ่งที่ปั้น เช่น ในขั้นที่ 2 เด็กอาจใช้การแทงให้เป็นรู และเมื่ออยู่ใน ขั้นที่ 3 เด็กอาจจะแทงรูให้เป็น 3 รูและเรียกงานปั้นชิ้นนั้นว่าใบหน้า ตาและปาก ผู้อื่นอาจไม่รู้ว่าชิ้นงานนั้นคืออะไรเมื่อชิ้นงานนั้นเสร็จสมบูรณ์
ขั้นที่ 4 “ฉันรู้ว่าต้องไปทำอะไรกับแป้งโดของฉัน” เด็กอายุ 5 ปี เด็กวัยนี้ต้องการเพิ่มรายละเอียดในการปั้นด้วยสื่อและอุปกรณ์ที่เล่นกับแป้งโด เด็กจะสามารถตั้งชื่อและรู้สึกภาคภูมิใจในชิ้นงานปั้นของตนเอง เด็กต้องการกระบวนการหรือวิธีการที่เหมาะสม สามารถอธิบายขั้นตอนและผลงานได้ เด็กในวัยนี้จะรู้ว่าชิ้นงานปั้นเป็นเพียงสัญลักษณ์หรือรูปแบบ ที่สร้างขึ้น และไม่ใช่สิ่งของจริงๆ ไม่ใช่สิ่งที่รับประทานได้
3. กิจกรรมการปั้นแป้งโด หมายถึง กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกและลงมือปั้นแป้งโดให้เกิดเป็นรูปร่างต่างๆ ตามความรู้สึก ความคิด และจินตนาการ โดยจัดตามแผนกิจกรรมการปั้นที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ใช้เวลา 20 นาที ซึ่งครูเป็นผู้จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการปั้นให้เด็กได้เลือกอย่างหลากหลาย และเมื่อสร้างชิ้นงานเสร็จเด็กจะนำมาเล่าเกี่ยวกับชิ้นงานของตนเอง
4. พัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถของนักเรียนในการใช้ความรู้ ความคิด จินตนาการ และประสบการณ์ที่มีอยู่ ซึ่งแสดงออกโดยการปั้นที่แปลกใหม่ และหลากหลาย ซึ่งประกอบด้วยความคิด 4 ลักษณะคือ
4.1 ความคิดริเริ่ม คือความสามารถของนักเรียนในการคิดโดยการปั้นได้แปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดของผู้อื่น และไม่ซ้ำกับคนส่วนใหญ่
4.2 ความคิดคล่องแคล่ว คือความสามารถของนักเรียนในการคิดโดยการปั้นได้ปริมาณมาก
4.3 ความคิดยืดหยุ่น คือความสามารถของนักเรียนในการคิดโดยการปั้นอย่างอิสระ ปั้นได้หลายอย่าง
4.4 ความคิดละเอียดลออ คือความสามารถของนักเรียนในการคิดโดยการปั้นที่มีรายละเอียด ทำให้ภาพหรือสิ่งที่ปั้นนั้นชัดเจนและสมบูรณ์
สามารถทดสอบได้โดยแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ TCT – DP (Test For Creative Thinking – Drawing Production) ของเจลเลนและเออร์บัน (Jellen & Urban. 1986 : 138 – 155)
สมมติฐานในการวิจัย
1. พัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัย หลังการจัดกิจกรรมการปั้นแป้งโดแตกต่างจากก่อนการจัดกิจกรรมการปั้นแป้งโด
2. พัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดกิจกรรมการปั้นแป้งโดแตกต่างจากก่อนการจัดกิจกรรมการปั้นแป้งโด
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียน ชาย – หญิง อายุระหว่าง 3 – 4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 8 คน
2. พัฒนาการการปั้น หมายถึง ความสามารถทางการปั้นของเด็กปฐมวัยที่พัฒนาเป็นไปตามลำดับขั้น ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเด็ก เด็กมีขึ้นตอนพัฒนาการการปั้น แบ่งเป็น 4 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 “แป้งโดคืออะไร” เด็กอายุ 2 ปี จะเกิดประสบการณ์จากการทดลองคุณสมบัติของแป้งโด โดยการใช้ประสาทสัมผัสการมอง การจับ การดมกลิ่น การเลีย การชิมและการฟังเสียงที่เกิดจากการเล่นแป้งโด เด็กๆ จะทิ้งขว้างหรือจับแป้งโดโยนให้มันกระเด้งหรือติดบนผิวหนัง เด็กๆ ไม่สนใจจะทำสิ่งอื่น นอกเหนือจากการใช้ประสาทสัมผัสและมีคำพูดง่ายๆ สั้นๆ ที่สัมพันธ์กับประสบการณ์การสัมผัสแป้งโด
ขั้น 2 “ฉันสามารถทำอะไรกับแป้งโดได้บ้าง” เด็กอายุ 3 ปี จะทำงานเป็นระบบมากขึ้น โดยกระบวนการต่างๆ คล้ายนักวิทยาศาสตร์ มีการทดสอบดินเหนียวด้วยการม้วน หยิก ฉีก ดึง และแทงให้เป็นรู โดยใช้ร่างกายในการตรวจสอบคุณสมบัติของแป้งโด ในขั้นนี้เด็กไม่มี ความละเอียดรอบคอบ จะพบวิธีการปั้นเป็นรูปร่างต่างๆ โดยบังเอิญ เช่น ลูกบอลเล็กๆ ขนมเค้ก งู เป็นต้น เด็กจะทำพฤติกรรมการปั้นชิ้นงานซ้ำๆ หลายครั้ง
ขั้นที่ 3 “มองดูซิ ฉันทำอะไรได้บ้าง” เด็กอายุ 4 ปี เป็นวัยแห่งการใช้ความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบการปั้นแป้งโด เด็กจะนำลูกบอลมาวางบนส่วนยอดของสิ่งอื่นๆ เด็กจะทำแป้งโดให้แบนหรือม้วนเป็นรูปร่างใหม่ จะมีการปั้นแป้งโดให้มีรูด้วยการดึงออก เด็กจะใช้สัญลักษณ์และการพูดเกี่ยวกับสิ่งที่ปั้น เช่น ในขั้นที่ 2 เด็กอาจใช้การแทงให้เป็นรู และเมื่ออยู่ใน ขั้นที่ 3 เด็กอาจจะแทงรูให้เป็น 3 รูและเรียกงานปั้นชิ้นนั้นว่าใบหน้า ตาและปาก ผู้อื่นอาจไม่รู้ว่าชิ้นงานนั้นคืออะไรเมื่อชิ้นงานนั้นเสร็จสมบูรณ์
ขั้นที่ 4 “ฉันรู้ว่าต้องไปทำอะไรกับแป้งโดของฉัน” เด็กอายุ 5 ปี เด็กวัยนี้ต้องการเพิ่มรายละเอียดในการปั้นด้วยสื่อและอุปกรณ์ที่เล่นกับแป้งโด เด็กจะสามารถตั้งชื่อและรู้สึกภาคภูมิใจในชิ้นงานปั้นของตนเอง เด็กต้องการกระบวนการหรือวิธีการที่เหมาะสม สามารถอธิบายขั้นตอนและผลงานได้ เด็กในวัยนี้จะรู้ว่าชิ้นงานปั้นเป็นเพียงสัญลักษณ์หรือรูปแบบ ที่สร้างขึ้น และไม่ใช่สิ่งของจริงๆ ไม่ใช่สิ่งที่รับประทานได้
3. กิจกรรมการปั้นแป้งโด หมายถึง กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกและลงมือปั้นแป้งโดให้เกิดเป็นรูปร่างต่างๆ ตามความรู้สึก ความคิด และจินตนาการ โดยจัดตามแผนกิจกรรมการปั้นที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ใช้เวลา 20 นาที ซึ่งครูเป็นผู้จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการปั้นให้เด็กได้เลือกอย่างหลากหลาย และเมื่อสร้างชิ้นงานเสร็จเด็กจะนำมาเล่าเกี่ยวกับชิ้นงานของตนเอง
4. พัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถของนักเรียนในการใช้ความรู้ ความคิด จินตนาการ และประสบการณ์ที่มีอยู่ ซึ่งแสดงออกโดยการปั้นที่แปลกใหม่ และหลากหลาย ซึ่งประกอบด้วยความคิด 4 ลักษณะคือ
4.1 ความคิดริเริ่ม คือความสามารถของนักเรียนในการคิดโดยการปั้นได้แปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดของผู้อื่น และไม่ซ้ำกับคนส่วนใหญ่
4.2 ความคิดคล่องแคล่ว คือความสามารถของนักเรียนในการคิดโดยการปั้นได้ปริมาณมาก
4.3 ความคิดยืดหยุ่น คือความสามารถของนักเรียนในการคิดโดยการปั้นอย่างอิสระ ปั้นได้หลายอย่าง
4.4 ความคิดละเอียดลออ คือความสามารถของนักเรียนในการคิดโดยการปั้นที่มีรายละเอียด ทำให้ภาพหรือสิ่งที่ปั้นนั้นชัดเจนและสมบูรณ์
สามารถทดสอบได้โดยแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ TCT – DP (Test For Creative Thinking – Drawing Production) ของเจลเลนและเออร์บัน (Jellen & Urban. 1986 : 138 – 155)
สมมติฐานในการวิจัย
1. พัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัย หลังการจัดกิจกรรมการปั้นแป้งโดแตกต่างจากก่อนการจัดกิจกรรมการปั้นแป้งโด
2. พัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดกิจกรรมการปั้นแป้งโดแตกต่างจากก่อนการจัดกิจกรรมการปั้นแป้งโด
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับดังนี้
1. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
1.1 ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
1.2 ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์
1.3 ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์
1. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
1.1 ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
1.2 ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์
1.3 ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์
1.4 องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
1.5 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์
1.6 พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
1.7 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
1.8 บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
1.9 การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
1.10 อุปสรรคของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
1.11 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปั้น
2.1 ความหมายของการปั้น
2.2 คุณค่าของการปั้น
2.3 รูปแบบของการปั้น
2.4 ลักษณะและพัฒนาการการปั้น
2.5 การจัดกิจกรรมการปั้น
2.6 วิธีทำแป้งโด
2.7 บทบาทของครูในการส่งเสริมพัฒนาการการปั้น
2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปั้น
1. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
1.1 ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
ออสบอร์น (Osborn. 1957 : 23 ) กล่าวถึง ความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นจินตนาการประยุกต์ (Applied Imagination) คือ เป็นจินตนาการที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่มนุษย์ประสบอยู่ มิใช่เป็นจินตนาการที่ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย โดยทั่วไปความคิดจินตนาการจึงเป็นลักษณะสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ในการนำไปสู่ผลผลิตที่แปลกใหม่และเป็นประโยชน์
กู้ด (Good. 1959 : 570 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 154) ให้ความหมายความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นความช่างคิดในการสำรวจตรวจสอบสถานการณ์ที่แปลกใหม่ หรือใช้วิธีการใหม่แก้ปัญหาเก่าๆ หรือเป็นผลผลิตที่ริเริ่มขึ้นใหม่จากนักคิด
ไมล์ (Mile. 1961 : 1 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 154) อธิบายว่า เป็นกระบวนการในการคิดสิ่งใหม่ๆ โดยการรวบรวมขึ้นมาใหม่หรือจากรูปแบบของวัสดุอุปกรณ์ การเคลื่อนไหวใหม่ๆ ผลิตคำหรือสัญลักษณ์ใหม่ หรือเป็นแนวความคิดใหม่ที่ทำให้ผลผลิตดีกว่าเดิม
เกทเซลและแจ็คสัน (Getzels & Jackson. 1962 : 455 – 460) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์ เป็นลักษณะความคิดที่หาคำตอบหลายๆ คำตอบ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า ผู้ที่มีอิสระในการตอบสนองจึงจะเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้มาก
ทอร์แรนซ์ (Torrance.1962 : 16) ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นความสามารถของบุคคลในกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ผลิตผลหรือสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ไม่รู้จักมาก่อน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ อาจจะเกิดจากการรวบรวมเอาความรู้ต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์แล้วรวบรวมความคิดเป็นสมมติฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานและรายงานผลที่ได้รับจากการค้นพบ
เทเลอร์ (Taylor. 1964 : 108 – 109) ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่า เป็นความสามารถที่จะคิดย้อนกลับเพื่อแก้ปัญหาแนวทางใหม่ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วยความคล่องแคล่วในการคิด เป็นการกระตุ้นความคิดจากภายใน และร่วมกันใช้ความคิดเหล่านี้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและความมั่นใจมากขึ้น ความคิดยืดหยุ่นเป็นการพิจารณาปัญหาได้หลายแง่ และความคิดริเริ่มเป็นการพิจารณาสิ่งต่างๆ ในทางที่แปลกใหม่
วอลลาชและโคแกน (Wallach and Kogan. 1965 : 34) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถเชื่อมโยงสัมพันธ์ กล่าวคือ เมื่อระลึกถึงสิ่งใดได้ก็จะเป็นแนวทางให้ระลึกถึงสิ่งอื่นเป็นลูกโซ่ เช่น เมื่อเห็นโต๊ะก็ทำให้นึกถึงเก้าอี้ เป็นต้น สิ่งที่ระลึกออกมาต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่เก็บสะสมไว้ในสมองของตน เมื่อสิ่งเร้ามากระตุ้นก็จะตอบสนองออกมา ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการอันหนึ่งที่อยู่ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
กิลฟอร์ด (Guilford. 1967 : 61) ให้ความหมายว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะความคิดอเนกนัย (Divergent Thinking) คือ ความคิดหลายทิศทาง หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกล ลักษณะความคิดเช่นนี้จะนำไปสู่ความคิด การประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ รวมทั้งการคิดหาวิธีการแก้ปัญหาได้สำเร็จด้วย ความคิดอเนกนัย ประกอบด้วยความคิดริเริ่ม (Originality) ความคิดคล่องตัว (Fluency) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) และความคิดละเอียดลออ (Elaboration)
อารี พันธ์มณี (2546 : 155) ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการทางสมองที่คิดในลักษณะอเนกนัยอันนำไปสู่การค้นพบสิ่งแปลกใหม่ ด้วยการคิดดัดแปลง ปรุงแต่งความคิดเดิมผสมผสานกันให้เกิดสิ่งใหม่ ซึ่งรวมทั้งการประดิษฐ์ค้นพบสิ่งต่างๆ ตลอดจนวิธีการคิด ทฤษฎี หลักการได้สำเร็จความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้นี้มิใช่เพียงแต่คิดในสิ่งที่เป็นไปได้หรือสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ความคิดจินตนาการก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะก่อให้เกิดความแปลกใหม่แต่ต้องควบคู่กันไปกับความพยายามที่จะสร้างความคิดฝันหรือจินตนาการให้เป็นไปได้ หรือที่เรียกว่า จินตนาการประยุกต์นั่นเอง จึงจะทำให้เกิดผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ขึ้น
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์หมายถึง ความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิด จินตนาการ และประสบการณ์ที่มีอยู่สร้างสรรค์เป็นผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ แปลกใหม่ หลากหลาย และเป็นประโยชน์
1.2 ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์นี้ มีผู้กล่าวถึงความสำคัญไว้หลายท่านดังนี้
ชาญชัย อินทรประวัติ (2518 : 19) ได้ให้ความเห็นว่า ความคิดสร้างสรรค์มีความจำเป็นต่อชีวิต เพราะในการให้การศึกษาแก่เด็กไม่สามารถจะสอนทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การสอนเด็กให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จึงมีโอกาสนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาได้ดี
อารี สัณหฉวี (2511 : 424) กล่าวว่า การศึกษาเพื่อความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งจำเป็นในสังคมปัจจุบัน เพราะสังคมเปลี่ยนแปลงมีปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เด็กจะต้องฝึกฝนให้รู้จักคิดสิ่งใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่ต้องพบในชีวิตประจำวัน
เฮอร์ลอค (Hurlock. 1972 : 319) ได้กล่าวถึงคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ว่า ความคิดสร้างสรรค์ให้ความสนุก ความสุขและความพอใจแก่เด็กและมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของเด็กมาก ไม่มีอะไรที่จะทำให้เด็กรู้สึกหดหู่ได้เท่ากับงานสร้างสรรค์ของเขาถูกตำหนิ ถูกดูถูกหรือถูกคิดว่าสิ่งที่เขาสร้างนั้นไม่เหมือนของจริง
เจอร์ซิล (Jersild. 1972 : 153 – 158) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์มีส่วนช่วยในการส่งเสริมเด็กในด้านต่างๆ ได้แก่
1. ส่งเสริมสุนทรียภาพ เด็กจะรู้จักชื่นชมและมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆ ผู้ใหญ่ควรทำเป็นตัวอย่าง โดยการยอมรับและชื่นชมในผลงานของเด็กๆ การพัฒนาสุนทรียภาพแก่เด็ก โดยให้เด็กเห็นว่าทุกๆ อย่างมีความหมายสำหรับตัวเขา ส่งเสริมให้รู้จักสังเกตสิ่งที่แปลกจากสิ่งธรรมดาสามัญ ให้ได้ยินในสิ่งที่ไม่เคยได้ยินและหัดให้เด็กสนใจในสิ่งต่างๆ รอบตัว
2. ผ่อนคลายอารมณ์ การทำงานสร้างสรรค์เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ ลดความกดดัน ความคับข้องใจและความก้าวร้าวลง
3. สร้างนิสัยในการทำงานที่ดี ขณะที่เด็กทำงาน ครูควรสอนระเบียบและนิสัยที่ดีในการทำงานควบคู่ไปด้วย เช่น หัดให้เด็กรู้จักเก็บของเป็นที่ ล้างมือเมื่อทำงานเสร็จ
4. การพัฒนากล้ามเนื้อมือ เด็กสามารถพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่จากการเล่น การเคลื่อนไหว การเล่นบล็อก และการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กจากการตัดกระดาษ ประดิษฐ์ภาพ วาดภาพด้วยนิ้วมือ การต่อภาพ การเล่นกระดานตะปู
5. การเปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจ ค้นคว้าทดลอง เด็กจะชอบทำกิจกรรมและใช้วัสดุต่างๆ กัน เพื่อสร้างสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นโอกาสที่เด็กจะใช้ความคิดริเริ่มและจินตนาการของเขาสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้น ครูจึงควรจัดหาวัสดุต่างๆ ไว้ให้กับเด็กมีโอกาสพัฒนาการทดลองของตน เช่น กล่องยาสีฟัน เปลือกไข่และเศษวัสดุเหลือใช้ เพื่อให้เขาฝึกสมมติเป็นนักก่อสร้างหรือสถาปนิก
อารี รังสินันท์ (2532 : 498) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อตนเองและสังคม ดังนี้
1. ต่อตนเอง
1.1 ลดความเครียดทางอารมณ์ บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ต้องการแสดงออกอย่างอิสระ
ทั้งความคิดและการปฏิบัติ มีความมุ่งมั่นจริงจังในสิ่งที่คิด หากได้ทำตามที่คิดจะทำให้ลดความเครียดและความกังวล เพราะได้ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตนเองซึ่งลักษณะต่างๆ ที่บุคคลที่สร้างสรรค์ต้องการตอบสนอง ได้แก่ ความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าเผชิญกับสิ่งที่ท้าทายความสามารถ เป็นต้น
1.2 มีความสนุกสนาน เพลิดเพลินและเป็นสุข บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์เมื่อได้ทำสิ่งที่ตนได้คิด ได้เล่น ได้ทดลองกับความคิดจะรู้สึกพอใจ ตื่นเต้นกับผลงานที่เกิดขึ้น จะทำงานอย่างเพลิดเพลินทุ่มเทอย่างจริงจังและเต็มกำลังความสามารถและทำอย่างเป็นสุข แม้จะเป็นงานหนักแต่จะเป็นเรื่องที่ง่ายและเบา จะเห็นได้ว่าการทำงานของศิลปิน นักวิทยาศาสตร์และนักสร้างสรรค์สาขาต่างๆ จะใช้เวลาทำงานติดต่อกันครั้งละหลายๆ ชั่วโมง และทำอย่างต่อเนื่องนานหลายปีจนค้นพบบางสิ่งบางอย่างที่สามารถผลผลิตผลงานสร้างสรรค์ขึ้นมาได้
1.3 มีความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง การได้ทำในสิ่งที่ตนคิด ได้ทดลอง ได้ปฏิบัติจริง เมื่องานนั้นประสบความสำเร็จจะทำให้บุคคล เกิดความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง หากงานนั้นไม่สำเร็จบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะเข้าใจและยอมรับผลที่เกิดขึ้น ได้เรียนรู้และค้นพบบางสิ่งบางอย่าง ความไม่สำเร็จ ช่วงนี้จะเป็นพื้นฐานให้เกิดความมุมานะพยายามและมีความกล้าที่จะก้าวไปข้างหน้าเพื่อความสำเร็จต่อไป
2. ต่อสังคม
2.1 ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะผลงานสร้างสรรค์นำมาซึ่งความแปลกใหม่ ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้า ถ้าสังคมหยุดนิ่งจะทำให้สังคมนั้นล้าหลัง
2.2 เครื่องจักร รถยนต์ รถแทรกเตอร์ เครื่องวิดน้ำ เครื่องนวดข้าว เครื่องเก็บผลไม้ เครื่องบด สิ่งเหล่านี้ช่วยในการผ่อนแรงของมนุษย์ได้มาก ช่วยลดความเหนื่อยยาก ลำบากและทนทรมานได้มาก ไม่ต้องทำงานหนัก ทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น
2.3 ช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย รวดเร็ว การค้นพบรถจักรยาน รถยนต์ เรือที่ใช้เครื่องจักร รถไฟ เครื่องบิน ยานอวกาศ ทำให้การคมนาคม ติดต่อกัน การเดินทางขนส่งสะดวกสบาย ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น
2.4 ความปลอดภัยในชีวิตและการมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น การค้นพบทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ชีวิตมนุษย์ไม่ต้องเสี่ยงอันตราย การค้นพบยารักษาโรค วัณโรค เป็นต้น การค้นพบความรู้ใหม่ๆ ในเรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพอนามัยต่างๆ ทำให้ประชาชนรู้จักปฏิบัติตนในด้านการป้องกัน ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้คนมีชีวิตยืนยาวขึ้น
2.5 ช่วยประหยัดเวลา แรงงานและเศรษฐกิจ ผลการค้นพบในด้านต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การแพทย์ การศึกษา การเกษตรช่วยให้มนุษย์มีเวลามากขึ้นสามารถนำพลังงานนำไปใช้ทำอย่างอื่นเพื่อก่อให้เกิดรายได้และเพิ่มพูนเศรษฐกิจได้มากขึ้น มีเวลาหาความรู้ ชื่นชมกับความงาม สุนทรียภาพและศิลปะได้มากยิ่งขึ้น
2.6 ช่วยในการแก้ปัญหาสังคม เนื่องจากสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องคิดหรือหาวิธีใหม่ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นให้หมดไป
2.7 ช่วยให้เกิดความเจริญก้าวหน้าและดำรงไว้ซึ่งมนุษยชาติ ความคิดสร้างสรรค์ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศิลปะ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เป็นต้น ช่วยยกมาตรฐานการดำรงชีวิต ทำให้มนุษย์เป็นสุขและสามารถสร้างสรรค์สังคมให้เจริญขึ้นตามลำดับ
ศุภกุล เกียรติสุนทร (2546 : 3 – 6) กล่าวถึง ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ ไว้ดังนี้
1. ความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติ หากมนุษย์ไม่มีความคิดสร้างสรรค์คงดำเนินชีวิต อย่างซ้ำซากจำเจไม่แตกต่างกับสิ่งมีชีวิตอื่น หรือมนุษย์ก็คงไม่อาจดำรงชีวิตและสืบเผ่าพันธุ์ได้ ทั้งนี้เพราะสรีระของมนุษย์มีความบอบบางและอ่อนแอต่างจากสัตว์โลกอื่นๆ เช่น ไม่มีเขี้ยวเล็บแหลมคมเหมือนเสือ ไม่ทรงกำลังเหมือนช้าง ไม่ปราดเปรียวเหมือนม้า หากเผชิญอันตรายจากสัตว์อื่นก็ยากที่จะเอาตัวรอดได้ แต่มนุษย์มีสิ่งที่แตกต่างจากสัตว์โลกประเภทอื่นคือ มีความสามารถในการคิดและสร้างสรรค์นั่นเอง ความคิดสร้างสรรค์ทำให้มนุษย์สามารถเผชิญปัญหา สามารถวางแผนและจัดการชีวิตของตัวเองได้โดยมิยอมจำนนต่อธรรมชาติหรือโชคชะตา
2. ความสำคัญต่อประเทศชาติ ความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง ประเทศใดมีบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นจำนวนมาก นับได้ว่ามีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและ มีความสำคัญต่อประเทศชาติ ซึ่งจะสามารถนำพาประเทศชาติของตนให้เกิดการพัฒนาและเจริญก้าวหน้าไปได้ในทุกๆ ด้าน ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น จะเห็นได้ว่าการที่ประเทศญี่ปุ่นสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วนั้น ไม่ใช่เพราะว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยมาก่อน หรือมีทรัพยากรทางธรรมชาติเป็นจำนวนมาก แต่เป็นเพราะว่าประเทศญี่ปุ่นมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถสูง มีความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศให้หมดสิ้นไป และนำพาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองได้มาจนถึงปัจจุบัน
3. ความสำคัญต่อองค์กร องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะ ภาคธุรกิจเอกชนนั้น ภายใต้สภาพที่ไม่มีความแน่นอนทางเศรษฐกิจเช่นปัจจุบันนี้ ธุรกิจจะอยู่รอดได้ต้องมีการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เมื่อกล่าวถึงเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาสินค้าหรือการปรับปรุงบริการ คนส่วนใหญ่คงนึกถึงเครื่องจักร เทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัย ระบบสารสนเทศที่ก้าวหน้า หรือการบริหารจัดการที่เหมาะสม แต่นอกเหนือจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ความคิดสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะความคิดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า อัญมณีต่างๆ เช่น เพชร พลอย ทับทิม มรกต เป็นต้น เมื่อผ่านการเจียระไนและใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลายเส้น สีสัน รูปทรง และจังหวะที่ลงตัว อัญมณีเหล่านั้นจะประกอบกันกลายเป็นเครื่องประดับซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทันทีหรือแม้แต่เครื่องปั้นดินเผาธรรมดา เช่น โอ่ง อ่าง กระถาง เป็นต้น ซึ่งเป็นเพียงเครื่องใช้ในครัวเรือน เมื่อนำมาวาดลวดลายตกแต่งและลงสีเส้นให้สวยงาม ก็กลายเป็นวัตถุที่มีคุณค่าทางความงามและมีความเป็นศิลปะอยู่สูง เครื่องปั้นดินเผาของไทยในปัจจุบันจึงเป็นสินค้าส่งออกที่ได้รับความนิยมในกลุ่มประเทศยุโรป สามารถสร้างรายได้กับประเทศได้และเมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่าสิ่งที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้จำหน่ายไม่ใช่เป็นเพียงตัวสินค้าเท่านั้น แต่ได้นำเสนอความคิดสร้างสรรค์เป็นปัจจัยสำคัญ
4. ความสำคัญต่อปัจเจกบุคคล ความคิดสร้างสรรค์กับตัวบุคคลมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นกล่าวคือ ปัจเจกบุคคลเป็นแหล่งกำเนิดความคิดสร้างสรรค์ ในขณะเดียวกันกับความคิดสร้างสรรค์ ก็ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ซึ่งก่อให้เกิดผลสำเร็จประการใดประการหนึ่งของแต่ละบุคคล การคิดเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ โดยมีการคิดเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน จุดหมายสำคัญของการคิดคือ เพื่อนำพามนุษย์ไปพบจุดมุ่งหมายและการแสวงหาคุณค่าในชีวิต หากไม่มีความสามารถในการคิด บุคคลก็จะไม่สามารถดำเนินชีวิตไปในทางดีขึ้นหรือไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ สำหรับปัจเจกบุคคลที่เป็นเด็กปฐมวัยความคิดสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าต่อเด็ก
4.1 ความคิดสร้างสรรค์นำความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และความพอใจมาให้แก่เด็ก ซึ่งถือเป็นรางวัลชีวิตที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการปรับตัวและการค้นหาบุคลิกภาพของเด็ก เมื่อเด็กๆ ได้ฝึกให้เล่นได้ทดลองกับความคิด ได้สร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำเร็จตามความคิดของตนเอง ย่อมเกิดความพอใจตื่นเต้นกับผลงานที่เกิดขึ้น เขาจะทำงานอย่างเพลิดเพลิน ทุ่มเทอย่างจริงจังและเต็มกำลังความสามารถ แม้จะเป็นงานที่หนักก็ดูจะเป็นเรื่องง่าย การทำงานที่เด็กพอใจสนใจกล่าวได้ว่าเป็นการตอบสนองความต้องการอันยิ่งใหญ่
4.2 ลดความเครียดทางอารมณ์ เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องการแสดงออกอย่างอิสระทั้งความคิดและการปฏิบัติ หากให้ทำตามความคิดจะทำให้ลดความเครียดและความกังวลลง เพราะได้ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตนเอง ซึ่งลักษณะต่างๆ ที่เด็กต้องการตอบสนองได้แก่ ความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจศึกษาค้นคว้า ต้องการเผชิญกับสิ่งที่ท้าทายความสามารถ
4.3 มีความภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง การได้ทำในสิ่งที่ตนคิด ได้ทดลองได้เล่นกับความคิดตนเอง ได้ปฏิบัติจริงและเฝ้าดูผลที่ค่อยๆ จะเกิดขึ้นนับเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น พัฒนาการของงานทุกขั้นตอนเป็นสิ่งที่เขาได้สัมผัส ได้ค้นพบตัวเองก็นับเป็นความสำเร็จส่วนหนึ่งและหากสุดท้ายงานนั้นประสบความสำเร็จเป็นไปตามที่คาดหวัง ก็จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเองและพร้อมที่จะคิดค้นต่อไปให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น หากงานที่ปฏิบัติไม่สำเร็จ เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ก็จะเข้าใจและยอมรับผลที่เกิดขึ้น แต่อย่างน้อยเขาก็ได้เรียนรู้และค้นพบบางสิ่งบางอย่างเช่นกัน ความไม่สำเร็จช่วงนี้ก็จะเป็นพื้นฐานให้เกิดความมุมานะ ความพยายาม และมีแนวทางในการทำงานขั้นต่อไป จึงนับว่าคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ส่งผลให้เด็กเกิดความภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเองและมีความกล้าที่จะก้าวไปอีกก้าวหนึ่งข้างหน้า เพื่อสู่ความสำเร็จในขั้นสูงต่อไป
4.4 ความคิดสร้างสรรค์นำมาซึ่งความเป็นผู้นำ ผู้นำจะต้องทำประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดให้หมู่คณะและเป็นที่ยอมรับ เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์จะแนะนำเพื่อนให้เล่นกิจกรรมบางอย่างที่ตนคิดขึ้นโดยที่เพื่อนไม่เคยเล่นมาก่อน ย่อมเป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆ และสร้างความรู้สึกพอใจในบทบาทผู้นำของตัวเด็กเอง
4.5 ตระหนักถึงคุณค่าของตนเองและพร้อมที่จะสร้างสรรค์ เด็กที่ได้มีโอกาสทำในสิ่งที่ตนเองคิดจะทำได้ทดลองได้เล่นกับความคิดของตนเอง และได้เฝ้ามองความเปลี่ยนแปลงของงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป และหลังจากที่ได้ใช้เวลา ใช้ความคิด ความมุ่งมั่น ความมานะพยายามในการสร้างสรรค์ผลงาน และสุดท้ายเมื่อมีความสำเร็จเกิดขึ้น มีผลงานสร้างสรรค์ด้วยความสามารถของตนเอง เด็กจะเกิดความสุขและความภูมิใจเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้เด็กตระหนักถึงคุณค่าแห่งตน และจะเพิ่มคุณค่าให้กับตนเอง ไม่เกิดปัญหาสังคม รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม สร้างสรรค์สังคมและประเทศชาติให้ก้าวหน้าต่อไป
จากเอกสารที่ศึกษาพบว่า ความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เพราะความคิดสร้างสร้างสรรค์ช่วยให้บุคคลนั้นสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่และมีความหลากหลาย คิดหรือหาวิธีใหม่ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นให้หมดไป ซึ่งจะสามารถนำพาประเทศชาติของตนให้เกิดการพัฒนาและเจริญก้าวหน้าไปได้ในทุกๆด้าน
1.3 ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์
อารี พันธ์มณี (2543 : 2) อธิบายลักษณะของความคิดสร้างสรรค์ได้ ดังนี้
1. เป็นการค้นคิดสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ๆ จากการศึกษาทดลองทำให้จินตนาการเป็นจริงขึ้น
2. เป็นความคิดอเนกนัย ซึ่งเป็นความคิดที่กว้างไกล สลับซับซ้อนมีหลายแง่มุม หลายรูปแบบ ความคิดในลักษณะนี้จะนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ หรือแก้ปัญหายากๆ ได้สำเร็จ
3. เป็นจินตนาการหรือความคิดฝัน ซึ่งมีความสำคัญกว่าความรู้ และเป็นบ่อเกิดของการแสวงหาความรู้มาพิสูจน์จินตนาการ หรือการทำจินตนาการให้เป็นจริง
4. เป็นความรู้สึกที่ไว เข้าใจอะไรได้เร็ว แม้จะเป็นเรื่องยากและซับซ้อนมีปฏิกิริยาหรืออารมณ์ร่วมกับเรื่องนั้นๆ และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งนั้น
1.5 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์
1.6 พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
1.7 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
1.8 บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
1.9 การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
1.10 อุปสรรคของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
1.11 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปั้น
2.1 ความหมายของการปั้น
2.2 คุณค่าของการปั้น
2.3 รูปแบบของการปั้น
2.4 ลักษณะและพัฒนาการการปั้น
2.5 การจัดกิจกรรมการปั้น
2.6 วิธีทำแป้งโด
2.7 บทบาทของครูในการส่งเสริมพัฒนาการการปั้น
2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปั้น
1. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
1.1 ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
ออสบอร์น (Osborn. 1957 : 23 ) กล่าวถึง ความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นจินตนาการประยุกต์ (Applied Imagination) คือ เป็นจินตนาการที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่มนุษย์ประสบอยู่ มิใช่เป็นจินตนาการที่ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย โดยทั่วไปความคิดจินตนาการจึงเป็นลักษณะสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ในการนำไปสู่ผลผลิตที่แปลกใหม่และเป็นประโยชน์
กู้ด (Good. 1959 : 570 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 154) ให้ความหมายความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นความช่างคิดในการสำรวจตรวจสอบสถานการณ์ที่แปลกใหม่ หรือใช้วิธีการใหม่แก้ปัญหาเก่าๆ หรือเป็นผลผลิตที่ริเริ่มขึ้นใหม่จากนักคิด
ไมล์ (Mile. 1961 : 1 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 154) อธิบายว่า เป็นกระบวนการในการคิดสิ่งใหม่ๆ โดยการรวบรวมขึ้นมาใหม่หรือจากรูปแบบของวัสดุอุปกรณ์ การเคลื่อนไหวใหม่ๆ ผลิตคำหรือสัญลักษณ์ใหม่ หรือเป็นแนวความคิดใหม่ที่ทำให้ผลผลิตดีกว่าเดิม
เกทเซลและแจ็คสัน (Getzels & Jackson. 1962 : 455 – 460) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์ เป็นลักษณะความคิดที่หาคำตอบหลายๆ คำตอบ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า ผู้ที่มีอิสระในการตอบสนองจึงจะเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้มาก
ทอร์แรนซ์ (Torrance.1962 : 16) ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นความสามารถของบุคคลในกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ผลิตผลหรือสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ไม่รู้จักมาก่อน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ อาจจะเกิดจากการรวบรวมเอาความรู้ต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์แล้วรวบรวมความคิดเป็นสมมติฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานและรายงานผลที่ได้รับจากการค้นพบ
เทเลอร์ (Taylor. 1964 : 108 – 109) ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่า เป็นความสามารถที่จะคิดย้อนกลับเพื่อแก้ปัญหาแนวทางใหม่ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วยความคล่องแคล่วในการคิด เป็นการกระตุ้นความคิดจากภายใน และร่วมกันใช้ความคิดเหล่านี้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและความมั่นใจมากขึ้น ความคิดยืดหยุ่นเป็นการพิจารณาปัญหาได้หลายแง่ และความคิดริเริ่มเป็นการพิจารณาสิ่งต่างๆ ในทางที่แปลกใหม่
วอลลาชและโคแกน (Wallach and Kogan. 1965 : 34) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถเชื่อมโยงสัมพันธ์ กล่าวคือ เมื่อระลึกถึงสิ่งใดได้ก็จะเป็นแนวทางให้ระลึกถึงสิ่งอื่นเป็นลูกโซ่ เช่น เมื่อเห็นโต๊ะก็ทำให้นึกถึงเก้าอี้ เป็นต้น สิ่งที่ระลึกออกมาต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่เก็บสะสมไว้ในสมองของตน เมื่อสิ่งเร้ามากระตุ้นก็จะตอบสนองออกมา ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการอันหนึ่งที่อยู่ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
กิลฟอร์ด (Guilford. 1967 : 61) ให้ความหมายว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะความคิดอเนกนัย (Divergent Thinking) คือ ความคิดหลายทิศทาง หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกล ลักษณะความคิดเช่นนี้จะนำไปสู่ความคิด การประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ รวมทั้งการคิดหาวิธีการแก้ปัญหาได้สำเร็จด้วย ความคิดอเนกนัย ประกอบด้วยความคิดริเริ่ม (Originality) ความคิดคล่องตัว (Fluency) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) และความคิดละเอียดลออ (Elaboration)
อารี พันธ์มณี (2546 : 155) ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการทางสมองที่คิดในลักษณะอเนกนัยอันนำไปสู่การค้นพบสิ่งแปลกใหม่ ด้วยการคิดดัดแปลง ปรุงแต่งความคิดเดิมผสมผสานกันให้เกิดสิ่งใหม่ ซึ่งรวมทั้งการประดิษฐ์ค้นพบสิ่งต่างๆ ตลอดจนวิธีการคิด ทฤษฎี หลักการได้สำเร็จความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้นี้มิใช่เพียงแต่คิดในสิ่งที่เป็นไปได้หรือสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ความคิดจินตนาการก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะก่อให้เกิดความแปลกใหม่แต่ต้องควบคู่กันไปกับความพยายามที่จะสร้างความคิดฝันหรือจินตนาการให้เป็นไปได้ หรือที่เรียกว่า จินตนาการประยุกต์นั่นเอง จึงจะทำให้เกิดผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ขึ้น
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์หมายถึง ความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิด จินตนาการ และประสบการณ์ที่มีอยู่สร้างสรรค์เป็นผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ แปลกใหม่ หลากหลาย และเป็นประโยชน์
1.2 ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์นี้ มีผู้กล่าวถึงความสำคัญไว้หลายท่านดังนี้
ชาญชัย อินทรประวัติ (2518 : 19) ได้ให้ความเห็นว่า ความคิดสร้างสรรค์มีความจำเป็นต่อชีวิต เพราะในการให้การศึกษาแก่เด็กไม่สามารถจะสอนทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การสอนเด็กให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จึงมีโอกาสนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาได้ดี
อารี สัณหฉวี (2511 : 424) กล่าวว่า การศึกษาเพื่อความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งจำเป็นในสังคมปัจจุบัน เพราะสังคมเปลี่ยนแปลงมีปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เด็กจะต้องฝึกฝนให้รู้จักคิดสิ่งใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่ต้องพบในชีวิตประจำวัน
เฮอร์ลอค (Hurlock. 1972 : 319) ได้กล่าวถึงคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ว่า ความคิดสร้างสรรค์ให้ความสนุก ความสุขและความพอใจแก่เด็กและมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของเด็กมาก ไม่มีอะไรที่จะทำให้เด็กรู้สึกหดหู่ได้เท่ากับงานสร้างสรรค์ของเขาถูกตำหนิ ถูกดูถูกหรือถูกคิดว่าสิ่งที่เขาสร้างนั้นไม่เหมือนของจริง
เจอร์ซิล (Jersild. 1972 : 153 – 158) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์มีส่วนช่วยในการส่งเสริมเด็กในด้านต่างๆ ได้แก่
1. ส่งเสริมสุนทรียภาพ เด็กจะรู้จักชื่นชมและมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆ ผู้ใหญ่ควรทำเป็นตัวอย่าง โดยการยอมรับและชื่นชมในผลงานของเด็กๆ การพัฒนาสุนทรียภาพแก่เด็ก โดยให้เด็กเห็นว่าทุกๆ อย่างมีความหมายสำหรับตัวเขา ส่งเสริมให้รู้จักสังเกตสิ่งที่แปลกจากสิ่งธรรมดาสามัญ ให้ได้ยินในสิ่งที่ไม่เคยได้ยินและหัดให้เด็กสนใจในสิ่งต่างๆ รอบตัว
2. ผ่อนคลายอารมณ์ การทำงานสร้างสรรค์เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ ลดความกดดัน ความคับข้องใจและความก้าวร้าวลง
3. สร้างนิสัยในการทำงานที่ดี ขณะที่เด็กทำงาน ครูควรสอนระเบียบและนิสัยที่ดีในการทำงานควบคู่ไปด้วย เช่น หัดให้เด็กรู้จักเก็บของเป็นที่ ล้างมือเมื่อทำงานเสร็จ
4. การพัฒนากล้ามเนื้อมือ เด็กสามารถพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่จากการเล่น การเคลื่อนไหว การเล่นบล็อก และการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กจากการตัดกระดาษ ประดิษฐ์ภาพ วาดภาพด้วยนิ้วมือ การต่อภาพ การเล่นกระดานตะปู
5. การเปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจ ค้นคว้าทดลอง เด็กจะชอบทำกิจกรรมและใช้วัสดุต่างๆ กัน เพื่อสร้างสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นโอกาสที่เด็กจะใช้ความคิดริเริ่มและจินตนาการของเขาสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้น ครูจึงควรจัดหาวัสดุต่างๆ ไว้ให้กับเด็กมีโอกาสพัฒนาการทดลองของตน เช่น กล่องยาสีฟัน เปลือกไข่และเศษวัสดุเหลือใช้ เพื่อให้เขาฝึกสมมติเป็นนักก่อสร้างหรือสถาปนิก
อารี รังสินันท์ (2532 : 498) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อตนเองและสังคม ดังนี้
1. ต่อตนเอง
1.1 ลดความเครียดทางอารมณ์ บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ต้องการแสดงออกอย่างอิสระ
ทั้งความคิดและการปฏิบัติ มีความมุ่งมั่นจริงจังในสิ่งที่คิด หากได้ทำตามที่คิดจะทำให้ลดความเครียดและความกังวล เพราะได้ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตนเองซึ่งลักษณะต่างๆ ที่บุคคลที่สร้างสรรค์ต้องการตอบสนอง ได้แก่ ความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าเผชิญกับสิ่งที่ท้าทายความสามารถ เป็นต้น
1.2 มีความสนุกสนาน เพลิดเพลินและเป็นสุข บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์เมื่อได้ทำสิ่งที่ตนได้คิด ได้เล่น ได้ทดลองกับความคิดจะรู้สึกพอใจ ตื่นเต้นกับผลงานที่เกิดขึ้น จะทำงานอย่างเพลิดเพลินทุ่มเทอย่างจริงจังและเต็มกำลังความสามารถและทำอย่างเป็นสุข แม้จะเป็นงานหนักแต่จะเป็นเรื่องที่ง่ายและเบา จะเห็นได้ว่าการทำงานของศิลปิน นักวิทยาศาสตร์และนักสร้างสรรค์สาขาต่างๆ จะใช้เวลาทำงานติดต่อกันครั้งละหลายๆ ชั่วโมง และทำอย่างต่อเนื่องนานหลายปีจนค้นพบบางสิ่งบางอย่างที่สามารถผลผลิตผลงานสร้างสรรค์ขึ้นมาได้
1.3 มีความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง การได้ทำในสิ่งที่ตนคิด ได้ทดลอง ได้ปฏิบัติจริง เมื่องานนั้นประสบความสำเร็จจะทำให้บุคคล เกิดความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง หากงานนั้นไม่สำเร็จบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะเข้าใจและยอมรับผลที่เกิดขึ้น ได้เรียนรู้และค้นพบบางสิ่งบางอย่าง ความไม่สำเร็จ ช่วงนี้จะเป็นพื้นฐานให้เกิดความมุมานะพยายามและมีความกล้าที่จะก้าวไปข้างหน้าเพื่อความสำเร็จต่อไป
2. ต่อสังคม
2.1 ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะผลงานสร้างสรรค์นำมาซึ่งความแปลกใหม่ ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้า ถ้าสังคมหยุดนิ่งจะทำให้สังคมนั้นล้าหลัง
2.2 เครื่องจักร รถยนต์ รถแทรกเตอร์ เครื่องวิดน้ำ เครื่องนวดข้าว เครื่องเก็บผลไม้ เครื่องบด สิ่งเหล่านี้ช่วยในการผ่อนแรงของมนุษย์ได้มาก ช่วยลดความเหนื่อยยาก ลำบากและทนทรมานได้มาก ไม่ต้องทำงานหนัก ทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น
2.3 ช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย รวดเร็ว การค้นพบรถจักรยาน รถยนต์ เรือที่ใช้เครื่องจักร รถไฟ เครื่องบิน ยานอวกาศ ทำให้การคมนาคม ติดต่อกัน การเดินทางขนส่งสะดวกสบาย ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น
2.4 ความปลอดภัยในชีวิตและการมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น การค้นพบทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ชีวิตมนุษย์ไม่ต้องเสี่ยงอันตราย การค้นพบยารักษาโรค วัณโรค เป็นต้น การค้นพบความรู้ใหม่ๆ ในเรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพอนามัยต่างๆ ทำให้ประชาชนรู้จักปฏิบัติตนในด้านการป้องกัน ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้คนมีชีวิตยืนยาวขึ้น
2.5 ช่วยประหยัดเวลา แรงงานและเศรษฐกิจ ผลการค้นพบในด้านต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การแพทย์ การศึกษา การเกษตรช่วยให้มนุษย์มีเวลามากขึ้นสามารถนำพลังงานนำไปใช้ทำอย่างอื่นเพื่อก่อให้เกิดรายได้และเพิ่มพูนเศรษฐกิจได้มากขึ้น มีเวลาหาความรู้ ชื่นชมกับความงาม สุนทรียภาพและศิลปะได้มากยิ่งขึ้น
2.6 ช่วยในการแก้ปัญหาสังคม เนื่องจากสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องคิดหรือหาวิธีใหม่ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นให้หมดไป
2.7 ช่วยให้เกิดความเจริญก้าวหน้าและดำรงไว้ซึ่งมนุษยชาติ ความคิดสร้างสรรค์ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศิลปะ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เป็นต้น ช่วยยกมาตรฐานการดำรงชีวิต ทำให้มนุษย์เป็นสุขและสามารถสร้างสรรค์สังคมให้เจริญขึ้นตามลำดับ
ศุภกุล เกียรติสุนทร (2546 : 3 – 6) กล่าวถึง ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ ไว้ดังนี้
1. ความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติ หากมนุษย์ไม่มีความคิดสร้างสรรค์คงดำเนินชีวิต อย่างซ้ำซากจำเจไม่แตกต่างกับสิ่งมีชีวิตอื่น หรือมนุษย์ก็คงไม่อาจดำรงชีวิตและสืบเผ่าพันธุ์ได้ ทั้งนี้เพราะสรีระของมนุษย์มีความบอบบางและอ่อนแอต่างจากสัตว์โลกอื่นๆ เช่น ไม่มีเขี้ยวเล็บแหลมคมเหมือนเสือ ไม่ทรงกำลังเหมือนช้าง ไม่ปราดเปรียวเหมือนม้า หากเผชิญอันตรายจากสัตว์อื่นก็ยากที่จะเอาตัวรอดได้ แต่มนุษย์มีสิ่งที่แตกต่างจากสัตว์โลกประเภทอื่นคือ มีความสามารถในการคิดและสร้างสรรค์นั่นเอง ความคิดสร้างสรรค์ทำให้มนุษย์สามารถเผชิญปัญหา สามารถวางแผนและจัดการชีวิตของตัวเองได้โดยมิยอมจำนนต่อธรรมชาติหรือโชคชะตา
2. ความสำคัญต่อประเทศชาติ ความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง ประเทศใดมีบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นจำนวนมาก นับได้ว่ามีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและ มีความสำคัญต่อประเทศชาติ ซึ่งจะสามารถนำพาประเทศชาติของตนให้เกิดการพัฒนาและเจริญก้าวหน้าไปได้ในทุกๆ ด้าน ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น จะเห็นได้ว่าการที่ประเทศญี่ปุ่นสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วนั้น ไม่ใช่เพราะว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยมาก่อน หรือมีทรัพยากรทางธรรมชาติเป็นจำนวนมาก แต่เป็นเพราะว่าประเทศญี่ปุ่นมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถสูง มีความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศให้หมดสิ้นไป และนำพาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองได้มาจนถึงปัจจุบัน
3. ความสำคัญต่อองค์กร องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะ ภาคธุรกิจเอกชนนั้น ภายใต้สภาพที่ไม่มีความแน่นอนทางเศรษฐกิจเช่นปัจจุบันนี้ ธุรกิจจะอยู่รอดได้ต้องมีการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เมื่อกล่าวถึงเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาสินค้าหรือการปรับปรุงบริการ คนส่วนใหญ่คงนึกถึงเครื่องจักร เทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัย ระบบสารสนเทศที่ก้าวหน้า หรือการบริหารจัดการที่เหมาะสม แต่นอกเหนือจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ความคิดสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะความคิดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า อัญมณีต่างๆ เช่น เพชร พลอย ทับทิม มรกต เป็นต้น เมื่อผ่านการเจียระไนและใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลายเส้น สีสัน รูปทรง และจังหวะที่ลงตัว อัญมณีเหล่านั้นจะประกอบกันกลายเป็นเครื่องประดับซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทันทีหรือแม้แต่เครื่องปั้นดินเผาธรรมดา เช่น โอ่ง อ่าง กระถาง เป็นต้น ซึ่งเป็นเพียงเครื่องใช้ในครัวเรือน เมื่อนำมาวาดลวดลายตกแต่งและลงสีเส้นให้สวยงาม ก็กลายเป็นวัตถุที่มีคุณค่าทางความงามและมีความเป็นศิลปะอยู่สูง เครื่องปั้นดินเผาของไทยในปัจจุบันจึงเป็นสินค้าส่งออกที่ได้รับความนิยมในกลุ่มประเทศยุโรป สามารถสร้างรายได้กับประเทศได้และเมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่าสิ่งที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้จำหน่ายไม่ใช่เป็นเพียงตัวสินค้าเท่านั้น แต่ได้นำเสนอความคิดสร้างสรรค์เป็นปัจจัยสำคัญ
4. ความสำคัญต่อปัจเจกบุคคล ความคิดสร้างสรรค์กับตัวบุคคลมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นกล่าวคือ ปัจเจกบุคคลเป็นแหล่งกำเนิดความคิดสร้างสรรค์ ในขณะเดียวกันกับความคิดสร้างสรรค์ ก็ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ซึ่งก่อให้เกิดผลสำเร็จประการใดประการหนึ่งของแต่ละบุคคล การคิดเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ โดยมีการคิดเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน จุดหมายสำคัญของการคิดคือ เพื่อนำพามนุษย์ไปพบจุดมุ่งหมายและการแสวงหาคุณค่าในชีวิต หากไม่มีความสามารถในการคิด บุคคลก็จะไม่สามารถดำเนินชีวิตไปในทางดีขึ้นหรือไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ สำหรับปัจเจกบุคคลที่เป็นเด็กปฐมวัยความคิดสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าต่อเด็ก
4.1 ความคิดสร้างสรรค์นำความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และความพอใจมาให้แก่เด็ก ซึ่งถือเป็นรางวัลชีวิตที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการปรับตัวและการค้นหาบุคลิกภาพของเด็ก เมื่อเด็กๆ ได้ฝึกให้เล่นได้ทดลองกับความคิด ได้สร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำเร็จตามความคิดของตนเอง ย่อมเกิดความพอใจตื่นเต้นกับผลงานที่เกิดขึ้น เขาจะทำงานอย่างเพลิดเพลิน ทุ่มเทอย่างจริงจังและเต็มกำลังความสามารถ แม้จะเป็นงานที่หนักก็ดูจะเป็นเรื่องง่าย การทำงานที่เด็กพอใจสนใจกล่าวได้ว่าเป็นการตอบสนองความต้องการอันยิ่งใหญ่
4.2 ลดความเครียดทางอารมณ์ เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องการแสดงออกอย่างอิสระทั้งความคิดและการปฏิบัติ หากให้ทำตามความคิดจะทำให้ลดความเครียดและความกังวลลง เพราะได้ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตนเอง ซึ่งลักษณะต่างๆ ที่เด็กต้องการตอบสนองได้แก่ ความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจศึกษาค้นคว้า ต้องการเผชิญกับสิ่งที่ท้าทายความสามารถ
4.3 มีความภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง การได้ทำในสิ่งที่ตนคิด ได้ทดลองได้เล่นกับความคิดตนเอง ได้ปฏิบัติจริงและเฝ้าดูผลที่ค่อยๆ จะเกิดขึ้นนับเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น พัฒนาการของงานทุกขั้นตอนเป็นสิ่งที่เขาได้สัมผัส ได้ค้นพบตัวเองก็นับเป็นความสำเร็จส่วนหนึ่งและหากสุดท้ายงานนั้นประสบความสำเร็จเป็นไปตามที่คาดหวัง ก็จะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเองและพร้อมที่จะคิดค้นต่อไปให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น หากงานที่ปฏิบัติไม่สำเร็จ เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ก็จะเข้าใจและยอมรับผลที่เกิดขึ้น แต่อย่างน้อยเขาก็ได้เรียนรู้และค้นพบบางสิ่งบางอย่างเช่นกัน ความไม่สำเร็จช่วงนี้ก็จะเป็นพื้นฐานให้เกิดความมุมานะ ความพยายาม และมีแนวทางในการทำงานขั้นต่อไป จึงนับว่าคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ส่งผลให้เด็กเกิดความภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเองและมีความกล้าที่จะก้าวไปอีกก้าวหนึ่งข้างหน้า เพื่อสู่ความสำเร็จในขั้นสูงต่อไป
4.4 ความคิดสร้างสรรค์นำมาซึ่งความเป็นผู้นำ ผู้นำจะต้องทำประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดให้หมู่คณะและเป็นที่ยอมรับ เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์จะแนะนำเพื่อนให้เล่นกิจกรรมบางอย่างที่ตนคิดขึ้นโดยที่เพื่อนไม่เคยเล่นมาก่อน ย่อมเป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆ และสร้างความรู้สึกพอใจในบทบาทผู้นำของตัวเด็กเอง
4.5 ตระหนักถึงคุณค่าของตนเองและพร้อมที่จะสร้างสรรค์ เด็กที่ได้มีโอกาสทำในสิ่งที่ตนเองคิดจะทำได้ทดลองได้เล่นกับความคิดของตนเอง และได้เฝ้ามองความเปลี่ยนแปลงของงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป และหลังจากที่ได้ใช้เวลา ใช้ความคิด ความมุ่งมั่น ความมานะพยายามในการสร้างสรรค์ผลงาน และสุดท้ายเมื่อมีความสำเร็จเกิดขึ้น มีผลงานสร้างสรรค์ด้วยความสามารถของตนเอง เด็กจะเกิดความสุขและความภูมิใจเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้เด็กตระหนักถึงคุณค่าแห่งตน และจะเพิ่มคุณค่าให้กับตนเอง ไม่เกิดปัญหาสังคม รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม สร้างสรรค์สังคมและประเทศชาติให้ก้าวหน้าต่อไป
จากเอกสารที่ศึกษาพบว่า ความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เพราะความคิดสร้างสร้างสรรค์ช่วยให้บุคคลนั้นสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่และมีความหลากหลาย คิดหรือหาวิธีใหม่ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นให้หมดไป ซึ่งจะสามารถนำพาประเทศชาติของตนให้เกิดการพัฒนาและเจริญก้าวหน้าไปได้ในทุกๆด้าน
1.3 ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์
อารี พันธ์มณี (2543 : 2) อธิบายลักษณะของความคิดสร้างสรรค์ได้ ดังนี้
1. เป็นการค้นคิดสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ๆ จากการศึกษาทดลองทำให้จินตนาการเป็นจริงขึ้น
2. เป็นความคิดอเนกนัย ซึ่งเป็นความคิดที่กว้างไกล สลับซับซ้อนมีหลายแง่มุม หลายรูปแบบ ความคิดในลักษณะนี้จะนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ หรือแก้ปัญหายากๆ ได้สำเร็จ
3. เป็นจินตนาการหรือความคิดฝัน ซึ่งมีความสำคัญกว่าความรู้ และเป็นบ่อเกิดของการแสวงหาความรู้มาพิสูจน์จินตนาการ หรือการทำจินตนาการให้เป็นจริง
4. เป็นความรู้สึกที่ไว เข้าใจอะไรได้เร็ว แม้จะเป็นเรื่องยากและซับซ้อนมีปฏิกิริยาหรืออารมณ์ร่วมกับเรื่องนั้นๆ และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งนั้น
1.4 องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
กิลฟอร์ด (Guilford. 1969 : 145 – 151 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 159 - 162) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการ คือ
1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และมีปริมาณมากในเวลาที่จำกัด แบ่งเป็น
1.1 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
1.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงความสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันหรือคล้ายกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ภายในเวลาที่กำหนด
1.3 ความคิดคล่องแคล่วทางการแสดงออก (Expressional Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลี หรือประโยค และนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
1.4 ความคิดคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดในสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด ความคล่องในการคิดมีความสำคัญต่อการแก้ปัญหา เพราะในการแก้ปัญหาจะต้องแสวงหาคำตอบหรือวิธีแก้ไขหลายวิธี และต้องนำวิธีการเหล่านั้นมาทดลองจนกว่าจะพบวิธีการที่ถูกต้องตามที่ต้องการ
ความคิดคล่องแคล่วนับว่าเป็นความสามารถอันดับแรกในการทำจะพยายามเลือกเฟ้นให้ได้ความคิดที่ดีและเหมาะสมที่สุด กล่าวคือ ก่อนอื่นต้องคิดให้ได้มาก หลายอย่างและแตกต่างกัน แล้วจึงนำเอาความคิดที่ได้ทั้งหมดมาพิจารณาแต่ละอย่าง เปรียบเทียบกันว่าความคิดอันใดจะเป็นความคิดที่ดีที่สุดและให้ประโยชน์คุ้มค่าที่สุด โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณา เช่น ประโยชน์ที่ได้รับ การลงทุน ความยากง่าย บุคลากร เป็นต้น ความคิดคล่องแคล่วนอกจากจะช่วยให้ได้เลือกคำตอบที่ดีและเหมาะสมที่สุดแล้ว ยังช่วยจัดหาทางเลือกอื่นๆ ที่อาจเป็นไปได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในการแก้ปัญหาใดๆ ก็ตามเรามักจะพยายามหาวิธีการแก้หลายๆ วิธี โดยให้โอกาสในการเลือกเป็นอันดับลดหลั่นกันลงมา เช่น ถ้าเราไม่สามารถทำได้อย่างวิธีที่ 1 วิธีที่ 2 ก็อาจนำมาทดลองใช้ได้ หรือวิธีที่ 3 ก็ยังเป็นที่น่าสนใจถ้าวิธีที่ 2 ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เป็นต้น ความคิดคล่องแคล่วช่วยให้มีข้อมูลมากพอในการเลือกสรรแล้ว ยังมีช่องทางอื่นที่เป็นไปได้ให้เลือกด้วย จึงนับได้ว่าความคิดคล่องแคล่วเป็นความสามารถเบื้องต้นที่จะนำไปสู่ความคิดที่มีคุณภาพหรือความคิดสร้างสรรค์นั่นเอง
2. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้หลายประเภทและหลายทิศทาง แบ่งออกเป็น
2.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายอย่างอย่างอิสระ เช่น คนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของก้อนอิฐมีอะไรบ้าง หลายอย่างและคิดได้หลายทิศทาง ในขณะที่คนซึ่งไม่มีความคิดยืดหยุ่นจะคิดได้เพียงอย่างเดียวหรือสองอย่างเท่านั้น
2.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) เป็นความสามารถที่จะคิดได้หลากหลายและสามารถคิดดัดแปลงจากสิ่งหนึ่งไปเป็นหลายสิ่งได้ ซึ่งคนที่มีความคิดยืดหยุ่นจะคิดได้ไม่ซ้ำกัน ยกตัวอย่างเช่น
คำถาม ในเวลา 5 นาที ท่านลองคิดว่าท่านสามารถจะใช้หวายทำอะไรได้บ้าง
คำตอบ กระบุง กระจาด ตะกร้า กล่องใส่ดินสอ กระออมเก็บน้ำ เตียงนอน ตู้ โซฟา โต๊ะเครื่องแป้ง เก้าอี้นอนเล่น ตะกร้อ ชะลอม กรอบรูป กิ๊บติดผม ด้ามไม้เทนนิส ด้ามไม้แบดมินตัน
นำคำตอบดังกล่าวมาจัดเป็นประเภทก็จะจัดได้ 5 ประเภทดังนี้
ประเภทที่ 1 เฟอร์นิเจอร์ คือ เตียงนอน ตู้ โต๊ะเครื่องแป้ง เก้าอี้นอนเล่น โซฟา
ประเภทที่ 2 เครื่องใช้ คือ กระบุง กระจาด ตะกร้า กระออมเก็บน้ำ
ประเภทที่ 3 เครื่องกีฬา คือ ตะกร้อ ด้ามไม้เทนนิส ด้ามไม้แบดมินตัน
ประเภทที่ 4 เครื่องประดับ คือ กรอบรูป กิ๊บติดผม
ประเภทที่ 5 เครื่องเขียน คือ กล่องใส่ดินสอ
เห็นได้ว่าความคิดยืดหยุ่นเป็นตัวเสริมให้ความคิดคล่องแคล่วมีความแปลกแตกต่างออกไปหลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อนหรือเพิ่มคุณภาพความคิดให้มากขึ้นด้วยการจัดเป็นหมวดหมู่และมีหลักเกณฑ์ยิ่งขึ้น
ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่นเป็นความคิดพื้นฐานที่จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ คือ ได้หลายหมวดหมู่ หลายประเภท ตลอดจนสามารถเตรียมทางเลือกไว้หลายๆ ทาง ความคิดยืดหยุ่นจึงเป็นความคิดเสริมคุณภาพให้ดีขึ้น
3. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ลักษณะความคิดที่แปลกใหม่และแตกต่างไปจากความคิดธรรมดา เป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการนำเอาความรู้เดิมมาคิดดัดแปลงประยุกต์ให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้น เช่น การคิดเครื่องบินได้สำเร็จก็ได้แนวคิดมาจากการทำเครื่องบินร่อน เป็นต้น
ความคิดริเริ่ม เป็นลักษณะความคิดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นความคิดที่แปลกแตกต่างจากความคิดเดิมและอาจไม่เคยมีใครนึกหรือคิดถึงมาก่อน ความคิดริเริ่มจำเป็นต้องอาศัยลักษณะความ กล้าคิด กล้าลอง เพื่อทดสอบความคิดของตน บ่อยครั้งที่ความคิดริเริ่มจำเป็นต้องอาศัยความจินตนาการหรือที่เรียกว่า จินตนาการประยุกต์ คือ ไม่ใช่คิดเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องคิดสร้างและหาทางทำให้เกิดผลงาน ตัวอย่างเช่น เคยมีผู้กล่าวว่าคนที่คิดอยากจะบินนั้นประหลาดและไม่มีทางเป็นไปได้ ต่อมา พี่น้องตระกูลไรท์ก็สามารถคิดประดิษฐ์เครื่องบินได้สำเร็จ เป็นต้น
4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเพื่อตกแต่งหรือขยายความคิดหลักให้ได้ความหมายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ความคิดละเอียดลออเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างผลงานที่มีความแปลกใหม่ให้สำเร็จ
กิลฟอร์ดและฮอฟเนอร์ (Guilford and Hoepfner. 1971 : 125 – 143) ศึกษาองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติม พบว่าความคิดสร้างสรรค์ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 8 องค์ประกอบ คือ
1. ความคิดริเริ่ม 5. ความไวต่อปัญหา
2. ความคิดคล่องตัว 6. ความสามารถในการให้นิยามใหม่
3. ความคิดยืดหยุ่น 7. ความซึมซาบ
4. ความคิดละเอียดลออ 8. ความสามารถในการทำนาย
เจลเลนและเออร์บัน (Jellen and Urban. 1986 : 141) กล่าวถึงองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้ในข้อสอบ ทีซีที – ดีพี (TCT – DP) ดังนี้
1. ความคิดคล่องตัว
2. ความคิดยืดหยุ่น
3. ความคิดริเริ่ม
4. ความคิดละเอียดลออ
5. การกระทำที่แสดงถึงการเสี่ยงอันตราย
6. การผสมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น การจัดรวมสิ่งต่างๆ ให้มีความต่อเนื่อง
7. อารมณ์ขัน
วิชัย วงศ์ใหญ่ (2523 : 7) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบประกอบของความคิดสร้างสรรค์มีดังนี้ คือ
1. ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความคิดที่แปลกแตกต่างจากบุคคลอื่น
2. ความว่องไวหรือความพรั่งพรู ปริมาณการคิดพรั่งพรูออกมามากกว่าบุคคลอื่น
3. ความคล่องตัว เป็นชนิดของความคิดที่ปรากฏออกมาจะแตกต่างกันออกไปโดยไม่ซ้ำกันเลย
4. ความละเอียดลออประณีต ความคิดที่แสดงออกมานั้นละเอียดลออ สามารถที่จะนำมาทำให้สมบูรณ์และประณีตต่อไปได้อย่างเต็มที่
5. การสังเคราะห์ คือ การรวบรวมสิ่งที่คิดได้มาทำให้มีความหมายและนำมาพัฒนาต่อไปให้สมบูรณ์เป็นจริงได้
สรุปได้ว่าความคิดสร้างสรรค์ประกอบไปด้วย ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น ความคิดริเริ่มและความคิดละเอียดลออ โดยความคิดคล่องแคล่ว และความคิดยืดหยุ่นเป็นพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ ส่วนความคิดริเริ่มนั้นทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาและความคิดละเอียดลออ ทำให้ความคิดนั้นมีรายละเอียดในการคิดมากขึ้น
1.5 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์
ประสาท อิศรปรีดา. (2532 : 8-10) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ว่า ไม่ว่าความคิดสร้างสรรค์จะอยู่ในระดับบุคคล ระดับกลุ่มหรือระดับสังคม จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ส่วนเสมอ คือ
1. องค์ประกอบที่เป็นส่วนของความสามารถ (Abilities) หรือทักษะทางการคิด ซึ่งเป็นศักยภาพในตัวบุคคล
2. องค์ประกอบทางแรงจูงใจ (Motivation)
องค์ประกอบดังกล่าว จะอยู่ในลักษณะที่เอื้อซึ่งกันและกันเสมอ คือจะต้องมีทั้งศักยภาพทางการคิด มีความอดทน ความอยากรู้อยากเห็น กล้าเสี่ยง ซึ่งเป็นคุณลักษณ์ทางอารมณ์หรือสภาพแรงจูงใจที่เอื้ออำนวยต่อการคิดสร้างสรรค์ควบคู่ไปด้วยเสมอ ดังนั้นหากบุคคลที่มีศักยภาพทางการคิดได้รับการฝึกให้คิด และได้รับแรงกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจที่จะคิด หรือริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ความก้าวหน้าในการคิดก็จะเกิดขึ้นได้
กิลฟอร์ด (Guilford. 1969 : 145 – 151 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 159 - 162) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการ คือ
1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และมีปริมาณมากในเวลาที่จำกัด แบ่งเป็น
1.1 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
1.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงความสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันหรือคล้ายกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ภายในเวลาที่กำหนด
1.3 ความคิดคล่องแคล่วทางการแสดงออก (Expressional Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลี หรือประโยค และนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
1.4 ความคิดคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดในสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด ความคล่องในการคิดมีความสำคัญต่อการแก้ปัญหา เพราะในการแก้ปัญหาจะต้องแสวงหาคำตอบหรือวิธีแก้ไขหลายวิธี และต้องนำวิธีการเหล่านั้นมาทดลองจนกว่าจะพบวิธีการที่ถูกต้องตามที่ต้องการ
ความคิดคล่องแคล่วนับว่าเป็นความสามารถอันดับแรกในการทำจะพยายามเลือกเฟ้นให้ได้ความคิดที่ดีและเหมาะสมที่สุด กล่าวคือ ก่อนอื่นต้องคิดให้ได้มาก หลายอย่างและแตกต่างกัน แล้วจึงนำเอาความคิดที่ได้ทั้งหมดมาพิจารณาแต่ละอย่าง เปรียบเทียบกันว่าความคิดอันใดจะเป็นความคิดที่ดีที่สุดและให้ประโยชน์คุ้มค่าที่สุด โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณา เช่น ประโยชน์ที่ได้รับ การลงทุน ความยากง่าย บุคลากร เป็นต้น ความคิดคล่องแคล่วนอกจากจะช่วยให้ได้เลือกคำตอบที่ดีและเหมาะสมที่สุดแล้ว ยังช่วยจัดหาทางเลือกอื่นๆ ที่อาจเป็นไปได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในการแก้ปัญหาใดๆ ก็ตามเรามักจะพยายามหาวิธีการแก้หลายๆ วิธี โดยให้โอกาสในการเลือกเป็นอันดับลดหลั่นกันลงมา เช่น ถ้าเราไม่สามารถทำได้อย่างวิธีที่ 1 วิธีที่ 2 ก็อาจนำมาทดลองใช้ได้ หรือวิธีที่ 3 ก็ยังเป็นที่น่าสนใจถ้าวิธีที่ 2 ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เป็นต้น ความคิดคล่องแคล่วช่วยให้มีข้อมูลมากพอในการเลือกสรรแล้ว ยังมีช่องทางอื่นที่เป็นไปได้ให้เลือกด้วย จึงนับได้ว่าความคิดคล่องแคล่วเป็นความสามารถเบื้องต้นที่จะนำไปสู่ความคิดที่มีคุณภาพหรือความคิดสร้างสรรค์นั่นเอง
2. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้หลายประเภทและหลายทิศทาง แบ่งออกเป็น
2.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายอย่างอย่างอิสระ เช่น คนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของก้อนอิฐมีอะไรบ้าง หลายอย่างและคิดได้หลายทิศทาง ในขณะที่คนซึ่งไม่มีความคิดยืดหยุ่นจะคิดได้เพียงอย่างเดียวหรือสองอย่างเท่านั้น
2.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) เป็นความสามารถที่จะคิดได้หลากหลายและสามารถคิดดัดแปลงจากสิ่งหนึ่งไปเป็นหลายสิ่งได้ ซึ่งคนที่มีความคิดยืดหยุ่นจะคิดได้ไม่ซ้ำกัน ยกตัวอย่างเช่น
คำถาม ในเวลา 5 นาที ท่านลองคิดว่าท่านสามารถจะใช้หวายทำอะไรได้บ้าง
คำตอบ กระบุง กระจาด ตะกร้า กล่องใส่ดินสอ กระออมเก็บน้ำ เตียงนอน ตู้ โซฟา โต๊ะเครื่องแป้ง เก้าอี้นอนเล่น ตะกร้อ ชะลอม กรอบรูป กิ๊บติดผม ด้ามไม้เทนนิส ด้ามไม้แบดมินตัน
นำคำตอบดังกล่าวมาจัดเป็นประเภทก็จะจัดได้ 5 ประเภทดังนี้
ประเภทที่ 1 เฟอร์นิเจอร์ คือ เตียงนอน ตู้ โต๊ะเครื่องแป้ง เก้าอี้นอนเล่น โซฟา
ประเภทที่ 2 เครื่องใช้ คือ กระบุง กระจาด ตะกร้า กระออมเก็บน้ำ
ประเภทที่ 3 เครื่องกีฬา คือ ตะกร้อ ด้ามไม้เทนนิส ด้ามไม้แบดมินตัน
ประเภทที่ 4 เครื่องประดับ คือ กรอบรูป กิ๊บติดผม
ประเภทที่ 5 เครื่องเขียน คือ กล่องใส่ดินสอ
เห็นได้ว่าความคิดยืดหยุ่นเป็นตัวเสริมให้ความคิดคล่องแคล่วมีความแปลกแตกต่างออกไปหลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อนหรือเพิ่มคุณภาพความคิดให้มากขึ้นด้วยการจัดเป็นหมวดหมู่และมีหลักเกณฑ์ยิ่งขึ้น
ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่นเป็นความคิดพื้นฐานที่จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ คือ ได้หลายหมวดหมู่ หลายประเภท ตลอดจนสามารถเตรียมทางเลือกไว้หลายๆ ทาง ความคิดยืดหยุ่นจึงเป็นความคิดเสริมคุณภาพให้ดีขึ้น
3. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ลักษณะความคิดที่แปลกใหม่และแตกต่างไปจากความคิดธรรมดา เป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการนำเอาความรู้เดิมมาคิดดัดแปลงประยุกต์ให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้น เช่น การคิดเครื่องบินได้สำเร็จก็ได้แนวคิดมาจากการทำเครื่องบินร่อน เป็นต้น
ความคิดริเริ่ม เป็นลักษณะความคิดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นความคิดที่แปลกแตกต่างจากความคิดเดิมและอาจไม่เคยมีใครนึกหรือคิดถึงมาก่อน ความคิดริเริ่มจำเป็นต้องอาศัยลักษณะความ กล้าคิด กล้าลอง เพื่อทดสอบความคิดของตน บ่อยครั้งที่ความคิดริเริ่มจำเป็นต้องอาศัยความจินตนาการหรือที่เรียกว่า จินตนาการประยุกต์ คือ ไม่ใช่คิดเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องคิดสร้างและหาทางทำให้เกิดผลงาน ตัวอย่างเช่น เคยมีผู้กล่าวว่าคนที่คิดอยากจะบินนั้นประหลาดและไม่มีทางเป็นไปได้ ต่อมา พี่น้องตระกูลไรท์ก็สามารถคิดประดิษฐ์เครื่องบินได้สำเร็จ เป็นต้น
4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเพื่อตกแต่งหรือขยายความคิดหลักให้ได้ความหมายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ความคิดละเอียดลออเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างผลงานที่มีความแปลกใหม่ให้สำเร็จ
กิลฟอร์ดและฮอฟเนอร์ (Guilford and Hoepfner. 1971 : 125 – 143) ศึกษาองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติม พบว่าความคิดสร้างสรรค์ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 8 องค์ประกอบ คือ
1. ความคิดริเริ่ม 5. ความไวต่อปัญหา
2. ความคิดคล่องตัว 6. ความสามารถในการให้นิยามใหม่
3. ความคิดยืดหยุ่น 7. ความซึมซาบ
4. ความคิดละเอียดลออ 8. ความสามารถในการทำนาย
เจลเลนและเออร์บัน (Jellen and Urban. 1986 : 141) กล่าวถึงองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้ในข้อสอบ ทีซีที – ดีพี (TCT – DP) ดังนี้
1. ความคิดคล่องตัว
2. ความคิดยืดหยุ่น
3. ความคิดริเริ่ม
4. ความคิดละเอียดลออ
5. การกระทำที่แสดงถึงการเสี่ยงอันตราย
6. การผสมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น การจัดรวมสิ่งต่างๆ ให้มีความต่อเนื่อง
7. อารมณ์ขัน
วิชัย วงศ์ใหญ่ (2523 : 7) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบประกอบของความคิดสร้างสรรค์มีดังนี้ คือ
1. ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความคิดที่แปลกแตกต่างจากบุคคลอื่น
2. ความว่องไวหรือความพรั่งพรู ปริมาณการคิดพรั่งพรูออกมามากกว่าบุคคลอื่น
3. ความคล่องตัว เป็นชนิดของความคิดที่ปรากฏออกมาจะแตกต่างกันออกไปโดยไม่ซ้ำกันเลย
4. ความละเอียดลออประณีต ความคิดที่แสดงออกมานั้นละเอียดลออ สามารถที่จะนำมาทำให้สมบูรณ์และประณีตต่อไปได้อย่างเต็มที่
5. การสังเคราะห์ คือ การรวบรวมสิ่งที่คิดได้มาทำให้มีความหมายและนำมาพัฒนาต่อไปให้สมบูรณ์เป็นจริงได้
สรุปได้ว่าความคิดสร้างสรรค์ประกอบไปด้วย ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น ความคิดริเริ่มและความคิดละเอียดลออ โดยความคิดคล่องแคล่ว และความคิดยืดหยุ่นเป็นพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ ส่วนความคิดริเริ่มนั้นทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาและความคิดละเอียดลออ ทำให้ความคิดนั้นมีรายละเอียดในการคิดมากขึ้น
1.5 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์
ประสาท อิศรปรีดา. (2532 : 8-10) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ว่า ไม่ว่าความคิดสร้างสรรค์จะอยู่ในระดับบุคคล ระดับกลุ่มหรือระดับสังคม จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ส่วนเสมอ คือ
1. องค์ประกอบที่เป็นส่วนของความสามารถ (Abilities) หรือทักษะทางการคิด ซึ่งเป็นศักยภาพในตัวบุคคล
2. องค์ประกอบทางแรงจูงใจ (Motivation)
องค์ประกอบดังกล่าว จะอยู่ในลักษณะที่เอื้อซึ่งกันและกันเสมอ คือจะต้องมีทั้งศักยภาพทางการคิด มีความอดทน ความอยากรู้อยากเห็น กล้าเสี่ยง ซึ่งเป็นคุณลักษณ์ทางอารมณ์หรือสภาพแรงจูงใจที่เอื้ออำนวยต่อการคิดสร้างสรรค์ควบคู่ไปด้วยเสมอ ดังนั้นหากบุคคลที่มีศักยภาพทางการคิดได้รับการฝึกให้คิด และได้รับแรงกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจที่จะคิด หรือริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ความก้าวหน้าในการคิดก็จะเกิดขึ้นได้
1.6 พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
1.6.1 ขั้นตอนของพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์
ขั้นตอนของพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ อารี พันธุ์มณี (2547 : 49 - 50) ได้รวบรวมข้อค้นพบจากนักจิตวิทยาชาวต่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไว้ดังนี้
แมคมิลแลน (Macmillan. 1924) ได้แบ่งพัฒนาการทางจินตนาการของเด็กออกเป็น 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 เป็นขั้นที่เด็กเล็กๆ มีความรู้สึกเกี่ยวกับความสวยงาม ซึ่งจะเป็นทางนำไปสู่ ความจริง แมคมิลแลน กล่าวอุปมาว่า “เมืองที่สร้างด้วยทองคำ มีประตูที่ทำด้วยไข่มุก มีน้ำพุใสดังแก้วเจียระไน มีท้องฟ้าสดใส ไม่เคยมีความมืดครึ้มเลย” (The city pf gold with pearly gates, with crystal fountains and unblackened skies)
ขั้นที่ 2 เป็นระยะที่เด็กเริ่มเข้าใจถึงความเป็นจริง เด็กจึงมีคำถามถึงสาเหตุและผลด้วยการถามว่า ทำไมถนนทั้งหลายสายจึงไม่เป็นทองคำ ทำไมน้ำพุมากมายจึงขุ่นมัว ทำไมท้องฟ้าบางแห่งจึงดูมืดมนอยู่ตลอดเวลา (Why there are so many streets that are not golden, so many fountains the are turbid with filth, and so many skies that are blackened all the time)
ขั้นที่ 3 เด็กเริ่มเข้าใจคิดทีละน้อยๆ ในสิ่งที่เด็กพบเห็นในโลกแห่งความเป็นจริง
แอนดรู (Andrew. 1930) ได้ศึกษาพัฒนาการทางจินตนาการของเด็กช่วงวัยก่อนเรียนไว้อย่างเป็นระบบและลึกซึ้งมากกว่าคนอื่น ๆ เขาพบว่าคะแนนจินตนาการของเด็กสูงสุดในช่วงอายุระหว่าง 4 – 4 ½ ขวบ และจะลดลงทันทีเมื่ออายุ 5 ขวบ ซึ่งเป็นตอนที่เด็กเริ่มเข้าเรียนชั้นอนุบาล ความสามารถที่จะตีความสร้างเค้าโครงขึ้นใหม่ หรือคิดประสมประสานจะพัฒนาสูงสุดระหว่างอายุ 3 – 4 ขวบ และต่อจากนั้นก็จะเริ่มลดลง หากจะเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนก็คือ ความคิดจินตนาการสูงสุดเมื่ออายุ 4 ขวบ และลดต่ำเมื่ออายุ 5 ขวบ การตอบว่าไม่ทราบ จะลดลงตามอายุจนกระทั่ง 5 ขวบ ต่อจากนั้นจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
มากี้ (Markey. 1933) ได้ศึกษาพัฒนาการของเด็กและพบว่าพฤติกรรมที่เกิดจากจินตนาการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุตลอดช่วงวัยก่อนเรียน มาร์กี้รายงานว่าถึงอย่างไรในการเล่นเกมและการตั้งชื่อแปลก ๆ ในสิ่งที่นำมาเร้าจะลดลงในเด็กที่มีอายุสูงขึ้น
1.6.2 ลักษณะพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์
ลิกอน (Ligon. 1957 : 13 อ้างถึงใน บุญเลิศ วิเศษรินทอง. 2546 : 39 – 40) ได้ศึกษาวิจัยและพยายามสร้างลักษณะพัฒนาการทางจินตนาการตามระดับอายุต่าง ๆ ของเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 16 ปี ดังนี้
1. เด็กวัยทารก – วัยก่อนเรียน (อายุ 0 – 6 ปี)
ในช่วงอายุ 0-2 ปี เด็กเริ่มพัฒนาการจินตนาการ ในช่วงขวบแรกเด็กต้องการรู้เรื่องต่างๆ พยายามเลียบแบบเสียงและจังหวะ เมื่ออายุ 2 ขวบ เด็กต้องการให้มีอะไรพิเศษเกิดขึ้น เด็กกระตือรือร้นที่จะสัมผัส ชิม และดูสิ่งต่างๆ ทุกอย่าง เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น แต่วิธีการแสดงออกนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคน
อายุ 2-4 ปี เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับโลกโดยประสบการณ์ตรง และทำสิ่งนั้นซ้ำๆ โดยการเล่นที่ใช้จินตนาการ เด็กตื่นตัวเกี่ยวกับสิ่งแปลกใหม่ในธรรมชาติ ช่วงความสนใจของเด็กจะสั้นโดยเปลี่ยนจากการเล่นอย่างหนึ่งไปอีกอย่างหนึ่งเสมอ เด็กเริ่มพัฒนาการความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง เด็กในวัยนี้มักจะทำในสิ่งที่เกินความสามารถของตนเอง ทำให้เกิดความรู้สึกโกรธและคับข้องใจ
อายุ 4-6 ปี เด็กเริ่มสนุกสนานกับการวางแผน การเล่น การทำงาน เด็กเรียนรู้บทบาทของผู้ใหญ่โดยการเล่นสมมติ มีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งที่เป็นจริงและถูกต้อง เด็กสามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่าง ๆ แม้ว่าจะไม่เข้าใจเหตุผลนัก เด็กทดลองเล่นบทบาทสมมติต่าง ๆ โดยใช้จินตนาการของตัวเอง ลักษณะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กวัยนี้ ค่อนข้างจะเป็นธรรมชาติที่ปรากฏชัดเจน
2. เด็กวัยเรียน (อายุ 6 – 12 ปี)
อายุ 6-8 ปี จินตนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเปลี่ยนไปสู่ความเป็นจริงมากขึ้น เขาพยายามที่จะบรรยายออกมา แม้ในขณะที่เขาเล่น เด็กวัยนี้รักการเรียนรู้มาก ดังนั้น การจัดประสบการณ์ที่ท้าทายและสนุกสนานให้กับเด็กในวัยนี้ ย่อมช่วยพัฒนาความอยากรู้อยากเห็นให้แก่เด็ก
อายุ 8-10 ปี เด็กใช้ทักษะหลายด้านในการสร้างสรรค์และสามารถค้นพบวิธีการที่จะใช้ความสามารถเฉพาะตัวของเขาสร้างสรรค์ เด็กมักจะเทียบตนเองกับคนที่น่ายกย่อง ซึ่งสามารถเอาชนะอุปสรรคได้ ความสามารถในการถาม และความอยากรู้อยากเห็นของเด็กเพิ่มมากขึ้น
อายุ 10-12 ปี เด็กชอบสำรวจค้นคว้า เด็กหญิงชอบอ่านหนังสือ และเล่นบทบาทสมมติ เด็กชายชอบเรียนจากประสบการณ์ตรง ช่วงเวลาความสนใจจะนานขึ้น ความสามารถทางศิลปะและดนตรีจะพัฒนาได้เร็ว เด็กชอบทดลองทุกสิ่งทุกอยาง เพื่อประสบการณ์แต่ยังขาดความมั่นใจในผลงานของตนเอง เด็กวัยนี้มีความคิดสร้างสรรค์ลดลงบางช่วง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเข้าสู่ระบบโรงเรียน เด็กต้องทำตามกฎเกณฑ์ของสังคมที่กำหนด ขอโอกาสแสดงความคิดเห็น
1.7 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางการคิดอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งมีนักการศึกษาและนักจิตวิทยาหลายท่าน ได้กำหนดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องออกมาใช่กันอย่างแพร่หลาย ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญา หรือทฤษฎีโครงสร้างทางสมอง (Structure of intellectual model ที่เรียกว่า SI) ซึ่งกิลฟอร์ด (Guilford.1967) ได้ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ ความมีเหตุผลและการแก้ปัญหา พบว่า ความสามารถทางสมองของมนุษย์จัดแบ่งเป็น 3 มิติ ดังนี้
กิลฟอร์ด เสนอรูปแบบโครงสร้างสมรรถภาพทางสมองสามมิติ ประกอบด้วย
มิติที่1 มิติทางด้านเนื้อหาการคิด (Contents) หมายถึงวัตถุหรือข้อมูลต่างๆ ที่รับรู้ใช้เป็นสื่อก่อให้เกิดการคิด เนื้อหาแบ่งเป็น 5 ชนิด คือ
1. เนื้อหาที่เป็นภาพ (Figural content เขียนย่อว่า F) หมายถึง ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นรูปธรรมต่างๆ บุคคลสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส
2. เนื้อหาที่เป็นเสียง (Auditory content เขียนย่อว่า A) หมายถึงสิ่งที่อยู่ในรูปของเสียงที่มีความหมาย
3. เนื้อหาที่เป็นสัญลักษณ์ (Symbolic content เขียนย่อว่า S) หมายถึงข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่อยู่ในรูปเครื่องหมายต่างๆ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รวมทั้งสัญลักษณ์ต่างๆ
4. เนื้อหาที่เป็นภาษา (Semantic content เขียนย่อว่า M) หมายถึงข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่อยู่ในรูปถ้อยคำที่มีความหมายต่างๆกัน สามารถใช้ติดต่อสื่อสารได้ แต่บางอย่างไม่อยู่ในรูปถ้อยคำเช่น ภาษาใบ้
5. เนื้อหาที่เป็นพฤติกรรม (Behavioral content เขียนย่อว่า B) หมายถึงข้อมูลที่ไม่ใช่ถ้อยคำเป็นการแสดงออกของกิริยาอาการของมนุษย์ เจตคติ ความต้องการ ทัศนคติการรับรู้ การคิด การแสดงความคิดเห็น รวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การกระทำที่สามารถสังเกตได้
มิติที่2 มิติด้านวิธีการคิด (Operations) หมายถึง กระบวนการคิดต่างๆ ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยความสามารถ 5 ชนิด ดังนี้
1. การรับรู้และการเข้าใจ (Cognition เขียนย่อว่า C) หมายถึง ความสามารถทางสมองของบุคคลที่รู้จักเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ในทันที เช่น เมื่อเห็นของเล่นรูปร่างกลมๆ ทำด้วยยาง ผิวเรียบบอกได้ว่าเป็นลูกบอล
2. การจำ (Memory เขียนย่อว่า M) หมายถึงความสามารถทางสมองของบุคคลที่เก็บสะสมรวบรวมข้อมูลต่างๆ ไว้ แล้วสามารถระลึกออกมาได้ในรูปเดิมที่ต้องการ เช่น การท่องสูตรคูณ
3. การคิดแบบอเนกนัย หรือ ความคิดกระจาย (Divergent Thinking เขียนย่อว่า D) เป็นความสามารถทางสมองของบุคคลที่สามารถคิดได้หลายแง่หลายมุม คิดหาคำตอบได้โดยไม่จำกัดจำนวนจากสิ่งเร้าที่กำหนดในเวลาที่จำกัด เช่น บอกสิ่งที่ขึ้นต้นด้วยน้ำ มาให้ได้มากที่สุด
4. การคิดแบบเอกนัย หรือ ความคิดรวม (Convergent Thinking เขียนย่อว่า N) เป็นความสามารถทางสมองของบุคคลที่สามารถสรุปข้อมูลที่ดีที่สุดจากข้อมูลที่กำหนดให้และการสรุปเป็นคำตอบนั้นจะเน้นเพียงคำตอบเดียว เช่น การเลือกคำตอบในการทำข้อสอบแบบเลือกตอบ
5. การประเมินค่า (Evaluation เขียนย่อว่า E) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับความดี ความงาม ความเหมาะสม ความพึงพอใจ โดยอาศัยเกณฑ์ที่ดีที่สุด
มิติที่3 มิติด้านผลของการคิด (Products) หมายถึง ความสามารถที่เกิดจากการผสมผสาน มิติด้านเนื้อหาและด้านปฏิบัติการเข้าด้วยกันเป็นผลผลิต เมื่อสมองรับรู้จากสิ่งเร้าทำให้เกิดการคิดในรูปแบบต่างๆกัน ซึ่งให้ผลออกมาต่างๆกัน แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้
1. หน่วย (Units เขียนย่อว่า U) เป็นส่วนที่ถูกแยกออกมา มีคุณลักษณะเฉพาะของตนเองที่แตกต่างจากสิ่งอื่น
2. จำพวก (Classes เขียนย่อว่า C) หมายถึง กลุ่มของสิ่งของที่มีลักษณะหรือคุณสมบัติร่วมกัน เช่น ผลไม้ สัตว์
3. ความสัมพันธ์ (Relations เขียนย่อว่า R) เป็นผลของการเชื่อมโยงความคิดแบบต่างๆ ตั้งแต่สองพวกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยลักษณะบางอย่างเป็นเกณฑ์ ความสัมพันธ์อาจอยู่ในรูปหน่วยกับหน่วย กลุ่มกับกลุ่ม หรือระบบกับระบบ เช่น การหาคำตรงข้าม การอุปมาอุปมัย
4. ระบบ (System เขียนย่อว่า S) หมายถึง การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผลการคิดหลายๆ คู่เข้าด้วยกันอย่างมีระบบ เช่น 1, 3, 5, 7, 9 เป็นระบบเลขคี่ เป็นต้น
5. การเปลี่ยนรูป (Transformation เขียนย่อว่า T) หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือ การให้นิยามใหม่ การตีความ การขยายความ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น
6. การประยุกต์ (Implication เขียนย่อว่า I) หมายถึง การคาดหวังหรือการทำนายเรื่องบางอย่างจากข้อมูลที่กำหนดไว้ให้และเกิดความแตกต่างไปจากเดิม
โครงสร้างทางสติปัญญาตามทฤษฎีของกิลฟอร์ด ประกอบด้วยหน่วยจุลภาคจากทั้งสามมิติเท่ากับ 5×5×6 คือ 150 หน่วย แต่ละหน่วยประกอบด้วย เนื้อหา – ปฏิบัติการ – ผลผลิต (Contents-Operations-Products)
จากโครงสร้างทางสติปัญญาข้างต้น กิลฟอร์ด ได้ศึกษาเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์(Creative thinking) ความมีเหตุผล (Reasoning) และการแก้ปัญหา (Problem solving) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ เขาพบว่าความคิดสร้างสรรค์ คือ การคิดหลายแบบหลายทาง ซึ่งสามารถใช้แก้ปัญหา อันนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ได้ ดังนั้น กิลฟอร์ด จึงอธิบายความคิดสร้างสรรค์โดยเทียบกับโครงสร้างทางสติปัญญาด้วยการผ่าโครงสร้างนำมาศึกษาเฉพาะส่วนที่เป็นกระบวนการคิด (Operations) ด้านการคิดแบบอเนกนัย โดยใช้มิติด้านเนื้อหาและผลผลิตตามโครงสร้างเดิมทำให้ได้หน่วยจุลภาคที่แทนความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ที่ 1×5×6 หน่วย
1.6.1 ขั้นตอนของพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์
ขั้นตอนของพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ อารี พันธุ์มณี (2547 : 49 - 50) ได้รวบรวมข้อค้นพบจากนักจิตวิทยาชาวต่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไว้ดังนี้
แมคมิลแลน (Macmillan. 1924) ได้แบ่งพัฒนาการทางจินตนาการของเด็กออกเป็น 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 เป็นขั้นที่เด็กเล็กๆ มีความรู้สึกเกี่ยวกับความสวยงาม ซึ่งจะเป็นทางนำไปสู่ ความจริง แมคมิลแลน กล่าวอุปมาว่า “เมืองที่สร้างด้วยทองคำ มีประตูที่ทำด้วยไข่มุก มีน้ำพุใสดังแก้วเจียระไน มีท้องฟ้าสดใส ไม่เคยมีความมืดครึ้มเลย” (The city pf gold with pearly gates, with crystal fountains and unblackened skies)
ขั้นที่ 2 เป็นระยะที่เด็กเริ่มเข้าใจถึงความเป็นจริง เด็กจึงมีคำถามถึงสาเหตุและผลด้วยการถามว่า ทำไมถนนทั้งหลายสายจึงไม่เป็นทองคำ ทำไมน้ำพุมากมายจึงขุ่นมัว ทำไมท้องฟ้าบางแห่งจึงดูมืดมนอยู่ตลอดเวลา (Why there are so many streets that are not golden, so many fountains the are turbid with filth, and so many skies that are blackened all the time)
ขั้นที่ 3 เด็กเริ่มเข้าใจคิดทีละน้อยๆ ในสิ่งที่เด็กพบเห็นในโลกแห่งความเป็นจริง
แอนดรู (Andrew. 1930) ได้ศึกษาพัฒนาการทางจินตนาการของเด็กช่วงวัยก่อนเรียนไว้อย่างเป็นระบบและลึกซึ้งมากกว่าคนอื่น ๆ เขาพบว่าคะแนนจินตนาการของเด็กสูงสุดในช่วงอายุระหว่าง 4 – 4 ½ ขวบ และจะลดลงทันทีเมื่ออายุ 5 ขวบ ซึ่งเป็นตอนที่เด็กเริ่มเข้าเรียนชั้นอนุบาล ความสามารถที่จะตีความสร้างเค้าโครงขึ้นใหม่ หรือคิดประสมประสานจะพัฒนาสูงสุดระหว่างอายุ 3 – 4 ขวบ และต่อจากนั้นก็จะเริ่มลดลง หากจะเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนก็คือ ความคิดจินตนาการสูงสุดเมื่ออายุ 4 ขวบ และลดต่ำเมื่ออายุ 5 ขวบ การตอบว่าไม่ทราบ จะลดลงตามอายุจนกระทั่ง 5 ขวบ ต่อจากนั้นจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
มากี้ (Markey. 1933) ได้ศึกษาพัฒนาการของเด็กและพบว่าพฤติกรรมที่เกิดจากจินตนาการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุตลอดช่วงวัยก่อนเรียน มาร์กี้รายงานว่าถึงอย่างไรในการเล่นเกมและการตั้งชื่อแปลก ๆ ในสิ่งที่นำมาเร้าจะลดลงในเด็กที่มีอายุสูงขึ้น
1.6.2 ลักษณะพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์
ลิกอน (Ligon. 1957 : 13 อ้างถึงใน บุญเลิศ วิเศษรินทอง. 2546 : 39 – 40) ได้ศึกษาวิจัยและพยายามสร้างลักษณะพัฒนาการทางจินตนาการตามระดับอายุต่าง ๆ ของเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 16 ปี ดังนี้
1. เด็กวัยทารก – วัยก่อนเรียน (อายุ 0 – 6 ปี)
ในช่วงอายุ 0-2 ปี เด็กเริ่มพัฒนาการจินตนาการ ในช่วงขวบแรกเด็กต้องการรู้เรื่องต่างๆ พยายามเลียบแบบเสียงและจังหวะ เมื่ออายุ 2 ขวบ เด็กต้องการให้มีอะไรพิเศษเกิดขึ้น เด็กกระตือรือร้นที่จะสัมผัส ชิม และดูสิ่งต่างๆ ทุกอย่าง เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น แต่วิธีการแสดงออกนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคน
อายุ 2-4 ปี เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับโลกโดยประสบการณ์ตรง และทำสิ่งนั้นซ้ำๆ โดยการเล่นที่ใช้จินตนาการ เด็กตื่นตัวเกี่ยวกับสิ่งแปลกใหม่ในธรรมชาติ ช่วงความสนใจของเด็กจะสั้นโดยเปลี่ยนจากการเล่นอย่างหนึ่งไปอีกอย่างหนึ่งเสมอ เด็กเริ่มพัฒนาการความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง เด็กในวัยนี้มักจะทำในสิ่งที่เกินความสามารถของตนเอง ทำให้เกิดความรู้สึกโกรธและคับข้องใจ
อายุ 4-6 ปี เด็กเริ่มสนุกสนานกับการวางแผน การเล่น การทำงาน เด็กเรียนรู้บทบาทของผู้ใหญ่โดยการเล่นสมมติ มีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งที่เป็นจริงและถูกต้อง เด็กสามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่าง ๆ แม้ว่าจะไม่เข้าใจเหตุผลนัก เด็กทดลองเล่นบทบาทสมมติต่าง ๆ โดยใช้จินตนาการของตัวเอง ลักษณะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กวัยนี้ ค่อนข้างจะเป็นธรรมชาติที่ปรากฏชัดเจน
2. เด็กวัยเรียน (อายุ 6 – 12 ปี)
อายุ 6-8 ปี จินตนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเปลี่ยนไปสู่ความเป็นจริงมากขึ้น เขาพยายามที่จะบรรยายออกมา แม้ในขณะที่เขาเล่น เด็กวัยนี้รักการเรียนรู้มาก ดังนั้น การจัดประสบการณ์ที่ท้าทายและสนุกสนานให้กับเด็กในวัยนี้ ย่อมช่วยพัฒนาความอยากรู้อยากเห็นให้แก่เด็ก
อายุ 8-10 ปี เด็กใช้ทักษะหลายด้านในการสร้างสรรค์และสามารถค้นพบวิธีการที่จะใช้ความสามารถเฉพาะตัวของเขาสร้างสรรค์ เด็กมักจะเทียบตนเองกับคนที่น่ายกย่อง ซึ่งสามารถเอาชนะอุปสรรคได้ ความสามารถในการถาม และความอยากรู้อยากเห็นของเด็กเพิ่มมากขึ้น
อายุ 10-12 ปี เด็กชอบสำรวจค้นคว้า เด็กหญิงชอบอ่านหนังสือ และเล่นบทบาทสมมติ เด็กชายชอบเรียนจากประสบการณ์ตรง ช่วงเวลาความสนใจจะนานขึ้น ความสามารถทางศิลปะและดนตรีจะพัฒนาได้เร็ว เด็กชอบทดลองทุกสิ่งทุกอยาง เพื่อประสบการณ์แต่ยังขาดความมั่นใจในผลงานของตนเอง เด็กวัยนี้มีความคิดสร้างสรรค์ลดลงบางช่วง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเข้าสู่ระบบโรงเรียน เด็กต้องทำตามกฎเกณฑ์ของสังคมที่กำหนด ขอโอกาสแสดงความคิดเห็น
1.7 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางการคิดอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งมีนักการศึกษาและนักจิตวิทยาหลายท่าน ได้กำหนดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องออกมาใช่กันอย่างแพร่หลาย ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญา หรือทฤษฎีโครงสร้างทางสมอง (Structure of intellectual model ที่เรียกว่า SI) ซึ่งกิลฟอร์ด (Guilford.1967) ได้ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ ความมีเหตุผลและการแก้ปัญหา พบว่า ความสามารถทางสมองของมนุษย์จัดแบ่งเป็น 3 มิติ ดังนี้
กิลฟอร์ด เสนอรูปแบบโครงสร้างสมรรถภาพทางสมองสามมิติ ประกอบด้วย
มิติที่1 มิติทางด้านเนื้อหาการคิด (Contents) หมายถึงวัตถุหรือข้อมูลต่างๆ ที่รับรู้ใช้เป็นสื่อก่อให้เกิดการคิด เนื้อหาแบ่งเป็น 5 ชนิด คือ
1. เนื้อหาที่เป็นภาพ (Figural content เขียนย่อว่า F) หมายถึง ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นรูปธรรมต่างๆ บุคคลสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส
2. เนื้อหาที่เป็นเสียง (Auditory content เขียนย่อว่า A) หมายถึงสิ่งที่อยู่ในรูปของเสียงที่มีความหมาย
3. เนื้อหาที่เป็นสัญลักษณ์ (Symbolic content เขียนย่อว่า S) หมายถึงข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่อยู่ในรูปเครื่องหมายต่างๆ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รวมทั้งสัญลักษณ์ต่างๆ
4. เนื้อหาที่เป็นภาษา (Semantic content เขียนย่อว่า M) หมายถึงข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่อยู่ในรูปถ้อยคำที่มีความหมายต่างๆกัน สามารถใช้ติดต่อสื่อสารได้ แต่บางอย่างไม่อยู่ในรูปถ้อยคำเช่น ภาษาใบ้
5. เนื้อหาที่เป็นพฤติกรรม (Behavioral content เขียนย่อว่า B) หมายถึงข้อมูลที่ไม่ใช่ถ้อยคำเป็นการแสดงออกของกิริยาอาการของมนุษย์ เจตคติ ความต้องการ ทัศนคติการรับรู้ การคิด การแสดงความคิดเห็น รวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การกระทำที่สามารถสังเกตได้
มิติที่2 มิติด้านวิธีการคิด (Operations) หมายถึง กระบวนการคิดต่างๆ ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยความสามารถ 5 ชนิด ดังนี้
1. การรับรู้และการเข้าใจ (Cognition เขียนย่อว่า C) หมายถึง ความสามารถทางสมองของบุคคลที่รู้จักเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ในทันที เช่น เมื่อเห็นของเล่นรูปร่างกลมๆ ทำด้วยยาง ผิวเรียบบอกได้ว่าเป็นลูกบอล
2. การจำ (Memory เขียนย่อว่า M) หมายถึงความสามารถทางสมองของบุคคลที่เก็บสะสมรวบรวมข้อมูลต่างๆ ไว้ แล้วสามารถระลึกออกมาได้ในรูปเดิมที่ต้องการ เช่น การท่องสูตรคูณ
3. การคิดแบบอเนกนัย หรือ ความคิดกระจาย (Divergent Thinking เขียนย่อว่า D) เป็นความสามารถทางสมองของบุคคลที่สามารถคิดได้หลายแง่หลายมุม คิดหาคำตอบได้โดยไม่จำกัดจำนวนจากสิ่งเร้าที่กำหนดในเวลาที่จำกัด เช่น บอกสิ่งที่ขึ้นต้นด้วยน้ำ มาให้ได้มากที่สุด
4. การคิดแบบเอกนัย หรือ ความคิดรวม (Convergent Thinking เขียนย่อว่า N) เป็นความสามารถทางสมองของบุคคลที่สามารถสรุปข้อมูลที่ดีที่สุดจากข้อมูลที่กำหนดให้และการสรุปเป็นคำตอบนั้นจะเน้นเพียงคำตอบเดียว เช่น การเลือกคำตอบในการทำข้อสอบแบบเลือกตอบ
5. การประเมินค่า (Evaluation เขียนย่อว่า E) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับความดี ความงาม ความเหมาะสม ความพึงพอใจ โดยอาศัยเกณฑ์ที่ดีที่สุด
มิติที่3 มิติด้านผลของการคิด (Products) หมายถึง ความสามารถที่เกิดจากการผสมผสาน มิติด้านเนื้อหาและด้านปฏิบัติการเข้าด้วยกันเป็นผลผลิต เมื่อสมองรับรู้จากสิ่งเร้าทำให้เกิดการคิดในรูปแบบต่างๆกัน ซึ่งให้ผลออกมาต่างๆกัน แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้
1. หน่วย (Units เขียนย่อว่า U) เป็นส่วนที่ถูกแยกออกมา มีคุณลักษณะเฉพาะของตนเองที่แตกต่างจากสิ่งอื่น
2. จำพวก (Classes เขียนย่อว่า C) หมายถึง กลุ่มของสิ่งของที่มีลักษณะหรือคุณสมบัติร่วมกัน เช่น ผลไม้ สัตว์
3. ความสัมพันธ์ (Relations เขียนย่อว่า R) เป็นผลของการเชื่อมโยงความคิดแบบต่างๆ ตั้งแต่สองพวกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยลักษณะบางอย่างเป็นเกณฑ์ ความสัมพันธ์อาจอยู่ในรูปหน่วยกับหน่วย กลุ่มกับกลุ่ม หรือระบบกับระบบ เช่น การหาคำตรงข้าม การอุปมาอุปมัย
4. ระบบ (System เขียนย่อว่า S) หมายถึง การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผลการคิดหลายๆ คู่เข้าด้วยกันอย่างมีระบบ เช่น 1, 3, 5, 7, 9 เป็นระบบเลขคี่ เป็นต้น
5. การเปลี่ยนรูป (Transformation เขียนย่อว่า T) หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือ การให้นิยามใหม่ การตีความ การขยายความ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น
6. การประยุกต์ (Implication เขียนย่อว่า I) หมายถึง การคาดหวังหรือการทำนายเรื่องบางอย่างจากข้อมูลที่กำหนดไว้ให้และเกิดความแตกต่างไปจากเดิม
โครงสร้างทางสติปัญญาตามทฤษฎีของกิลฟอร์ด ประกอบด้วยหน่วยจุลภาคจากทั้งสามมิติเท่ากับ 5×5×6 คือ 150 หน่วย แต่ละหน่วยประกอบด้วย เนื้อหา – ปฏิบัติการ – ผลผลิต (Contents-Operations-Products)
จากโครงสร้างทางสติปัญญาข้างต้น กิลฟอร์ด ได้ศึกษาเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์(Creative thinking) ความมีเหตุผล (Reasoning) และการแก้ปัญหา (Problem solving) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ เขาพบว่าความคิดสร้างสรรค์ คือ การคิดหลายแบบหลายทาง ซึ่งสามารถใช้แก้ปัญหา อันนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ได้ ดังนั้น กิลฟอร์ด จึงอธิบายความคิดสร้างสรรค์โดยเทียบกับโครงสร้างทางสติปัญญาด้วยการผ่าโครงสร้างนำมาศึกษาเฉพาะส่วนที่เป็นกระบวนการคิด (Operations) ด้านการคิดแบบอเนกนัย โดยใช้มิติด้านเนื้อหาและผลผลิตตามโครงสร้างเดิมทำให้ได้หน่วยจุลภาคที่แทนความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ที่ 1×5×6 หน่วย
1.8 บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีรายละเอียด ดังนี้
แมคคินสัน (Mackinson. 1959 : 154 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 164) ได้ศึกษาคุณลักษณะของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ พบว่า ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์จะเป็นผู้ที่มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มีความพยายามสามารถพินิจพิเคราะห์ความคิดอย่างถี่ถ้วนในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ยังมีลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นผู้เปิดรับประสบการณ์ต่างๆ ชอบแสดงออกมากกว่าเก็บกด
ทอแรนซ์ (Torrance. 1962 : 81 – 82) ได้ศึกษาบุคลิกภาพของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง พบว่า คนที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงเป็นคนที่มีความคิดแปลกไปจากบุคคลอื่น มีผลงานไม่ซ้ำแบบใคร
โลแวนฟิลด์ (Lowenfield. 1952 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 164) กล่าวว่า บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะทำอะไรแตกต่างไปจากคนอื่น ไม่ชอบการทำงานที่ซ้ำซาก ไม่ชอบทำงานตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ตายตัว แต่ชอบทำงานตามสบายและยิ่งไปกว่านั้นคนที่ชอบสร้างสรรค์จะไม่ชอบทำงานชิ้นเดียวกับคนอื่น เพราะงานที่บุคคลเหล่านี้ทำเป็นงานที่ต้องแก้ปัญหาโดยตนเองตามลำพัง
เรนวอเทอร์ (Rainwater. 1965 : 6753-A อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 165) ได้ศึกษาเปรียบเทียบบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงว่าจะมีความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดีกว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ต่ำหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง สามารถแก้ปัญหาได้ดีกว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ต่ำ
ลินด์เกรน (Lindgrain. 1966 : 249 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 165) กล่าวว่า บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าศิลปินหรือนักวิทยาศาสตร์จะเป็นผู้ที่มีอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเองมากที่สุด ช่างสงสัยและไม่ชอบถูกบังคับ
ฮิลการ์ดและแอทคินสัน (Hilgard and Atkinson. 1967 :365) กล่าวว่า ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นผู้ที่มีความคิดอิสระไม่ชอบแบบใคร ชอบคิดหรือทำสิ่งที่ซับซ้อนแปลกใหม่และมีอารมณ์ขัน
ครอพเลย์ (Cropley. 1970 : 124) กล่าวว่าผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์จะประกอบด้วย 4 ประการ ดังนี้ คือ ประสบการณ์ที่กว้างขวาง (Procession of Wide Categories) เต็มใจและพร้อมที่จะเสี่ยง (Willingness to take Risks) เต็มใจและพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า (Willingness to go ahead) และมีความสามารถที่จะยืดหยุ่นความคิดได้อย่างคล่องแคล่วในระดับสูง
ไรซ์ (Rice. 1970 : 69) กล่าวถึงลักษณะคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ว่า มีลักษณะดังนี้
1. เป็นคนมีไหวพริบ
2. มีความสามารถในการประยุกต์ มีการตอบสนองที่แสดงออกถึงความคิดริเริ่ม มีความยืดหยุ่น
3. มีอิสระในการคิดและแสดงออก
4. สนใจที่จะมีประสบการณ์ต่าง ๆ และสังเคราะห์สิ่งที่ได้พบเห็น รวมกับความรู้สึกภายในใจ
5. มีความสามารถในการรับรู้
6. มีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและเข้าใจในคุณค่าของความงาม
7. รู้จักตนเอง เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของสิ่งต่างๆ
8. เข้าใจในสภาพของตน กระบวนการที่ตนมีส่วนร่วม
อารี พันธ์มณี. (2546 : 166) สรุปลักษณะของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ดังนี้
1. อยากรู้อยากเห็น มีความกระหายใคร่รู้อยู่เป็นนิจ
2. ชอบเสาะแสวงหา สำรวจ ศึกษาค้นคว้าและทดลอง
3. ชอบซักถามและถามคำถามแปลกๆ
4. ช่างสงสัย เป็นเด็กที่มีความรู้สึกแปลกประหลาดใจในสิ่งที่พบ
5. ช่างสังเกต มองเห็นลักษณะที่แปลกผิดปกติ หรือช่องว่างที่ขาดหายไปได้ง่ายและรวดเร็ว
6. ชอบแสดงออกมากกว่าจะเก็บกด ถ้าสงสัยสิ่งใดจะถามหรือ พยายามหาคำตอบโดยไม่รั้งรอ
7. อารมณ์ขัน มองสิ่งต่างๆ ในแง่มุมที่แปลก และสร้างอารมณ์ขันอยู่เสมอ
8. สมาธิดีในสิ่งที่ตนสนใจ
9. สนุกสนานกับการใช้ความคิด
10. สนใจสิ่งต่างๆ อย่างกว้างขวาง
11. มีความเป็นตัวของตัวเอง
จะเห็นได้ว่า บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์มีลักษณะเป็นผู้ชอบทดลองสิ่งใหม่ๆ อยากรู้ อยากเห็น ชอบการเปลี่ยนแปลง มีความกล้า ชอบสิ่งท้าทาย เป็นตัวของตัวเองมีความคิดอิสระ อดทน มีความยืดหยุ่น ไม่ซ้ำแบบใคร ตลอดจนมีอารมณ์ขันอีกด้วย
ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีรายละเอียด ดังนี้
แมคคินสัน (Mackinson. 1959 : 154 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 164) ได้ศึกษาคุณลักษณะของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ พบว่า ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์จะเป็นผู้ที่มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มีความพยายามสามารถพินิจพิเคราะห์ความคิดอย่างถี่ถ้วนในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ยังมีลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เป็นผู้เปิดรับประสบการณ์ต่างๆ ชอบแสดงออกมากกว่าเก็บกด
ทอแรนซ์ (Torrance. 1962 : 81 – 82) ได้ศึกษาบุคลิกภาพของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง พบว่า คนที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงเป็นคนที่มีความคิดแปลกไปจากบุคคลอื่น มีผลงานไม่ซ้ำแบบใคร
โลแวนฟิลด์ (Lowenfield. 1952 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 164) กล่าวว่า บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะทำอะไรแตกต่างไปจากคนอื่น ไม่ชอบการทำงานที่ซ้ำซาก ไม่ชอบทำงานตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ตายตัว แต่ชอบทำงานตามสบายและยิ่งไปกว่านั้นคนที่ชอบสร้างสรรค์จะไม่ชอบทำงานชิ้นเดียวกับคนอื่น เพราะงานที่บุคคลเหล่านี้ทำเป็นงานที่ต้องแก้ปัญหาโดยตนเองตามลำพัง
เรนวอเทอร์ (Rainwater. 1965 : 6753-A อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 165) ได้ศึกษาเปรียบเทียบบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงว่าจะมีความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดีกว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ต่ำหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง สามารถแก้ปัญหาได้ดีกว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ต่ำ
ลินด์เกรน (Lindgrain. 1966 : 249 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 165) กล่าวว่า บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าศิลปินหรือนักวิทยาศาสตร์จะเป็นผู้ที่มีอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเองมากที่สุด ช่างสงสัยและไม่ชอบถูกบังคับ
ฮิลการ์ดและแอทคินสัน (Hilgard and Atkinson. 1967 :365) กล่าวว่า ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นผู้ที่มีความคิดอิสระไม่ชอบแบบใคร ชอบคิดหรือทำสิ่งที่ซับซ้อนแปลกใหม่และมีอารมณ์ขัน
ครอพเลย์ (Cropley. 1970 : 124) กล่าวว่าผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์จะประกอบด้วย 4 ประการ ดังนี้ คือ ประสบการณ์ที่กว้างขวาง (Procession of Wide Categories) เต็มใจและพร้อมที่จะเสี่ยง (Willingness to take Risks) เต็มใจและพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า (Willingness to go ahead) และมีความสามารถที่จะยืดหยุ่นความคิดได้อย่างคล่องแคล่วในระดับสูง
ไรซ์ (Rice. 1970 : 69) กล่าวถึงลักษณะคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ว่า มีลักษณะดังนี้
1. เป็นคนมีไหวพริบ
2. มีความสามารถในการประยุกต์ มีการตอบสนองที่แสดงออกถึงความคิดริเริ่ม มีความยืดหยุ่น
3. มีอิสระในการคิดและแสดงออก
4. สนใจที่จะมีประสบการณ์ต่าง ๆ และสังเคราะห์สิ่งที่ได้พบเห็น รวมกับความรู้สึกภายในใจ
5. มีความสามารถในการรับรู้
6. มีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและเข้าใจในคุณค่าของความงาม
7. รู้จักตนเอง เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของสิ่งต่างๆ
8. เข้าใจในสภาพของตน กระบวนการที่ตนมีส่วนร่วม
อารี พันธ์มณี. (2546 : 166) สรุปลักษณะของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ดังนี้
1. อยากรู้อยากเห็น มีความกระหายใคร่รู้อยู่เป็นนิจ
2. ชอบเสาะแสวงหา สำรวจ ศึกษาค้นคว้าและทดลอง
3. ชอบซักถามและถามคำถามแปลกๆ
4. ช่างสงสัย เป็นเด็กที่มีความรู้สึกแปลกประหลาดใจในสิ่งที่พบ
5. ช่างสังเกต มองเห็นลักษณะที่แปลกผิดปกติ หรือช่องว่างที่ขาดหายไปได้ง่ายและรวดเร็ว
6. ชอบแสดงออกมากกว่าจะเก็บกด ถ้าสงสัยสิ่งใดจะถามหรือ พยายามหาคำตอบโดยไม่รั้งรอ
7. อารมณ์ขัน มองสิ่งต่างๆ ในแง่มุมที่แปลก และสร้างอารมณ์ขันอยู่เสมอ
8. สมาธิดีในสิ่งที่ตนสนใจ
9. สนุกสนานกับการใช้ความคิด
10. สนใจสิ่งต่างๆ อย่างกว้างขวาง
11. มีความเป็นตัวของตัวเอง
จะเห็นได้ว่า บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์มีลักษณะเป็นผู้ชอบทดลองสิ่งใหม่ๆ อยากรู้ อยากเห็น ชอบการเปลี่ยนแปลง มีความกล้า ชอบสิ่งท้าทาย เป็นตัวของตัวเองมีความคิดอิสระ อดทน มีความยืดหยุ่น ไม่ซ้ำแบบใคร ตลอดจนมีอารมณ์ขันอีกด้วย
1.9 การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ทอแรนซ์ (Torrance. 1979) ได้เสนอหลักในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไว้หลายประการ โดยเน้นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน ดังนี้ คือ
1. การส่งเสริมให้เด็กถามและให้ความสนใจต่อคำถามที่แปลกๆ ของเด็กและเขายังเน้นว่า พ่อแม่หรือครูไม่ควรมุ่งที่คำตอบที่ถูกแต่เพียงอย่างเดียว เพราะในการแก้ปัญหาแม้เด็กจะใช้วิธีเดาหรือเสี่ยงบ้างก็ควรยอม แต่ควรกระตุ้นให้เด็กได้วิเคราะห์ค้นหาเพื่อพิสูจน์การเดาโดยใช้การสังเกตและประสบการณ์ของเด็กเอง
2. ตั้งใจฟังและเอาใจใส่ต่อความคิดแปลกๆ ของเด็กด้วยใจเป็นกลางเมื่อเด็กแสดงความคิดเห็นในเรื่องใด แม้จะเป็นความคิดที่ยังไม่เคยได้ยินมาก่อน ผู้ใหญ่ก็อย่าเพิ่งตัดสินและลิดรอนความคิดนั้น แต่รับฟังไว้ก่อน
3. กระตือรือร้นต่อคำถามที่แปลกๆ ของเด็กด้วยการตอบคำถามอย่างมีชีวิตชีวา หรือชี้แนะให้เด็กหาคำตอบจากแหล่งต่างๆ ด้วยตนเอง
4. แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กนั้นมีคุณค่าและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น จากภาพที่เด็กวาด อาจนำไปเป็นลวดลายถ้วยชาม เป็นภาพปฏิทิน บัตร ส.ค.ส. เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความภูมิใจ และมีกำลังใจที่จะสร้างสรรค์ต่อไป
5. กระตุ้นและส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ควรให้โอกาสและเตรียมการให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง และยกย่องเด็กที่มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูอาจจะเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ ลดการอธิบายและบรรยายลงบ้าง แต่เพิ่มการให้นักเรียนมีส่วนริเริ่มกิจกรรมด้วยตนเองมากขึ้น
6. เปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้ ค้นคว้าอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ โดยไม่ต้องใช้วิธีขู่ด้วยคะแนน หรือการสอบ การตรวจสอบ เป็นต้น
7. พึงระลึกว่า การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กต้องใช้เวลาพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
8. ส่งเสริมให้เด็กใช้จินตนาการของตนเอง และยกย่องชมเชย เมื่อเด็กมีจินตนาการที่แปลกและมีคุณค่า
บลอนด์และคลอสไมเออ (Blaunt and Klausmier : 1965 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 167 - 168) เสนอวิธีส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้
1. สนับสนุนและกระตุ้นการแสดงความคิดหลายๆ ด้าน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์
2. เน้นสถานการณ์ที่ส่งเสริมความสามารถอันจะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ เช่น ความคิดริเริ่ม เป็นต้น ตลอดจนไม่จำกัดการแสดงออกของนักเรียนให้เป็นไปในรูปเดียวกันตลอด
3. อย่าพยายามหล่อหลอมหรือกำหนดแบบให้เด็กนักเรียนมีความคิดและมีบุคลิกภาพเหมือนกันไปหมดทุกคน แต่ควรสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตที่แปลกๆ ใหม่ๆ ตลอดจนความคิดและวิธีการที่แปลกๆ ใหม่ๆ ด้วย
4. อย่าเข้มงวดกวดขันหรือยึดมั่นอยู่กับจารีตประเพณี ซึ่งยอมรับการกระทำหรือผลงานอยู่เพียง 1 2 หรือ 3 อย่างเท่านั้น สิ่งใดสิ่งอื่นนอกเหนือจากแบบแผนเป็นสิ่งผิดไปเสียหมด
5. อย่าสนับสนุนหรือให้รางวัลแต่เฉพาะผลงานหรือการกระทำ ซึ่งมีผู้ทดลองทำเป็นที่นิยมทำกันแล้ว ผลงานแปลกๆ ใหม่ๆ ก็จะได้มีโอกาสได้รับรางวัลหรือคำชมเชยด้วย
ฮอลล์แมน (Hallman. 1971 : 220 – 224) ให้ข้อเสนอแนะสำหรับครู สรุปได้ดังนี้
1. ให้นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้ด้วยความริเริ่มของตนเอง จะเป็นการกระตุ้นให้นักเรียน อยากค้นพบและอยากทดลอง
2. จัดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเสรีให้นักเรียนมีอิสระในการคิดและการแสดงออกตามความสนใจและความสามารถของเขา ครูไม่ต้องทำตัวเป็นเผด็จการทางความคิด
3. สนับสนุนให้นักเรียนเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นด้วยตนเอง
4. ยั่วยุให้นักเรียนคิดหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในรูปแบบที่แปลกใหม่จากเดิม ส่งเสริมความคิดจินตนาการ ส่งเสริมให้คิดวิธีแก้ปัญหาแปลกๆ ใหม่ๆ
5. ไม่เข้มงวดกับผลงานหรือคำตอบที่ได้จากการค้นพบของนักเรียน ครูต้องยอมรับว่า ความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้
6. ยั่วยุให้นักเรียนคิดหาวิธีการหาคำตอบหรือแก้ปัญหาหลายๆ วิธี
7. สนับสนุนให้นักเรียนรู้จักประเมินผลสัมฤทธิ์และความก้าวหน้าของตนด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบและรู้จักประเมินตนเอง พยายามหลีกเลี่ยงการใช้เกณฑ์มาตรฐาน
8. ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้ไวต่อการรับรู้ในสิ่งเร้า
9. ส่งเสริมให้นักเรียนตอบคำถามประเภทปลายเปิดที่มีความหมายและไม่มีคำตอบที่เป็น ความจริงแน่นอนตายตัว
10. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เตรียมความคิดและเครื่องมือในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
จะเห็นว่า การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ คือการเปิดโอกาสให้นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้ด้วย ความริเริ่มของตนเอง และทดลองค้นคว้า โดยใช้การสังเกตและประสบการณ์ของเด็กเองอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง และจัดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเสรีให้นักเรียนมีอิสระในการคิดและการแสดงออกตามความสนใจและความสามารถของเขาเอง
1.10 อุปสรรคของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
ซิมเบอร์ก (Simberg. 1971 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 169 - 173) ได้กล่าวถึง อุปสรรคของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
ในการพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์นั้นควรคำนึงถึงอุปสรรคที่สำคัญ 3 ประการ คือ อุปสรรคด้านการรับรู้ (Perceptual Block) อุปสรรคด้านวัฒนธรรม (Cultural Block) และอุปสรรคด้านอารมณ์ (Emotional Block) มีดังนี้
1. อุปสรรคด้านการรับรู้ (Perceptual Block) ได้แก่ การที่คนเราไม่สามารถมองเห็นปัญหาที่แท้จริงได้ เป็นเหตุให้การแก้ปัญหานั้นดำเนินไปโดยปราศจากเป้าหมายที่ชัดเจนและแน่นอน ตัวอย่างของอุปสรรคประเภทนี้ ได้แก่
1.1 ความยากในการจำแนกปัญหาที่แท้จริงจากปัญหาทั่วไป เปรียบเสมือนนายแพทย์ที่พยายามรักษาคนไข้โดยไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แท้จริงหรือเปรียบเสมือนนายช่างแก้ไขเครื่องยนต์ติดขัดโดยไม่ทราบจุดบกพร่องของเครื่องยนต์
1.2 การมองปัญหาแคบเกินไป ขาดการพิจารณาสภาพแวดล้อมของปัญหานั้น ซึ่งอาจเป็นด้วยข้อจำกัดในการรับรู้ก็ได้ เช่น มีเลข 9 อยู่ 4 ตัว จะทำอย่างไรจึงจะให้มีค่าเท่ากับ 100ได้ (คำตอบ 99+9/9)
1.3 ความไม่สามารถที่จะให้คำจำกัดความของนิยามหรือปัญหาเป็นเหตุให้สื่อความเข้าใจให้ไม่ตรงกันได้
1.4 ความไม่สามารถที่จะใช้ประสาทสัมผัสทั้งหลายในการสังเกต ซึ่งมักเข้าใจว่า การสังเกตนั้นเป็นการใช้เพียงตามองเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วสามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมด คือ ตา หู จมูกและกายสัมผัส ช่วยในการสังเกตด้วย
1.5 ความยากที่มองเห็นปัญหาความสัมพันธ์ของวัตถุ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกันน้อย (Remote Relationship) ทำให้ไม่สามารถหาทางแก้ปัญหาได้
1.6 การมองข้ามสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวหรือสิ่งที่เด่นชัด ซึ่งบางครั้งความเคยชินกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่คุ้นเคยอาจทำให้มองข้ามประเด็นที่น่าสนใจไปได้
1.7 ความล้มเหลวในการจำแนกเหตุและผล มีหลายสถานการณ์ที่ยากแก่การแยกแยะได้อย่างชัดเจนว่า อะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผลแก่กัน เช่น จากการสังเกตพบว่า นักศึกษาที่เรียนอ่อนมักจะสูบบุหรี่มากกว่านักเรียนที่เรียนเก่ง จึงเป็นปัญหาว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุต่อการเรียนอ่อนหรือไม่หรือการเรียนอ่อนเป็นสาเหตุให้เกิดความเครียดทำให้สูบบุหรี่มากขึ้น หรือทั้งการเรียนอ่อนและการสูบบุหรี่เป็นผลร่วมจากสาเหตุอื่น จึงไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย เป็นต้น ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์จะไม่ด่วนสรุปสาเหตุและผลจนกว่าจะรู้แน่ชัดเสียก่อน
2. อุปสรรคด้านวัฒนธรรม (Cultural Block) เป็นผลเนื่องจากกฎเกณฑ์ทางสังคมซึ่งเป็น สิ่งกำหนดให้บุคคลต้องมีพฤติกรรมอยู่ในกรอบระเบียบแบบแผน ทำให้มีผลต่อการสกัดกั้นความท้าทายต่อการคิดค้น และความเปลี่ยนแปลงอันเป็นคุณลักษณะด้านความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล ตัวอย่างของ อุปสรรคนี้ ได้แก่ 2.1 ความต้องการทำตามแบบอย่างในกรอบที่ไม่แตกต่างจากผู้อื่น ทำให้เกิดรูปแบบพฤติกรรมและการมองปัญหาที่คล้ายคลึงกัน การหาวิธีแก้ปัญหา ก็ยึดติดกับระเบียบแบบแผนมากเกินไป ทำให้บางครั้งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น ให้ลากเส้นตรง 4 เส้น ให้ผ่านจุดที่กำหนดให้ 9 จุด โดยไม่ยกปากกาหรือดินสอ และไม่ขีดซ้ำเส้นตรงที่ขีดแล้ว
ผู้ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้มักจะยึดติดในกรอบความคิดที่ว่าจะต้องลากเส้นตรงภายในกรอบของจุดทั้ง 9 นี้เท่านั้น ทั้งๆ ที่ปัญหาไม่ได้กำหนดไว้เลย
2.2 การเน้นความประหยัดและให้สามารถปฏิบัติได้มากเกินไป ซึ่งมีผลทำให้เกิดการตัดสินใจที่รวดเร็วเกินไป ทำให้บุคคลไม่พยายามที่จะใช้ความคิดของตนในสิ่งที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำกับของเดิม เพราะการกระทำเช่นนี้ต้องลงทุนทั้งเวลาและเงินมากขึ้น ซ้ำไม่แน่ใจในความสำเร็จด้วย
2.3 ความกลัวที่จะเป็นคนไม่สุภาพเรียบร้อย กลัวผู้อื่นเห็นว่าตนเป็นบุคคลที่น่ารำคาญ จึงทำให้ขาดความอยากรู้อยากเห็น ไม่กล้าที่จะซักถามหรืออภิปรายในสิ่งที่ตนยังไม่เข้าใจ ทำให้กลายเป็นคนที่ขาดจิตสำนึกแห่งการสืบค้น
2.4 การมุ่งการแข่งขันหรือความคิดร่วมมือกันมากเกินไป บุคคลทั่วไปมักคิดว่าการร่วมมือกันนั้นแต่ละคนต้องลดความคิดของตนเองลง เพื่อให้สอดคล้องกับความคิดของกลุ่มหรือลดความขัดแย้งลง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ขัดแย้งความจริง ความร่วมมือหมายถึง การทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้โดยต้องสามารถอธิบายหรือชี้แจงความคิดของตนให้ผู้อื่นเข้าใจหรือยอมรับได้ ส่วนการมุ่งแข่งขันกันจนเกินไปนั้นก็มีผลทำให้บุคคลมองข้ามเป้าหมายที่แท้จริงของงานนั้นไป โดยจะมุ่งเอาชนะแต่เพียงอย่างเดียว ทำให้ละเลยความคิดริเริ่มของตนเอง
2.5 การยึดมั่นในสถิติมากเกินไป การยึดมั่นหรือเชื่อในตัวเลขโดยไม่พิจารณาตัวแปรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เข้าใจสภาพความเป็นจริงที่ผิดไปได้ ตัวอย่างเช่น จากรายงานอุณหภูมิใน 1 ปี ของเมืองหนึ่ง เท่ากับ 65 องศาฟาเรนไฮ ถ้าพิสูจน์ตามตัวเลขนี้จะเข้าใจว่าเมืองนี้อุณหภูมิน่าอยู่เมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปกลับพบว่าเมืองนี้มีอุณหภูมิตั้งแต่ -22 องศาฟาเรนไฮ ถึง 114 องศาฟาเรนไฮ ความจริงเช่นนี้จะเห็นว่าเมืองไม่น่าอยู่เลย ซึ่งแตกต่างจาก การพิจารณาค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในตอนแรก
2.6 ความยากในการสรุปอ้างอิง พฤติกรรมของบุคคลเป็นสิ่งที่ยากต่อการสรุปอ้างอิง เพราะแต่ละคนก็มีพฤติกรรมเป็นเอกลักษณ์ของตนเองซึ่งแตกต่างกัน จึงเป็นการยากในการพิจารณามอบหมาย งานที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้
2.7 การยึดมั่นเหตุผลและความจริงมากเกินไปหรือการหลงเชื่อความจริงในอดีตมากเกินไป ก็มีผลทำให้บุคคลขาดความคิดสร้างสรรค์ได้ อย่างเช่น ถ้าหากเราเชื่อว่าพาหนะที่เบากว่าอากาศเท่านั้นที่สามารถจะบินได้ จนบัดนี้ยังไม่มีเครื่องบินใช้เป็นแน่
2.8 การขาดความประนีประนอมในความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันเข้าด้วยกัน ส่วนมากแล้วบุคคลจะมีแนวโน้มที่จะต่อต้าน หรือไม่ยอมรับความคิดที่ไม่ตรงกับตนโดยสิ้นเชิง และจะยอมรับความคิดที่ตรงกับตนในทันที ลักษณะเช่นนี้มีผลทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ ขึ้นมา
2.9 การมีความรู้สึกเกี่ยวกับขอบข่ายงานที่ปฏิบัติมากหรือน้อยเกินไป บุคคลที่มีความรู้น้อยหรือแคบเกินไปก็ไม่สามารถนำมาอภิปรายและสร้างสรรค์ให้เกิดความคิดใหม่ๆ ขึ้นมา เช่นเดียวกับ บุคคลที่มีความรู้มากหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ก็มักจะมีความรู้สึกว่าความคิดของตนนั้นถูก
2.10 การมีความเชื่อว่าความคิดฝันเป็นสิ่งที่ไร้ค่า บุคคลจึงไม่ยอมรับฟังความคิดฝันในสิ่งที่แปลกๆ ใหม่ๆ โดยเห็นว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน ไร้สาระ ซึ่งความจริงแล้วประดิษฐ์กรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นส่วนใหญ่ก็มักได้คิดจากความคิดฝันมาก่อนนั่นเอง
3. อุปสรรคด้านอารมณ์ (Emotional Block) จัดเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่ง ทั้งนี้เพราะอารมณ์ของบุคคล อันได้แก่ ความกลัว ความโกรธ ความรักและความเกลียด เป็นต้น นับว่ามีความสำคัญมากต่อปัญหาและเหตุผลสองสิ่งนี้เปรียบเสมือนหน้าหัวและก้อยของเหรียญ คือ ถ้าหงายเหรียญหน้าใดขึ้นอีกหน้าก็ต้องคว่ำลง นั่นคืออารมณ์จะเป็นตัวสกัดกั้นความคิดและเหตุผล ตลอดจนความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล ตัวอย่างของอุปสรรคประเภทนี้ ได้แก่
3.1 ความกลัวที่จะทำผิดหรือทำในสิ่งที่ผู้อื่นมองว่าโง่ ด้วยความกลัวเช่นนี้จึงทำให้สูญเสียความคิดดีๆ ไป เพราะเจ้าของความคิดไม่กล้าที่จะเสนอความคิดนั้นออกมา ด้วยเกรงว่าจะถูกผู้อื่นมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ
3.2 การด่วนที่จะตัดสินใจรับความคิดอันแรกที่เกิดขึ้น โดยไม่เปิดโอกาสคิดหาแนวทางอื่นที่แตกต่างออกไป ความจริงความคิดอันแรกนั้น อาจจะไม่ใช่ความคิดที่ดีที่สุดเสมอไป อาจจะมีความคิดอื่นที่ดีกว่าก็ได้ ถ้ายอมรับเสียตั้งแต่ความคิดอันแรกแล้วก็จะเป็นการสกัดกั้นความคิดอื่นๆ ไป
3.3 การยึดติดกับความคิดของตน บุคคลมักจะยึดติดกับความคิดความเชื่อของตนและยากที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดหรือข้อเสนอแนะของบุคคลอื่น และมักต่อต้านความคิดที่ไม่ตรงกับความคิดของตน
3.4 ความอดทนอดกลั้นต่อการแสวงหาวิธีแก้ปัญหาที่ยาก บุคคลทั่วไปมักจะมีความมุ่งหวังในผลสำเร็จในงานของตนไว้สูง เมื่องานนั้นประสบปัญหาก็จะเกิดความคับข้องใจและมุ่งแก้ปัญหานั้นแบบหัวชนฝา ไม่พยายามที่จะรวบรวมสถิติและความคิดในการหาหนทางอื่นๆ
3.5 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยสูงเกินไป ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ แต่ถ้าความต้องการสูงเกินไปก็ทำให้เป็นโรคประสาทได้และเมื่อทุกคน ต่างก็มุ่งไปที่ความมั่นคงปลอดภัยของตัวเองแล้ว จะมีผลให้ละเลยต่อโอกาสที่จะรับรู้หรือพิจารณาในสิ่งที่ใหม่อย่างน่าเสียดาย
3.6 ความกลัวต่อการนิเทศ แนะนำและไม่ไว้วางใจเพื่อนร่วมงานความรู้สึกเช่นนี้ทำให้บุคคลขาดความเชื่อมั่นและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน อันเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการสกัดกั้นความสามารถในการแก้ปัญหาและทำกิจกรรมสร้างสรรค์
3.7 การขาดความพยายามที่จะแก้ปัญหาโดยตลอดจนสำเร็จ บุคคลส่วนมากชอบที่จะดำเนินโครงการใหม่ๆ และให้ความสนใจกับโครงการนั้นในระยะสั้นๆ ในระยะยาวบุคคลมักจะขาดการเอาใจใส่ติดตามแก้ปัญหาและหาวิธีการใหม่ๆ มาดำเนินให้โครงการนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
3.8 การขาดแรงจูงใจในการแก้ปัญหา สาเหตุเนื่องจากขาดผู้เห็นด้วยหรือขาดผู้สนใจในแนวทางแก้ปัญหาที่ตนได้เสมอ อาจเป็นเพราะเขาไม่แน่ใจแนวทางแก้ปัญหานั้นหรือมีความรู้ความเข้าใจไม่ดีพอ จึงมีผลทำให้ผู้เสนอแนวทางที่แก้นั้นขาดแรงจูงใจที่จะคิดต่อ
จะเห็นว่าอุปสรรคของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากตัวของบุคคลเองและจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งแบ่งออกเป็น อุปสรรคด้านการรับรู้ (Perceptual Block) อุปสรรคด้านวัฒนธรรม (Cultural Block) และอุปสรรคด้านอารมณ์ (Emotional Block)
1.11 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
งานวิจัยในประเทศ
กนิษฐา ชูขันธ์ (2541 : 52 - 54) ได้ศึกษาวิจัยผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวทางการสอนภาษาธรรมชาติ โดยใช้แกนนำในหน่วยการสอนที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีอายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกำลังเรียนอยู่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2540 โรงเรียนอนุบาลหนูน้อย สังกัดสำนักงานศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร จำนวน 27 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการสอนภาษาธรรมชาติ โดยใช้แกนนำในหน่วยการสอนภาษาธรรมชาติสูงขึ้นกว่า การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนการทดลองเท่ากับ 25.25 หลังการทดลองค่าคะแนนเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 37.14
จงใจ ขจรศิลป์ (2532 : 80) ได้ศึกษาเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์และการเล่นตามมุมแบบริเร่มอย่างอิสระ กับแบบครูชี้แนะ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ผลการศึกษาพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์และการเล่นตามมุมแบบริเริ่มอย่างอิสระกับเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์และการเล่นตามมุมแบบครูชี้แนะมีความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นแตกต่างกัน
นิรัตน์ กรองสะอาด (2535 : 62 - 67) ได้ศึกษาวิจัยการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะที่เน้นเทคนิคในการสื่อความหมายที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโดยศึกษานักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2535 ของโรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะที่เน้นเทคนิคในการสื่อความหมาย มีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง 17.53 และหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ย 37.93
วรรณา กรัสพรหม (2546 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 2 อายุระหว่าง 4 – 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนเซนต์หลุยส์ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 15 คน พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการมีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สดใส ชนะกุล (2538 : 118 - 119) ได้ศึกษาการจัดกิจกรรมการวาดภาพนอกชั้นเรียนที่มี ผลต่อความคิดสร้างสรรค์และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตอนุบาลลอออุทิศ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการวาดภาพนอกชั้นเรียน มีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการวาดภาพในชั้นเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวาดภาพนอก ชั้นเรียนมีการรับรู้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวาดภาพในชั้นเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
วารุณี นวลจันทร์ (2539 : 78 - 87) ได้ศึกษาวิจัยการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงานที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2539 โรงเรียนชุมชนบ้านโนนสว่าง อำเภอกุดข้าว จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 60 คน ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงานมีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง 17.20 และหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ย 26.20 ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง 17.13 หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ย 20.46
งานวิจัยในต่างประเทศ
ไคลแอต ชอร์ และเชอร์วูด (Cliatt, Shaw & Sherwood. 1980 : 1061 – 1064) ได้ศึกษาผลการใช้คำถามอเนกนัยกับความคิดสร้างสรรค์ของเด็กวัยอนุบาล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นเด็กอายุ 5 – 6 ปี จำนวน 37 คน เป็นชาย 18 คน เป็นหญิง 19 คน กลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนจากครูที่สอนปกติทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองได้รับการทดสอบก่อนและทดสอบภายหลังในด้านความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ที่เป็นคำพูดและเป็นรูปภาพ ผลการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองที่ครูได้รับการฝึกอบรมให้ถามคำถามให้เด็กสามารถเกิดการคิดอเนกนัยมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญจากการวัดโดยใช้แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นคำพูดส่วนการวัดความคิดสร้างสรรค์โดยแบบที่เป็นรูปภาพพบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเด็กอนุบาลที่ได้รับการฝึกให้คิดอเนกนัยจะสามารถเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้
วิลเลมส์ (Williams. 1971 : 325 - 358) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดริเริ่มกับคะแนนวิชา หมวดวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศิลปะ ภาษา ดนตรี ผลปรากฏว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดริเริ่มกับคะแนนรวมหมวดศิลปะ ภาษา วิชาดนตรี มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง
เยลเลนและเออร์บัน (Jellen & Urban. 1986 : 147) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการกับศักยภาพความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยใช้แบบทดสอบ TCT – DP (Test for Creative Thinking – Drawing Production) ผลปรากฏว่า ผู้สัมฤทธิ์ผลทางวิชาการต่ำหรือสูง ไม่จำเป็นต้องมีศักยภาพทางความคิดริเริ่มสร้างสรรค์หรือสูงตามวัย
อัลบาโน (Albano. 1987 : Abstract) ได้ทำการทดลองฝึกความคิดสร้างสรรค์ภายใต้สมมติฐานความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วยทักษะทางสมอง 4 ประการ คือ ทักษะด้านจินตนาการ (Imagery) ทักษะด้านอุปมา (Analogy) ทักษะทางด้านโยงความสัมพันธ์ (Association) และลักษณะการเปลี่ยนรูป (Transformation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นทหารสังกัดหน่วยสื่อสารอิเล็คทรอนิคส์ในรัฐนิวเจอร์ซี่อเมริกา จำนวน 66 คน ใช้เวลาในการฝึก 20 ชั่วโมง ระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 1985 โดยใช้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ฉบับรูปภาพ และภาษาเป็นเครื่องมือวัดตัวแปรตาม ผลการทดลองพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้น
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทำได้หลายรูปแบบ การจัดกิจกรรมให้เด็กได้คิด ได้ลงมือปฏิบัติอย่างอิสระช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งแวดล้อมต่างๆ มีอิทธิพลต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปั้น
2.1 ความหมายของการปั้น
การปั้นเป็นกิจกรรมอันน่าชื่นชมของนักประติมากรรมและมีผู้สนใจทั่วไป จึงได้มีคำจำกัดความของการปั้น (Modeling) จากทัศนะของบุคคลหลายวงการตามอาชีพดังนี้
วิรัตน์ พิชญไพบูลย์ (2531 : 8) กล่าวว่า การปั้นเป็นกิจกรรมที่เด็กได้สร้างสรรค์งานศิลปะที่มีรูปทรงสามมิติ เช่นการปั้นดินเป็นรูปวงกลม รูปผลไม้ และรูปสัตว์ต่างๆ เป็นต้น กิจกรรมการปั้นจะเน้นรูปร่างและมวลความเป็นกลุ่มก้อนซึ่งช่วยให้เด็กได้สำนึกว่าศิลปะไม่ใช่การเขียน ภาพหรือใช้เส้นถ่ายทอดความคิดเท่านั้น แต่ยังมีการแสดงออกด้วยสื่อต่างๆ ได้อีกมาก
ชวลิต ดาบแก้ว (2533 : 1) กล่าวว่า การปั้น คือการเอาวัสดุที่มีความเหนียวจับตัวเป็นก้อนดินเหนียว ดินน้ำมัน ขี้ผึ้ง ปูน เป็นต้น มาปั้นหรือพอกให้เป็นรูปทรงต่างๆ การปั้นเป็นกระบวนการเพิ่มวัสดุให้มีรูปร่างตามความต้องการ ปั้นด้วยมืออย่างเดียวหรือจะใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยด้วยก็ได้ เครื่องมือการปั้นแตกต่างกันไปตามชนิดงาน เช่น การปั้นด้วยดิน ถ้าต้องการให้คงทนถาวรก็ต้องทำแม่พิมพ์แล้วหล่อด้วยปูนปลาสเตอร์ พลาสติก หรือนำไปเผาให้เป็นเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
วิทยา เริงโกสุม (2535 : 106) กล่าวว่า กิจกรรมการปั้นถ่ายทอดความนึกคิดของเด็กมายังสื่อที่ครูกำหนดให้ อาจเป็นทั้งดินเหนียว ดินน้ำมัน หรือสิ่งอื่นๆ ที่ผู้สอนจัดให้แก่เด็ก
วิเชียร อินทรกระทึก (2539 : 7) กล่าวว่า การปั้น คือ กรรมวิธีประติมากรรมที่สร้างรูปทรง (form) โดยการพอกด้วยวัสดุที่อ่อนตัว และเปลี่ยนรูปทรงได้ง่าย เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมันหรือขี้ผึ้ง เป็นต้น ซึ่งเมื่อปั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ต้องนำไปหล่อปูนปลาสเตอร์ โลหะ หรือวัสดุคงทนอื่นๆ เพื่อให้คงทนมากขึ้น
เขียน ยิ้มสิริ (2547 : 1) กล่าว่า การปั้นเป็นการสร้างรูปทรงสามมิติ จากวัสดุที่เหนียวอ่อนตัว และยึดจับตัวกันได้ดี วัสดุที่นิยมใช้ ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้งโด ขี้ผึ้ง กระดาษ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น
ศุภกุล เกียรติสุนทร (2549 : 78 ) กล่าวว่า การปั้น คือกระบวนการสร้างสรรค์ประติมากรรมซึ่งถ่ายทอดความนึกคิดของเด็กมายังสื่อต่างๆ เช่น แป้งโด ดินเหนียว ดินน้ำมัน ขี้ผึ้ง กระดาษ ขี้เลื่อย เป็นต้น การปั้นจะปั้นด้วยมืออย่างเดียวหรือใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยก็ได้
สรุปได้ว่า การปั้นหมายถึง กรรมวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรมรูปแบบหนึ่ง โดยการนำเอาวัสดุที่มีเนื้ออ่อน และมีความเหนียวจับตัวกันเป็นก้อน สามารถเปลี่ยนแปลงรูปทรงได้ง่าย มาเพิ่ม หรือพอกด้วยวัสดุที่อ่อนตัวให้เกิดรูปทรงต่างๆ ตามความต้องการของเด็ก ซึ่งวัสดุที่นำมาใช้กับงานปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน แป้งโด ขี้เลื่อย เป็นต้น จะปั้นด้วยมืออย่างเดียวหรือใช้เครื่องมือ เข้ามาช่วย ก็ได้
2.2 คุณค่าของการปั้น
การเล่นปั้นเป็นกิจกรรมที่ท้าทายน่าตื่นเต้นและมีคุณค่ามหาศาลสำหรับเด็ก ๆ ดังนี้
1. ส่งเสริมพัฒนาการและความคิดสร้างสรรค์
รูปทรงสมมติที่เกิดจากการปั้นเป็นผลงานจากกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ก่อนที่จะลงมือย่อมมีเป้าหมายของความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งในใจเหมือนกับการตั้งสมมติฐานอย่างกว้างๆ แล้วทดลองประดิษฐ์ตามจินตนาการลองผิดลองถูกและแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา ณัฐวรรณ ขนชัยภูมิ (2546 : 83) ได้ศึกษาผลของการใช้กิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้าในการวาดภาพกับการปั้นที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับการฝึกโดยใช้กิจกรรมประสาทสัมผัสทั้งห้าในการวาดภาพและกลุ่มที่ 2 ได้รับการฝึกโดยใช้กิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้าในการปั้นพบว่าเด็กทั้ง 2 กลุ่มหลังจากได้รับการฝึกโดยใช้กิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้าในการปั้น มีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 และเด็กที่ได้รับการฝึกโดยใช้กิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้าในการวาดภาพ กับเด็กที่ได้รับการฝึกโดยใช้กิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้าในการปั้น มีความคิดสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2 ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา
วิจิตรา วิเศษสมบัติ (2539 : 136) ได้ศึกษาความพร้อมทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ความคิดรวบยอดประกอบการสนทนาในกิจกรรมการปั้นพบว่า เด็กปฐมวัยได้รับการจัดประสบการณ์ความคิดรวบยอดประกอบการสอนในกิจกรรมการปั้น มีความพร้อมทางภาษาสูงกว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การปั้นแบบปกติ
3 ส่งเสริมพัฒนาการการคิด
ปัทมา แจ่มจรัส (2548 : 79) ศึกษาความสามารถด้านความคิดของเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมปั้นแป้งโดชนิดแข็งกับเด็กอายุ 4 - 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 1 จำนวน 15 คน พบว่าความสามารถด้านการคิดของเด็กที่ทำกิจกรรมปั้นแป้งโดชนิดแข็งสูงกว่าก่อนทำกิจกรรมปั้นแป้งโดชนิดแข็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
เด็กได้สัมผัส คือ ทุบ ตี นวด ตัด สื่อที่ใช้ในการปั้นจึงมีความยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ทำให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับรูปร่าง สัดส่วน ความมั่นคงแข็งแรง สี กลิ่น ความนิ่ม ความแข็ง ความเหนียว การคงรูป การเปลี่ยนรูป การเปลี่ยนสภาพของมวลสาร (Mayesky . 1998 : 186) ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้การอนุรักษ์สสารนำไปสู่พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (Peterson. 1996 : 172)
5. ส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อเล็กและใหญ่
การเล่นปั้นของเด็กต่างใช้ทั้ง ฝ่ามือ ข้อมือ และนิ้วมือ ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อเหล่านี้แข็งแรงทำงานได้คล่องตัวขึ้น และยังพัฒนาการการทำงานประสานสัมพันธ์กันระหว่างการใช้กล้ามเนื้อนิ้วมือและประสาทตา (เลิศ อานันทะ. 2535 : 45) ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่การเขียนหนังสือวิธีหนึ่ง (สัตยา สายเชื้อ. 2541 : 109) จากการศึกษาของวรรณี อยู่คง (2547 : 91) เกี่ยวกับความสามารถของกล้ามเนื้อมือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมการปั้นกับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 อายุ 3 - 4 ปี จำนวน 15 คน พบว่า ความสามารถของกล้ามเนื้อมือของเด็กหลังทำกิจกรรมการปั้นสูงขึ้นกว่าก่อนทำกิจกรรมการปั้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เซอร์มาเชอร์ (Schirrmacher. 1988 : 260) ตั้งข้อสังเกตว่า การเล่นปั้นส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กไปพร้อมๆกัน ขณะที่เด็กเล่นปั้น เด็กต้องใช้แรงมากตั้งแต่ บ่า แขน มือ นิ้วมือ และรู้จักควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานประสานกันไม่ว่าจะนั่งหรือยืนทำกิจกรรมให้กล้ามเนื้อทุกส่วนมีปฏิกิริยาตอบสนองงานปั้นจึงจะบรรลุเป้าหมาย
6. ส่งเสริมทักษะทางสังคม
การปั้นเป็นกิจกรรมที่เสริมทักษะทางสังคมกล่าวคือ ในขณะที่เด็กปั้น เด็กจะมีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อนทำให้เกิดการเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่นแสดงความคิดและแลกเปลี่ยนความคิด (Mayesky. 1998 : 16) นอกจากนี้การที่เด็กได้เล่นปั้นบ่อย ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะการทำงานมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีประสบการณ์แห่งความสำเร็จมีความภาคภูมิใจนี้ได้ทำงานในสิ่งที่เด็กชอบด้วยความมานะอดทนและประสบความสำเร็จ ส่งผลให้เด็กเชื่อมั่นในตนเองรู้จักคุณค่าแห่งตนตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ (Seefeldt . 1986 : 281)
7. ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์
วัสดุที่ใช้ปั้นเป็นวัสดุอ่อน นิ่ม ยืดหยุ่น เปลี่ยนรูปร่างได้ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมันแป้งโด เป็นต้น ทำให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์จากการที่ได้จัดกระทำกับวัสดุอย่างอิสระพร้อมทั้งสร้างสรรค์ตามจินตนาการด้วยการทุบ ขยำ ตบ ตี นวด คลึง (วราภรณ์ รักวิจัย. 2529 : 50) หากเด็กมีอารมณ์ ขุ่นเคืองหรือมีความกลัวในใจเด็กก็สามารถปลดปล่อยออกมาขณะที่ทุบวัสดุที่ใช้ปั้น (Seefeldt. 1986 : 281) ยิ่งวัสดุที่ใช้ปั้นมีกลิ่น สี จากธรรมชาติ เช่น เติมกลิ่นหอมจากใบไม้และดอกไม้ หรือผสม ผงชอคโกแลต ผงโอวัลติน ลงในส่วนผสมของแป้งโด เพิ่มสีสันหลากหลายจะช่วยให้เด็กผ่อนคลายอารมณ์ ลดความคับข้องใจ
การเล่นปั้นเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาการทางภาษา พัฒนาการการคิด พัฒนาการทักษะทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก พัฒนาการทักษะทางสังคม และส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์
2.3 รูปแบบของการปั้น
นักการศึกษาและนักประติมากรรมได้แบ่งรูปแบบของการปั้นไว้แตกต่างกันตามทัศนะที่มาจากประสบการณ์ของตนดังนี้
ประเสริฐ ศีลรัตนา (2529 : 49 - 51) ได้แบ่งการปั้นออกเป็นรูปทรงต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การปั้นรูปอิสระ เป็นรูปที่ผู้ปั้นสามารถกำหมดนึกแล้วถ่ายทอดโดยไม่ต้องคำนึงว่ารูปที่ปรากฏนั่นจะเหมือนหรือไม่เหมือนกับรูปทรงที่มีอยู่ในธรรมชาติ รูปอิสระเป็นรูปที่ดูแล้วให้ความรู้สึกต่อรูปแบบนั่นมากกว่าบอกเล่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ปรากฏตามธรรมชาติ ก่อนที่จะปั้นรูปอิสระจะต้องให้เด็กกำหนดเสียก่อนว่าจะปั้นเป็นรูปแทนค่าความรู้สึกอะไร เมื่อปั้นเสร็จแล้วตั้งชื่อผลงานให้เข้ากับลักษณะงานมากที่สุด การปั้นรูปอิสระไม่ควรกำหนดหัวข้อหรือชื่อภาพควรให้เด็ก แต่ละคนกำหนดนึกด้วยตนเอง
2. การปั้นรูปทรงเรขาคณิต เป็นการปั้นที่ต้องสร้างรูปทรงเป็นเหลี่ยม สัน หรือส่วนโค้งและมุม ซึ่งต้องใช้ความประณีตพิถีพิถันกว่าการปั้นรูปอิสระ รูปทรงที่ใช้ประกอบการปั้นได้แก่ รูปทรงกลม รูปทรงกระบอก รูปทรงสี่เหลี่ยม รูปทรงสามเหลี่ยม
3. การปั้นรูปแบบธรรมชาติ เป็นการปั้นลักษณะรูปธรรมซึ่งมีรูปแบบให้คอยเปรียบเทียบบังคับทั้งขนาด สัดส่วน ลักษณะและอื่นๆ เป็นการปั้นรูปแบบธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์ ผลไม้ เป็นต้น มีความสัมพันธ์กับทักษะ ประสบการณ์พื้นฐานความรู้ ตลอดจนขีดจำกัดของวัยกับการควบคุมการใช้มือ ดังนั้นการปั้นรูปแบบธรรมชาติจึงมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การให้เด็กได้เป็นรูปทรงที่กำหนดไว้แล้ว
ชัยรงค์ เจริญพานิชย์กุล (2532, 46 – 48) ได้เสนอรูปแบบการปั้นตามมิติของการปั้นไว้ดังต่อไปนี้
1. การปั้นแบบนูนต่ำ คือ การปั้นให้ปรากฏรูปลอย จากพื้นหลังเพียงเล็กน้อยโดยการใช้ไม้ทับดินให้แบนๆ เพื่อใช้เป็นพื้นรองแล้วจึงปั้นเป็นรูปต่างๆ บางๆ แล้วนำมาปะลงบนแผ่นรองโดยใช้นิ้วหรือฝ่ามือกดให้แนบติดกันอาจใช้นิ้วเกลี่ยให้กลืนเป็นเนื้อเดียวกันกับแผ่นรองก็ได้
2. การปั้นแบบนูนสูง คือ จะมีลักษณะเช่นเดียวกับนูนต่ำ โดยเตรียมแผ่นแบนๆรองเป็นฐาน แล้วปั้นดินให้เป็นรูปอะไรก็ได้ตามความถนัดปะลงไปบนแผ่นรอง ซึ่งวิธีปั้นแบบนี้รูปที่ปะทับลงไปค่อนข้างจะสูงขึ้นมามากโดยด้านหลังของรูปปั้นจะติดอยู่กับแผ่นรอง
3. การปั้นแบบลอยตัว คือ การปั้นรูปในลักษณะที่ตั้งลอยอยู่และสามารถมองเห็นได้รอบด้าน
มาเยสกี้ (Mayesk. 1998 : 156 - 157) ได้แบ่งรูปแบบการปั้นโดยพิจารณาจากวิธีการปั้นของเด็กไว้ 2 วิธี ดังต่อไปนี้
1. การปั้นแบบวิเคราะห์ (analysis) คือการปั้นโดยพิจารณาดินทั้งก้อน ด้วยการดึงส่วนต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบย่อย เช่น แขน ขา ศีรษะให้ยื่นออกมาเป็นรูปร่างลักษณะของส่วนเหล่านั้น เด็กที่ปั้นวิธีนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กคิดที่เป็นไปอย่างธรรมชาติ กล่าวคือมองเห็นส่วนรวมก่อนแล้วจึงเห็นส่วนปลีกย่อยภายหลัง เช่น เมื่อนึกถึงต้นไม้ตามธรรมชาติ เราจะนึกถึงต้นไม้ทั้งต้นก่อน แล้วจึงคิดย่อยลงไปถึงลำต้น กิ่ง ก้านและใบ ซึ่งเป็นความคิดที่ได้จากการสังเกต
2. การปั้นแบบสังเคราะห์ (synthesis) คือการปั้นส่วนย่อยให้มีลักษณะตามต้องการเสียก่อน เช่น ศีรษะ แขน ขา ฯลฯ แล้วเอามาต่อกันเป็นส่วนรวมทั้งหมด คือ เด็กจะคิดก่อนว่า “คนมีหัว มีตัว มีแขนสองแขน มีขาสองขา” แล้วเด็กจะลงมือปั้นต่างๆ เหล่านั้นตามที่คิด หลังจากนั้นเด็กจะนึกถึงความสัมพันธ์ของส่วนเหล่านั้นว่าส่วนไหนคิดต่อกับส่วนไหนอย่างไร แล้วต่อเข้าด้วยกันเป็นส่วนรวม
ทอแรนซ์ (Torrance. 1979) ได้เสนอหลักในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไว้หลายประการ โดยเน้นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน ดังนี้ คือ
1. การส่งเสริมให้เด็กถามและให้ความสนใจต่อคำถามที่แปลกๆ ของเด็กและเขายังเน้นว่า พ่อแม่หรือครูไม่ควรมุ่งที่คำตอบที่ถูกแต่เพียงอย่างเดียว เพราะในการแก้ปัญหาแม้เด็กจะใช้วิธีเดาหรือเสี่ยงบ้างก็ควรยอม แต่ควรกระตุ้นให้เด็กได้วิเคราะห์ค้นหาเพื่อพิสูจน์การเดาโดยใช้การสังเกตและประสบการณ์ของเด็กเอง
2. ตั้งใจฟังและเอาใจใส่ต่อความคิดแปลกๆ ของเด็กด้วยใจเป็นกลางเมื่อเด็กแสดงความคิดเห็นในเรื่องใด แม้จะเป็นความคิดที่ยังไม่เคยได้ยินมาก่อน ผู้ใหญ่ก็อย่าเพิ่งตัดสินและลิดรอนความคิดนั้น แต่รับฟังไว้ก่อน
3. กระตือรือร้นต่อคำถามที่แปลกๆ ของเด็กด้วยการตอบคำถามอย่างมีชีวิตชีวา หรือชี้แนะให้เด็กหาคำตอบจากแหล่งต่างๆ ด้วยตนเอง
4. แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กนั้นมีคุณค่าและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น จากภาพที่เด็กวาด อาจนำไปเป็นลวดลายถ้วยชาม เป็นภาพปฏิทิน บัตร ส.ค.ส. เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความภูมิใจ และมีกำลังใจที่จะสร้างสรรค์ต่อไป
5. กระตุ้นและส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ควรให้โอกาสและเตรียมการให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง และยกย่องเด็กที่มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูอาจจะเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ ลดการอธิบายและบรรยายลงบ้าง แต่เพิ่มการให้นักเรียนมีส่วนริเริ่มกิจกรรมด้วยตนเองมากขึ้น
6. เปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้ ค้นคว้าอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ โดยไม่ต้องใช้วิธีขู่ด้วยคะแนน หรือการสอบ การตรวจสอบ เป็นต้น
7. พึงระลึกว่า การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กต้องใช้เวลาพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
8. ส่งเสริมให้เด็กใช้จินตนาการของตนเอง และยกย่องชมเชย เมื่อเด็กมีจินตนาการที่แปลกและมีคุณค่า
บลอนด์และคลอสไมเออ (Blaunt and Klausmier : 1965 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 167 - 168) เสนอวิธีส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้
1. สนับสนุนและกระตุ้นการแสดงความคิดหลายๆ ด้าน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์
2. เน้นสถานการณ์ที่ส่งเสริมความสามารถอันจะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ เช่น ความคิดริเริ่ม เป็นต้น ตลอดจนไม่จำกัดการแสดงออกของนักเรียนให้เป็นไปในรูปเดียวกันตลอด
3. อย่าพยายามหล่อหลอมหรือกำหนดแบบให้เด็กนักเรียนมีความคิดและมีบุคลิกภาพเหมือนกันไปหมดทุกคน แต่ควรสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตที่แปลกๆ ใหม่ๆ ตลอดจนความคิดและวิธีการที่แปลกๆ ใหม่ๆ ด้วย
4. อย่าเข้มงวดกวดขันหรือยึดมั่นอยู่กับจารีตประเพณี ซึ่งยอมรับการกระทำหรือผลงานอยู่เพียง 1 2 หรือ 3 อย่างเท่านั้น สิ่งใดสิ่งอื่นนอกเหนือจากแบบแผนเป็นสิ่งผิดไปเสียหมด
5. อย่าสนับสนุนหรือให้รางวัลแต่เฉพาะผลงานหรือการกระทำ ซึ่งมีผู้ทดลองทำเป็นที่นิยมทำกันแล้ว ผลงานแปลกๆ ใหม่ๆ ก็จะได้มีโอกาสได้รับรางวัลหรือคำชมเชยด้วย
ฮอลล์แมน (Hallman. 1971 : 220 – 224) ให้ข้อเสนอแนะสำหรับครู สรุปได้ดังนี้
1. ให้นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้ด้วยความริเริ่มของตนเอง จะเป็นการกระตุ้นให้นักเรียน อยากค้นพบและอยากทดลอง
2. จัดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเสรีให้นักเรียนมีอิสระในการคิดและการแสดงออกตามความสนใจและความสามารถของเขา ครูไม่ต้องทำตัวเป็นเผด็จการทางความคิด
3. สนับสนุนให้นักเรียนเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นด้วยตนเอง
4. ยั่วยุให้นักเรียนคิดหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในรูปแบบที่แปลกใหม่จากเดิม ส่งเสริมความคิดจินตนาการ ส่งเสริมให้คิดวิธีแก้ปัญหาแปลกๆ ใหม่ๆ
5. ไม่เข้มงวดกับผลงานหรือคำตอบที่ได้จากการค้นพบของนักเรียน ครูต้องยอมรับว่า ความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้
6. ยั่วยุให้นักเรียนคิดหาวิธีการหาคำตอบหรือแก้ปัญหาหลายๆ วิธี
7. สนับสนุนให้นักเรียนรู้จักประเมินผลสัมฤทธิ์และความก้าวหน้าของตนด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบและรู้จักประเมินตนเอง พยายามหลีกเลี่ยงการใช้เกณฑ์มาตรฐาน
8. ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้ไวต่อการรับรู้ในสิ่งเร้า
9. ส่งเสริมให้นักเรียนตอบคำถามประเภทปลายเปิดที่มีความหมายและไม่มีคำตอบที่เป็น ความจริงแน่นอนตายตัว
10. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เตรียมความคิดและเครื่องมือในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
จะเห็นว่า การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ คือการเปิดโอกาสให้นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้ด้วย ความริเริ่มของตนเอง และทดลองค้นคว้า โดยใช้การสังเกตและประสบการณ์ของเด็กเองอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง และจัดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเสรีให้นักเรียนมีอิสระในการคิดและการแสดงออกตามความสนใจและความสามารถของเขาเอง
1.10 อุปสรรคของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
ซิมเบอร์ก (Simberg. 1971 อ้างถึงใน อารี พันธ์มณี. 2546 : 169 - 173) ได้กล่าวถึง อุปสรรคของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
ในการพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์นั้นควรคำนึงถึงอุปสรรคที่สำคัญ 3 ประการ คือ อุปสรรคด้านการรับรู้ (Perceptual Block) อุปสรรคด้านวัฒนธรรม (Cultural Block) และอุปสรรคด้านอารมณ์ (Emotional Block) มีดังนี้
1. อุปสรรคด้านการรับรู้ (Perceptual Block) ได้แก่ การที่คนเราไม่สามารถมองเห็นปัญหาที่แท้จริงได้ เป็นเหตุให้การแก้ปัญหานั้นดำเนินไปโดยปราศจากเป้าหมายที่ชัดเจนและแน่นอน ตัวอย่างของอุปสรรคประเภทนี้ ได้แก่
1.1 ความยากในการจำแนกปัญหาที่แท้จริงจากปัญหาทั่วไป เปรียบเสมือนนายแพทย์ที่พยายามรักษาคนไข้โดยไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แท้จริงหรือเปรียบเสมือนนายช่างแก้ไขเครื่องยนต์ติดขัดโดยไม่ทราบจุดบกพร่องของเครื่องยนต์
1.2 การมองปัญหาแคบเกินไป ขาดการพิจารณาสภาพแวดล้อมของปัญหานั้น ซึ่งอาจเป็นด้วยข้อจำกัดในการรับรู้ก็ได้ เช่น มีเลข 9 อยู่ 4 ตัว จะทำอย่างไรจึงจะให้มีค่าเท่ากับ 100ได้ (คำตอบ 99+9/9)
1.3 ความไม่สามารถที่จะให้คำจำกัดความของนิยามหรือปัญหาเป็นเหตุให้สื่อความเข้าใจให้ไม่ตรงกันได้
1.4 ความไม่สามารถที่จะใช้ประสาทสัมผัสทั้งหลายในการสังเกต ซึ่งมักเข้าใจว่า การสังเกตนั้นเป็นการใช้เพียงตามองเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วสามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมด คือ ตา หู จมูกและกายสัมผัส ช่วยในการสังเกตด้วย
1.5 ความยากที่มองเห็นปัญหาความสัมพันธ์ของวัตถุ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกันน้อย (Remote Relationship) ทำให้ไม่สามารถหาทางแก้ปัญหาได้
1.6 การมองข้ามสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวหรือสิ่งที่เด่นชัด ซึ่งบางครั้งความเคยชินกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่คุ้นเคยอาจทำให้มองข้ามประเด็นที่น่าสนใจไปได้
1.7 ความล้มเหลวในการจำแนกเหตุและผล มีหลายสถานการณ์ที่ยากแก่การแยกแยะได้อย่างชัดเจนว่า อะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผลแก่กัน เช่น จากการสังเกตพบว่า นักศึกษาที่เรียนอ่อนมักจะสูบบุหรี่มากกว่านักเรียนที่เรียนเก่ง จึงเป็นปัญหาว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุต่อการเรียนอ่อนหรือไม่หรือการเรียนอ่อนเป็นสาเหตุให้เกิดความเครียดทำให้สูบบุหรี่มากขึ้น หรือทั้งการเรียนอ่อนและการสูบบุหรี่เป็นผลร่วมจากสาเหตุอื่น จึงไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย เป็นต้น ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์จะไม่ด่วนสรุปสาเหตุและผลจนกว่าจะรู้แน่ชัดเสียก่อน
2. อุปสรรคด้านวัฒนธรรม (Cultural Block) เป็นผลเนื่องจากกฎเกณฑ์ทางสังคมซึ่งเป็น สิ่งกำหนดให้บุคคลต้องมีพฤติกรรมอยู่ในกรอบระเบียบแบบแผน ทำให้มีผลต่อการสกัดกั้นความท้าทายต่อการคิดค้น และความเปลี่ยนแปลงอันเป็นคุณลักษณะด้านความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล ตัวอย่างของ อุปสรรคนี้ ได้แก่ 2.1 ความต้องการทำตามแบบอย่างในกรอบที่ไม่แตกต่างจากผู้อื่น ทำให้เกิดรูปแบบพฤติกรรมและการมองปัญหาที่คล้ายคลึงกัน การหาวิธีแก้ปัญหา ก็ยึดติดกับระเบียบแบบแผนมากเกินไป ทำให้บางครั้งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น ให้ลากเส้นตรง 4 เส้น ให้ผ่านจุดที่กำหนดให้ 9 จุด โดยไม่ยกปากกาหรือดินสอ และไม่ขีดซ้ำเส้นตรงที่ขีดแล้ว
ผู้ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้มักจะยึดติดในกรอบความคิดที่ว่าจะต้องลากเส้นตรงภายในกรอบของจุดทั้ง 9 นี้เท่านั้น ทั้งๆ ที่ปัญหาไม่ได้กำหนดไว้เลย
2.2 การเน้นความประหยัดและให้สามารถปฏิบัติได้มากเกินไป ซึ่งมีผลทำให้เกิดการตัดสินใจที่รวดเร็วเกินไป ทำให้บุคคลไม่พยายามที่จะใช้ความคิดของตนในสิ่งที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำกับของเดิม เพราะการกระทำเช่นนี้ต้องลงทุนทั้งเวลาและเงินมากขึ้น ซ้ำไม่แน่ใจในความสำเร็จด้วย
2.3 ความกลัวที่จะเป็นคนไม่สุภาพเรียบร้อย กลัวผู้อื่นเห็นว่าตนเป็นบุคคลที่น่ารำคาญ จึงทำให้ขาดความอยากรู้อยากเห็น ไม่กล้าที่จะซักถามหรืออภิปรายในสิ่งที่ตนยังไม่เข้าใจ ทำให้กลายเป็นคนที่ขาดจิตสำนึกแห่งการสืบค้น
2.4 การมุ่งการแข่งขันหรือความคิดร่วมมือกันมากเกินไป บุคคลทั่วไปมักคิดว่าการร่วมมือกันนั้นแต่ละคนต้องลดความคิดของตนเองลง เพื่อให้สอดคล้องกับความคิดของกลุ่มหรือลดความขัดแย้งลง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ขัดแย้งความจริง ความร่วมมือหมายถึง การทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้โดยต้องสามารถอธิบายหรือชี้แจงความคิดของตนให้ผู้อื่นเข้าใจหรือยอมรับได้ ส่วนการมุ่งแข่งขันกันจนเกินไปนั้นก็มีผลทำให้บุคคลมองข้ามเป้าหมายที่แท้จริงของงานนั้นไป โดยจะมุ่งเอาชนะแต่เพียงอย่างเดียว ทำให้ละเลยความคิดริเริ่มของตนเอง
2.5 การยึดมั่นในสถิติมากเกินไป การยึดมั่นหรือเชื่อในตัวเลขโดยไม่พิจารณาตัวแปรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เข้าใจสภาพความเป็นจริงที่ผิดไปได้ ตัวอย่างเช่น จากรายงานอุณหภูมิใน 1 ปี ของเมืองหนึ่ง เท่ากับ 65 องศาฟาเรนไฮ ถ้าพิสูจน์ตามตัวเลขนี้จะเข้าใจว่าเมืองนี้อุณหภูมิน่าอยู่เมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปกลับพบว่าเมืองนี้มีอุณหภูมิตั้งแต่ -22 องศาฟาเรนไฮ ถึง 114 องศาฟาเรนไฮ ความจริงเช่นนี้จะเห็นว่าเมืองไม่น่าอยู่เลย ซึ่งแตกต่างจาก การพิจารณาค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในตอนแรก
2.6 ความยากในการสรุปอ้างอิง พฤติกรรมของบุคคลเป็นสิ่งที่ยากต่อการสรุปอ้างอิง เพราะแต่ละคนก็มีพฤติกรรมเป็นเอกลักษณ์ของตนเองซึ่งแตกต่างกัน จึงเป็นการยากในการพิจารณามอบหมาย งานที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้
2.7 การยึดมั่นเหตุผลและความจริงมากเกินไปหรือการหลงเชื่อความจริงในอดีตมากเกินไป ก็มีผลทำให้บุคคลขาดความคิดสร้างสรรค์ได้ อย่างเช่น ถ้าหากเราเชื่อว่าพาหนะที่เบากว่าอากาศเท่านั้นที่สามารถจะบินได้ จนบัดนี้ยังไม่มีเครื่องบินใช้เป็นแน่
2.8 การขาดความประนีประนอมในความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันเข้าด้วยกัน ส่วนมากแล้วบุคคลจะมีแนวโน้มที่จะต่อต้าน หรือไม่ยอมรับความคิดที่ไม่ตรงกับตนโดยสิ้นเชิง และจะยอมรับความคิดที่ตรงกับตนในทันที ลักษณะเช่นนี้มีผลทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ ขึ้นมา
2.9 การมีความรู้สึกเกี่ยวกับขอบข่ายงานที่ปฏิบัติมากหรือน้อยเกินไป บุคคลที่มีความรู้น้อยหรือแคบเกินไปก็ไม่สามารถนำมาอภิปรายและสร้างสรรค์ให้เกิดความคิดใหม่ๆ ขึ้นมา เช่นเดียวกับ บุคคลที่มีความรู้มากหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ก็มักจะมีความรู้สึกว่าความคิดของตนนั้นถูก
2.10 การมีความเชื่อว่าความคิดฝันเป็นสิ่งที่ไร้ค่า บุคคลจึงไม่ยอมรับฟังความคิดฝันในสิ่งที่แปลกๆ ใหม่ๆ โดยเห็นว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน ไร้สาระ ซึ่งความจริงแล้วประดิษฐ์กรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นส่วนใหญ่ก็มักได้คิดจากความคิดฝันมาก่อนนั่นเอง
3. อุปสรรคด้านอารมณ์ (Emotional Block) จัดเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่ง ทั้งนี้เพราะอารมณ์ของบุคคล อันได้แก่ ความกลัว ความโกรธ ความรักและความเกลียด เป็นต้น นับว่ามีความสำคัญมากต่อปัญหาและเหตุผลสองสิ่งนี้เปรียบเสมือนหน้าหัวและก้อยของเหรียญ คือ ถ้าหงายเหรียญหน้าใดขึ้นอีกหน้าก็ต้องคว่ำลง นั่นคืออารมณ์จะเป็นตัวสกัดกั้นความคิดและเหตุผล ตลอดจนความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล ตัวอย่างของอุปสรรคประเภทนี้ ได้แก่
3.1 ความกลัวที่จะทำผิดหรือทำในสิ่งที่ผู้อื่นมองว่าโง่ ด้วยความกลัวเช่นนี้จึงทำให้สูญเสียความคิดดีๆ ไป เพราะเจ้าของความคิดไม่กล้าที่จะเสนอความคิดนั้นออกมา ด้วยเกรงว่าจะถูกผู้อื่นมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ
3.2 การด่วนที่จะตัดสินใจรับความคิดอันแรกที่เกิดขึ้น โดยไม่เปิดโอกาสคิดหาแนวทางอื่นที่แตกต่างออกไป ความจริงความคิดอันแรกนั้น อาจจะไม่ใช่ความคิดที่ดีที่สุดเสมอไป อาจจะมีความคิดอื่นที่ดีกว่าก็ได้ ถ้ายอมรับเสียตั้งแต่ความคิดอันแรกแล้วก็จะเป็นการสกัดกั้นความคิดอื่นๆ ไป
3.3 การยึดติดกับความคิดของตน บุคคลมักจะยึดติดกับความคิดความเชื่อของตนและยากที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดหรือข้อเสนอแนะของบุคคลอื่น และมักต่อต้านความคิดที่ไม่ตรงกับความคิดของตน
3.4 ความอดทนอดกลั้นต่อการแสวงหาวิธีแก้ปัญหาที่ยาก บุคคลทั่วไปมักจะมีความมุ่งหวังในผลสำเร็จในงานของตนไว้สูง เมื่องานนั้นประสบปัญหาก็จะเกิดความคับข้องใจและมุ่งแก้ปัญหานั้นแบบหัวชนฝา ไม่พยายามที่จะรวบรวมสถิติและความคิดในการหาหนทางอื่นๆ
3.5 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยสูงเกินไป ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ แต่ถ้าความต้องการสูงเกินไปก็ทำให้เป็นโรคประสาทได้และเมื่อทุกคน ต่างก็มุ่งไปที่ความมั่นคงปลอดภัยของตัวเองแล้ว จะมีผลให้ละเลยต่อโอกาสที่จะรับรู้หรือพิจารณาในสิ่งที่ใหม่อย่างน่าเสียดาย
3.6 ความกลัวต่อการนิเทศ แนะนำและไม่ไว้วางใจเพื่อนร่วมงานความรู้สึกเช่นนี้ทำให้บุคคลขาดความเชื่อมั่นและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน อันเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการสกัดกั้นความสามารถในการแก้ปัญหาและทำกิจกรรมสร้างสรรค์
3.7 การขาดความพยายามที่จะแก้ปัญหาโดยตลอดจนสำเร็จ บุคคลส่วนมากชอบที่จะดำเนินโครงการใหม่ๆ และให้ความสนใจกับโครงการนั้นในระยะสั้นๆ ในระยะยาวบุคคลมักจะขาดการเอาใจใส่ติดตามแก้ปัญหาและหาวิธีการใหม่ๆ มาดำเนินให้โครงการนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
3.8 การขาดแรงจูงใจในการแก้ปัญหา สาเหตุเนื่องจากขาดผู้เห็นด้วยหรือขาดผู้สนใจในแนวทางแก้ปัญหาที่ตนได้เสมอ อาจเป็นเพราะเขาไม่แน่ใจแนวทางแก้ปัญหานั้นหรือมีความรู้ความเข้าใจไม่ดีพอ จึงมีผลทำให้ผู้เสนอแนวทางที่แก้นั้นขาดแรงจูงใจที่จะคิดต่อ
จะเห็นว่าอุปสรรคของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากตัวของบุคคลเองและจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งแบ่งออกเป็น อุปสรรคด้านการรับรู้ (Perceptual Block) อุปสรรคด้านวัฒนธรรม (Cultural Block) และอุปสรรคด้านอารมณ์ (Emotional Block)
1.11 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
งานวิจัยในประเทศ
กนิษฐา ชูขันธ์ (2541 : 52 - 54) ได้ศึกษาวิจัยผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวทางการสอนภาษาธรรมชาติ โดยใช้แกนนำในหน่วยการสอนที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีอายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกำลังเรียนอยู่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2540 โรงเรียนอนุบาลหนูน้อย สังกัดสำนักงานศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร จำนวน 27 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการสอนภาษาธรรมชาติ โดยใช้แกนนำในหน่วยการสอนภาษาธรรมชาติสูงขึ้นกว่า การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนการทดลองเท่ากับ 25.25 หลังการทดลองค่าคะแนนเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 37.14
จงใจ ขจรศิลป์ (2532 : 80) ได้ศึกษาเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์และการเล่นตามมุมแบบริเร่มอย่างอิสระ กับแบบครูชี้แนะ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ผลการศึกษาพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์และการเล่นตามมุมแบบริเริ่มอย่างอิสระกับเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์และการเล่นตามมุมแบบครูชี้แนะมีความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นแตกต่างกัน
นิรัตน์ กรองสะอาด (2535 : 62 - 67) ได้ศึกษาวิจัยการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะที่เน้นเทคนิคในการสื่อความหมายที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยโดยศึกษานักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2535 ของโรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะที่เน้นเทคนิคในการสื่อความหมาย มีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง 17.53 และหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ย 37.93
วรรณา กรัสพรหม (2546 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 2 อายุระหว่าง 4 – 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนเซนต์หลุยส์ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 15 คน พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการมีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สดใส ชนะกุล (2538 : 118 - 119) ได้ศึกษาการจัดกิจกรรมการวาดภาพนอกชั้นเรียนที่มี ผลต่อความคิดสร้างสรรค์และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตอนุบาลลอออุทิศ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการวาดภาพนอกชั้นเรียน มีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการวาดภาพในชั้นเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวาดภาพนอก ชั้นเรียนมีการรับรู้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวาดภาพในชั้นเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
วารุณี นวลจันทร์ (2539 : 78 - 87) ได้ศึกษาวิจัยการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงานที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2539 โรงเรียนชุมชนบ้านโนนสว่าง อำเภอกุดข้าว จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 60 คน ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงานมีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง 17.20 และหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ย 26.20 ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง 17.13 หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ย 20.46
งานวิจัยในต่างประเทศ
ไคลแอต ชอร์ และเชอร์วูด (Cliatt, Shaw & Sherwood. 1980 : 1061 – 1064) ได้ศึกษาผลการใช้คำถามอเนกนัยกับความคิดสร้างสรรค์ของเด็กวัยอนุบาล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นเด็กอายุ 5 – 6 ปี จำนวน 37 คน เป็นชาย 18 คน เป็นหญิง 19 คน กลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนจากครูที่สอนปกติทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองได้รับการทดสอบก่อนและทดสอบภายหลังในด้านความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ที่เป็นคำพูดและเป็นรูปภาพ ผลการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองที่ครูได้รับการฝึกอบรมให้ถามคำถามให้เด็กสามารถเกิดการคิดอเนกนัยมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญจากการวัดโดยใช้แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นคำพูดส่วนการวัดความคิดสร้างสรรค์โดยแบบที่เป็นรูปภาพพบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเด็กอนุบาลที่ได้รับการฝึกให้คิดอเนกนัยจะสามารถเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้
วิลเลมส์ (Williams. 1971 : 325 - 358) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดริเริ่มกับคะแนนวิชา หมวดวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศิลปะ ภาษา ดนตรี ผลปรากฏว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดริเริ่มกับคะแนนรวมหมวดศิลปะ ภาษา วิชาดนตรี มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง
เยลเลนและเออร์บัน (Jellen & Urban. 1986 : 147) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการกับศักยภาพความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยใช้แบบทดสอบ TCT – DP (Test for Creative Thinking – Drawing Production) ผลปรากฏว่า ผู้สัมฤทธิ์ผลทางวิชาการต่ำหรือสูง ไม่จำเป็นต้องมีศักยภาพทางความคิดริเริ่มสร้างสรรค์หรือสูงตามวัย
อัลบาโน (Albano. 1987 : Abstract) ได้ทำการทดลองฝึกความคิดสร้างสรรค์ภายใต้สมมติฐานความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วยทักษะทางสมอง 4 ประการ คือ ทักษะด้านจินตนาการ (Imagery) ทักษะด้านอุปมา (Analogy) ทักษะทางด้านโยงความสัมพันธ์ (Association) และลักษณะการเปลี่ยนรูป (Transformation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นทหารสังกัดหน่วยสื่อสารอิเล็คทรอนิคส์ในรัฐนิวเจอร์ซี่อเมริกา จำนวน 66 คน ใช้เวลาในการฝึก 20 ชั่วโมง ระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 1985 โดยใช้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ฉบับรูปภาพ และภาษาเป็นเครื่องมือวัดตัวแปรตาม ผลการทดลองพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้น
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทำได้หลายรูปแบบ การจัดกิจกรรมให้เด็กได้คิด ได้ลงมือปฏิบัติอย่างอิสระช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งแวดล้อมต่างๆ มีอิทธิพลต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปั้น
2.1 ความหมายของการปั้น
การปั้นเป็นกิจกรรมอันน่าชื่นชมของนักประติมากรรมและมีผู้สนใจทั่วไป จึงได้มีคำจำกัดความของการปั้น (Modeling) จากทัศนะของบุคคลหลายวงการตามอาชีพดังนี้
วิรัตน์ พิชญไพบูลย์ (2531 : 8) กล่าวว่า การปั้นเป็นกิจกรรมที่เด็กได้สร้างสรรค์งานศิลปะที่มีรูปทรงสามมิติ เช่นการปั้นดินเป็นรูปวงกลม รูปผลไม้ และรูปสัตว์ต่างๆ เป็นต้น กิจกรรมการปั้นจะเน้นรูปร่างและมวลความเป็นกลุ่มก้อนซึ่งช่วยให้เด็กได้สำนึกว่าศิลปะไม่ใช่การเขียน ภาพหรือใช้เส้นถ่ายทอดความคิดเท่านั้น แต่ยังมีการแสดงออกด้วยสื่อต่างๆ ได้อีกมาก
ชวลิต ดาบแก้ว (2533 : 1) กล่าวว่า การปั้น คือการเอาวัสดุที่มีความเหนียวจับตัวเป็นก้อนดินเหนียว ดินน้ำมัน ขี้ผึ้ง ปูน เป็นต้น มาปั้นหรือพอกให้เป็นรูปทรงต่างๆ การปั้นเป็นกระบวนการเพิ่มวัสดุให้มีรูปร่างตามความต้องการ ปั้นด้วยมืออย่างเดียวหรือจะใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยด้วยก็ได้ เครื่องมือการปั้นแตกต่างกันไปตามชนิดงาน เช่น การปั้นด้วยดิน ถ้าต้องการให้คงทนถาวรก็ต้องทำแม่พิมพ์แล้วหล่อด้วยปูนปลาสเตอร์ พลาสติก หรือนำไปเผาให้เป็นเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
วิทยา เริงโกสุม (2535 : 106) กล่าวว่า กิจกรรมการปั้นถ่ายทอดความนึกคิดของเด็กมายังสื่อที่ครูกำหนดให้ อาจเป็นทั้งดินเหนียว ดินน้ำมัน หรือสิ่งอื่นๆ ที่ผู้สอนจัดให้แก่เด็ก
วิเชียร อินทรกระทึก (2539 : 7) กล่าวว่า การปั้น คือ กรรมวิธีประติมากรรมที่สร้างรูปทรง (form) โดยการพอกด้วยวัสดุที่อ่อนตัว และเปลี่ยนรูปทรงได้ง่าย เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมันหรือขี้ผึ้ง เป็นต้น ซึ่งเมื่อปั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ต้องนำไปหล่อปูนปลาสเตอร์ โลหะ หรือวัสดุคงทนอื่นๆ เพื่อให้คงทนมากขึ้น
เขียน ยิ้มสิริ (2547 : 1) กล่าว่า การปั้นเป็นการสร้างรูปทรงสามมิติ จากวัสดุที่เหนียวอ่อนตัว และยึดจับตัวกันได้ดี วัสดุที่นิยมใช้ ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้งโด ขี้ผึ้ง กระดาษ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น
ศุภกุล เกียรติสุนทร (2549 : 78 ) กล่าวว่า การปั้น คือกระบวนการสร้างสรรค์ประติมากรรมซึ่งถ่ายทอดความนึกคิดของเด็กมายังสื่อต่างๆ เช่น แป้งโด ดินเหนียว ดินน้ำมัน ขี้ผึ้ง กระดาษ ขี้เลื่อย เป็นต้น การปั้นจะปั้นด้วยมืออย่างเดียวหรือใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยก็ได้
สรุปได้ว่า การปั้นหมายถึง กรรมวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรมรูปแบบหนึ่ง โดยการนำเอาวัสดุที่มีเนื้ออ่อน และมีความเหนียวจับตัวกันเป็นก้อน สามารถเปลี่ยนแปลงรูปทรงได้ง่าย มาเพิ่ม หรือพอกด้วยวัสดุที่อ่อนตัวให้เกิดรูปทรงต่างๆ ตามความต้องการของเด็ก ซึ่งวัสดุที่นำมาใช้กับงานปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน แป้งโด ขี้เลื่อย เป็นต้น จะปั้นด้วยมืออย่างเดียวหรือใช้เครื่องมือ เข้ามาช่วย ก็ได้
2.2 คุณค่าของการปั้น
การเล่นปั้นเป็นกิจกรรมที่ท้าทายน่าตื่นเต้นและมีคุณค่ามหาศาลสำหรับเด็ก ๆ ดังนี้
1. ส่งเสริมพัฒนาการและความคิดสร้างสรรค์
รูปทรงสมมติที่เกิดจากการปั้นเป็นผลงานจากกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ก่อนที่จะลงมือย่อมมีเป้าหมายของความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งในใจเหมือนกับการตั้งสมมติฐานอย่างกว้างๆ แล้วทดลองประดิษฐ์ตามจินตนาการลองผิดลองถูกและแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา ณัฐวรรณ ขนชัยภูมิ (2546 : 83) ได้ศึกษาผลของการใช้กิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้าในการวาดภาพกับการปั้นที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับการฝึกโดยใช้กิจกรรมประสาทสัมผัสทั้งห้าในการวาดภาพและกลุ่มที่ 2 ได้รับการฝึกโดยใช้กิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้าในการปั้นพบว่าเด็กทั้ง 2 กลุ่มหลังจากได้รับการฝึกโดยใช้กิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้าในการปั้น มีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 และเด็กที่ได้รับการฝึกโดยใช้กิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้าในการวาดภาพ กับเด็กที่ได้รับการฝึกโดยใช้กิจกรรมฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้าในการปั้น มีความคิดสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2 ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา
วิจิตรา วิเศษสมบัติ (2539 : 136) ได้ศึกษาความพร้อมทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ความคิดรวบยอดประกอบการสนทนาในกิจกรรมการปั้นพบว่า เด็กปฐมวัยได้รับการจัดประสบการณ์ความคิดรวบยอดประกอบการสอนในกิจกรรมการปั้น มีความพร้อมทางภาษาสูงกว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การปั้นแบบปกติ
3 ส่งเสริมพัฒนาการการคิด
ปัทมา แจ่มจรัส (2548 : 79) ศึกษาความสามารถด้านความคิดของเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมปั้นแป้งโดชนิดแข็งกับเด็กอายุ 4 - 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 1 จำนวน 15 คน พบว่าความสามารถด้านการคิดของเด็กที่ทำกิจกรรมปั้นแป้งโดชนิดแข็งสูงกว่าก่อนทำกิจกรรมปั้นแป้งโดชนิดแข็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
เด็กได้สัมผัส คือ ทุบ ตี นวด ตัด สื่อที่ใช้ในการปั้นจึงมีความยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ทำให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับรูปร่าง สัดส่วน ความมั่นคงแข็งแรง สี กลิ่น ความนิ่ม ความแข็ง ความเหนียว การคงรูป การเปลี่ยนรูป การเปลี่ยนสภาพของมวลสาร (Mayesky . 1998 : 186) ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้การอนุรักษ์สสารนำไปสู่พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (Peterson. 1996 : 172)
5. ส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อเล็กและใหญ่
การเล่นปั้นของเด็กต่างใช้ทั้ง ฝ่ามือ ข้อมือ และนิ้วมือ ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อเหล่านี้แข็งแรงทำงานได้คล่องตัวขึ้น และยังพัฒนาการการทำงานประสานสัมพันธ์กันระหว่างการใช้กล้ามเนื้อนิ้วมือและประสาทตา (เลิศ อานันทะ. 2535 : 45) ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่การเขียนหนังสือวิธีหนึ่ง (สัตยา สายเชื้อ. 2541 : 109) จากการศึกษาของวรรณี อยู่คง (2547 : 91) เกี่ยวกับความสามารถของกล้ามเนื้อมือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมการปั้นกับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 อายุ 3 - 4 ปี จำนวน 15 คน พบว่า ความสามารถของกล้ามเนื้อมือของเด็กหลังทำกิจกรรมการปั้นสูงขึ้นกว่าก่อนทำกิจกรรมการปั้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เซอร์มาเชอร์ (Schirrmacher. 1988 : 260) ตั้งข้อสังเกตว่า การเล่นปั้นส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กไปพร้อมๆกัน ขณะที่เด็กเล่นปั้น เด็กต้องใช้แรงมากตั้งแต่ บ่า แขน มือ นิ้วมือ และรู้จักควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานประสานกันไม่ว่าจะนั่งหรือยืนทำกิจกรรมให้กล้ามเนื้อทุกส่วนมีปฏิกิริยาตอบสนองงานปั้นจึงจะบรรลุเป้าหมาย
6. ส่งเสริมทักษะทางสังคม
การปั้นเป็นกิจกรรมที่เสริมทักษะทางสังคมกล่าวคือ ในขณะที่เด็กปั้น เด็กจะมีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อนทำให้เกิดการเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่นแสดงความคิดและแลกเปลี่ยนความคิด (Mayesky. 1998 : 16) นอกจากนี้การที่เด็กได้เล่นปั้นบ่อย ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะการทำงานมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีประสบการณ์แห่งความสำเร็จมีความภาคภูมิใจนี้ได้ทำงานในสิ่งที่เด็กชอบด้วยความมานะอดทนและประสบความสำเร็จ ส่งผลให้เด็กเชื่อมั่นในตนเองรู้จักคุณค่าแห่งตนตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ (Seefeldt . 1986 : 281)
7. ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์
วัสดุที่ใช้ปั้นเป็นวัสดุอ่อน นิ่ม ยืดหยุ่น เปลี่ยนรูปร่างได้ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมันแป้งโด เป็นต้น ทำให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์จากการที่ได้จัดกระทำกับวัสดุอย่างอิสระพร้อมทั้งสร้างสรรค์ตามจินตนาการด้วยการทุบ ขยำ ตบ ตี นวด คลึง (วราภรณ์ รักวิจัย. 2529 : 50) หากเด็กมีอารมณ์ ขุ่นเคืองหรือมีความกลัวในใจเด็กก็สามารถปลดปล่อยออกมาขณะที่ทุบวัสดุที่ใช้ปั้น (Seefeldt. 1986 : 281) ยิ่งวัสดุที่ใช้ปั้นมีกลิ่น สี จากธรรมชาติ เช่น เติมกลิ่นหอมจากใบไม้และดอกไม้ หรือผสม ผงชอคโกแลต ผงโอวัลติน ลงในส่วนผสมของแป้งโด เพิ่มสีสันหลากหลายจะช่วยให้เด็กผ่อนคลายอารมณ์ ลดความคับข้องใจ
การเล่นปั้นเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาการทางภาษา พัฒนาการการคิด พัฒนาการทักษะทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก พัฒนาการทักษะทางสังคม และส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์
2.3 รูปแบบของการปั้น
นักการศึกษาและนักประติมากรรมได้แบ่งรูปแบบของการปั้นไว้แตกต่างกันตามทัศนะที่มาจากประสบการณ์ของตนดังนี้
ประเสริฐ ศีลรัตนา (2529 : 49 - 51) ได้แบ่งการปั้นออกเป็นรูปทรงต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การปั้นรูปอิสระ เป็นรูปที่ผู้ปั้นสามารถกำหมดนึกแล้วถ่ายทอดโดยไม่ต้องคำนึงว่ารูปที่ปรากฏนั่นจะเหมือนหรือไม่เหมือนกับรูปทรงที่มีอยู่ในธรรมชาติ รูปอิสระเป็นรูปที่ดูแล้วให้ความรู้สึกต่อรูปแบบนั่นมากกว่าบอกเล่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ปรากฏตามธรรมชาติ ก่อนที่จะปั้นรูปอิสระจะต้องให้เด็กกำหนดเสียก่อนว่าจะปั้นเป็นรูปแทนค่าความรู้สึกอะไร เมื่อปั้นเสร็จแล้วตั้งชื่อผลงานให้เข้ากับลักษณะงานมากที่สุด การปั้นรูปอิสระไม่ควรกำหนดหัวข้อหรือชื่อภาพควรให้เด็ก แต่ละคนกำหนดนึกด้วยตนเอง
2. การปั้นรูปทรงเรขาคณิต เป็นการปั้นที่ต้องสร้างรูปทรงเป็นเหลี่ยม สัน หรือส่วนโค้งและมุม ซึ่งต้องใช้ความประณีตพิถีพิถันกว่าการปั้นรูปอิสระ รูปทรงที่ใช้ประกอบการปั้นได้แก่ รูปทรงกลม รูปทรงกระบอก รูปทรงสี่เหลี่ยม รูปทรงสามเหลี่ยม
3. การปั้นรูปแบบธรรมชาติ เป็นการปั้นลักษณะรูปธรรมซึ่งมีรูปแบบให้คอยเปรียบเทียบบังคับทั้งขนาด สัดส่วน ลักษณะและอื่นๆ เป็นการปั้นรูปแบบธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์ ผลไม้ เป็นต้น มีความสัมพันธ์กับทักษะ ประสบการณ์พื้นฐานความรู้ ตลอดจนขีดจำกัดของวัยกับการควบคุมการใช้มือ ดังนั้นการปั้นรูปแบบธรรมชาติจึงมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การให้เด็กได้เป็นรูปทรงที่กำหนดไว้แล้ว
ชัยรงค์ เจริญพานิชย์กุล (2532, 46 – 48) ได้เสนอรูปแบบการปั้นตามมิติของการปั้นไว้ดังต่อไปนี้
1. การปั้นแบบนูนต่ำ คือ การปั้นให้ปรากฏรูปลอย จากพื้นหลังเพียงเล็กน้อยโดยการใช้ไม้ทับดินให้แบนๆ เพื่อใช้เป็นพื้นรองแล้วจึงปั้นเป็นรูปต่างๆ บางๆ แล้วนำมาปะลงบนแผ่นรองโดยใช้นิ้วหรือฝ่ามือกดให้แนบติดกันอาจใช้นิ้วเกลี่ยให้กลืนเป็นเนื้อเดียวกันกับแผ่นรองก็ได้
2. การปั้นแบบนูนสูง คือ จะมีลักษณะเช่นเดียวกับนูนต่ำ โดยเตรียมแผ่นแบนๆรองเป็นฐาน แล้วปั้นดินให้เป็นรูปอะไรก็ได้ตามความถนัดปะลงไปบนแผ่นรอง ซึ่งวิธีปั้นแบบนี้รูปที่ปะทับลงไปค่อนข้างจะสูงขึ้นมามากโดยด้านหลังของรูปปั้นจะติดอยู่กับแผ่นรอง
3. การปั้นแบบลอยตัว คือ การปั้นรูปในลักษณะที่ตั้งลอยอยู่และสามารถมองเห็นได้รอบด้าน
มาเยสกี้ (Mayesk. 1998 : 156 - 157) ได้แบ่งรูปแบบการปั้นโดยพิจารณาจากวิธีการปั้นของเด็กไว้ 2 วิธี ดังต่อไปนี้
1. การปั้นแบบวิเคราะห์ (analysis) คือการปั้นโดยพิจารณาดินทั้งก้อน ด้วยการดึงส่วนต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบย่อย เช่น แขน ขา ศีรษะให้ยื่นออกมาเป็นรูปร่างลักษณะของส่วนเหล่านั้น เด็กที่ปั้นวิธีนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กคิดที่เป็นไปอย่างธรรมชาติ กล่าวคือมองเห็นส่วนรวมก่อนแล้วจึงเห็นส่วนปลีกย่อยภายหลัง เช่น เมื่อนึกถึงต้นไม้ตามธรรมชาติ เราจะนึกถึงต้นไม้ทั้งต้นก่อน แล้วจึงคิดย่อยลงไปถึงลำต้น กิ่ง ก้านและใบ ซึ่งเป็นความคิดที่ได้จากการสังเกต
2. การปั้นแบบสังเคราะห์ (synthesis) คือการปั้นส่วนย่อยให้มีลักษณะตามต้องการเสียก่อน เช่น ศีรษะ แขน ขา ฯลฯ แล้วเอามาต่อกันเป็นส่วนรวมทั้งหมด คือ เด็กจะคิดก่อนว่า “คนมีหัว มีตัว มีแขนสองแขน มีขาสองขา” แล้วเด็กจะลงมือปั้นต่างๆ เหล่านั้นตามที่คิด หลังจากนั้นเด็กจะนึกถึงความสัมพันธ์ของส่วนเหล่านั้นว่าส่วนไหนคิดต่อกับส่วนไหนอย่างไร แล้วต่อเข้าด้วยกันเป็นส่วนรวม
จากการศึกษาแบบการปั้นของธัญวลี พวงชาติ (2545 : 41) พบว่ารูปแบบการปั้นของเด็กอายุ3 – 5 ปี ในโรงเรียนสาธิตสังกัดสถาบันราชภัฎทั่วประเทศส่วนใหญ่พบว่า เด็กอายุ 3 ปี ปั้นชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นก้อน เป็นแท่งใหญ่ คือ ไม่มีการดึงออกหรือเพิ่มเข้าไปจึงไม่สามารถจัดเป็นการปั้นแบบวิเคราะห์และแบบสังเคราะห์ได้ เด็กอายุ 4 ปี ปั้นชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นรูปร่างขึ้น คือมีการดึงออกหรือเพิ่มเข้าไป ส่วนใหญ่เป็นการปั้นแบบสังเคราะห์มากกว่าแบบวิเคราะห์และเด็กอายุ 5 ปี ปั้นชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นรูปร่างคล้ายของจริง คือ มีการเพิ่มเข้าไปมากกว่าการดึงออกส่วนใหญ่เป็นการปั้นแบบสังเคราะห์มากกว่าแบบวิเคราะห์
2.4 ลักษณะและพัฒนาการการปั้น
พัฒนาการทางศิลปะมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการการปั้นของเด็ก และแต่ละช่วงอายุของ เด็กปฐมวัยจะมีลักษณะและพัฒนาการการปั้นที่แตกต่างกัน ดังนี้
โลเวนเฟลด์ (lowenfeld. 1957 : 37 - 42) พบว่าเด็กมีขั้นตอนการพัฒนาการทางศิลปะคู่ขนานมากับการพัฒนาการการปั้นจึงแบ่งพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็น 5 ขั้น ในที่นี้จะกล่าวเพราะที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ตรงกับพัฒนาการทางศิลปะขั้นขีดเขี่ย อายุ 2 - 4 ปี ขั้นนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะแรก เด็กอายุประมาณ 2 ปี ถ้าได้ดินเหนียวหรือดินน้ำมันเด็กจะทุบตีโดยไม่มีความหมาย
ระยะที่สองเด็กอายุประมาณ 3 ปีเด็กจะเริ่มดึงดินออกมาเป็นชิ้นๆ บางครั้งดึงออกแล้วออกทิ้งไป บางครั้งดูชิ้นดินที่ดึงออกมาซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กัน
ระยะที่สาม เด็กอายุประมาณ 4 ปี เด็กมักจะชูดินที่ตนเล่นอยู่นั้น พร้อมกับพูดว่า “นี่เรือบิน นี่รถไฟ” ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามความคิดคำนึงของเด็กตรงกับระยะที่เด็กชอบตั้งชื่อรอยขีดเขี่ยของตน
ขั้นที่ 2 ตรงกับพัฒนาการทางศิลปะขั้นเริ่มต้นการเขียนภาพให้มีความหมาย อายุ 4 - 7 ปี ในขั้นนี้เด็กกำลังแสวงหาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับรูปลักษณะในการปั้นรูปคนเด็กจะดึงส่วนที่ยื่นออกมา เช่น จมูก แขน ขา ออกจากดินก้อนใหญ่โดยไม่คำนึงถึงรูปลักษณะของจมูก แขน ขา เหล่านั้นมากกว่าการได้จับถือก้อนดินของตน และติดส่วนนั้นกับดินก้อนใหญ่ที่สมมติว่าเป็นลำตัวโดยไม่ตกแต่งให้ดีขึ้น
เซอร์มาเชอร์ (Schirrmacher. 1988 : 263-264) ผู้คนพบว่า การเขียนมีความสัมพันธ์เกี่ยวของกับพัฒนาการการวาดภาพ การระบายสี และการปั้น จึงสรุปพัฒนาการการปั้นเป็น 4 ขั้นดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ดินเหนียวคืออะไร เด็กอายุ 2 ปี จะเกิดประสบการณ์จากการทดลองคุณสมบัติของดินเหนียว โดยการใช้ประสาทสัมผัสการมอง การจับ การดมกลิ่น การเลีย การชิมและการฟังเสียงที่เกิดจากการเล่นดินเหนียว เด็กๆ จะทิ้งขว้าง หรือจับดินเหนียวโยนให้มันกระเด้งหรือติดบนผิวหนัง เด็กๆ ไม่สนใจจะทำสิ่งอื่น นอกเหนือจากการใช้ประสาทสัมผัสและมีคำพูดง่ายๆ สั้นๆที่สัมพันธ์กับประสบการณ์การสัมผัสดินเหนียว เช่น เหนียว นิ่ม เป็นต้น
ขั้น 2 ฉันสามารถทำอะไรกับดินเหนียว จากขั้นแรกจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่ 2 เด็กอายุ 3 ปี จะทำงานเป็นระบบมากขึ้น โดยกระบวนการต่างๆ คล้ายนักวิทยาศาสตร์ มีการทดสอบดินเหนียวด้วยการม้วน หยิก ฉีก ดึง และแทงให้เป็นรู โดยใช้ร่างกายในการตรวจสอบคุณสมบัติของดินเหนียว ในขั้นนี้เด็กไม่มีความละเอียดรอบคอบ จะพบวิธีการปั้นเป็นรูปร่างต่างๆ โดยบังเอิญ เช่น ลูกบอลเล็กๆ ขนมเค้ก งู เป็นต้น เด็กจะทำพฤติกรรมการปั้นชิ้นงานซ้ำๆ หลายครั้ง
ขั้นที่ 3 มองดูซิฉันทำอะไร เด็กอายุ 4 ปี ใช้ความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบและปั้น ดินเหนียว เด็กจะนำลูกบอลมาวางบนส่วนยอดของสิ่งอื่น ๆ เด็กจะทำดินเหนียวให้แบนหรือม้วนเป็นรูปร่างใหม่ จะมีการปั้นดินเหนียวให้มีรูด้วยการดึงออก เด็กจะใช้สัญลักษณ์และการพูดเกี่ยวกับสิ่งที่ปั้น เช่น ในขั้นที่ 2 เด็กอาจใช้การแทงให้เป็นรู และเมื่ออยู่ในขั้นที่ 3 เด็กอาจจะแทงรูให้เป็น 3 รูและเรียกงานปั้นชิ้นนั้นว่าใบหน้า ผลงานจะได้ไม่สมบูรณ์และเรียบๆ เด็กจะมีจินตนาการกับชั้นงาน เช่น ลูกบอลที่ขดเป็นงู เด็กจะพูดว่า “งูกำลังจ้องมองคุณ และจะพาเลื้อยไปรอบๆ โต๊ะส่งเสียงขู่ฟ่อๆ และกัด เด็กๆ ในขั้นนี้ผลงานจะมีความสมบูรณ์ ผู้อื่นอาจจะไม่รู้ว่าผลงานนั้นคืออะไร
ขั้นที่ 4 ฉันรู้ว่าต้องไปทำอะไรกับดินเหนียวของฉัน เด็กอายุ 5 ปี มีการปั้นดินเหนียวที่ก้าวหน้า มีความคิดใหม่ๆ มีการตั้งชื่อผลงาน และภูมิใจในแบบผลงานของตนเอง เด็กต้องการกระบวนการหรือวิธีการที่เหมาะสม สามารถอธิบายขั้นตอนและผลงานได้ ผลงานจะพิสูจน์ให้เห็นข้อเท็จจริงที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของคนอื่นๆ เด็กในขั้นนี้จะรู้ว่าดินที่ปั้นเป็นอาหารหรืองู เป็นเพียงสัญลักษณ์หรือรูปแบบ และไม่ใช่สิ่งของจริงๆ ไม่ใช่อาหารรับประทานไม่ได้ จะสนุกกับรายละเอียดในการปั้นโดยใช้เครื่องมือและวัสดุอื่นๆ ตกแต่งผลงาน เช่นกระดุม และไม้จิ้มฟัน เป็นต้น
ธัญวลี พวงชาติ (2545 : 38 – 41) ได้ศึกษาพัฒนาการการปั้นของเด็กไทยอายุ 3 - 5 ปี ที่ศึกษาโรงเรียนสาธิตสังกัดสถาบันราชภัฎทั่วประเทศแล้วพบว่า
1. เด็กอายุ 3 ปี มีระดับขั้นการปั้นอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการปั้น เด็กส่วนใหญ่จะสร้างผลงานที่มีลักษณะเป็นชิ้นงาน เป็นก้อน ไม่มีการปะติดกันในการวางชิ้นงาน ชิ้นงานจะเป็นชิ้นเดี่ยวๆ เกิดจากการดึงออกเป็นชิ้นๆ หรือการสับหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เด็กจะดึงแป้งโดออกเป็นชิ้นหรือใช้มีดสับหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งชิ้นงานนั้นจะมีลักษณะคล้ายๆ กัน ชิ้นงานแต่ละชิ้นจะแสดงรายละเอียด 1 - 2 อย่าง ซึ่งสอดคล้องกับโลเวนเฟลด์ (Lowenfeld. 1957 : 33 - 39) และเซอร์มาเชอร์ (Schirrmacher. 1988 : 236 - 237) ที่กล่าวว่าเด็กอายุ 3 ปี จะไม่สามารถปั้นเป็นรูปร่างที่มองเห็นและเข้าใจได้ เพราะยังควบคุมกล้ามเนื้อมือและแขนได้ไม่ดี ผลงานของเด็กในวัยนี้จึงเป็นเรื่องราวตามความรู้สึกของตน ชิ้นงานของเด็กส่วนใหญ่เป็นชิ้นงานที่มีลักษณะนูนสูงคือ ปั้นชิ้นงานที่มองเห็นสองด้านเป็นสองมิติ เด็กจะใช้วิธีวาง ดึง หรือกดแป้งลงบนแผ่นพลาสติกจึงไม่มีการดึงออก เป็นส่วนประกอบย่อยหรือเพิ่มส่วนประกอบย่อยชิ้นเล็กๆ เข้าไป แบบของการปั้นจึงไม่สามารถจัดเป็นการปั้นแบบวิเคราะห์หรือแบบสังเคราะห์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับเซอร์มาเชอร์ (Schirrmacher. 1988 : 236 - 237) ที่กล่าวว่าเด็กอายุ 3 ปี ใช้ประสาทสัมผัส การมอง การดมกลิ่น ใช้กายสัมผัส และเด็กบางคนก็จะใช้ลิ้นชิมรส หรือการฟังเสียง
2. เด็กอายุ 4 ปี มีระดับการปั้นขั้นที่ 2 เป็นการปั้นอย่างมีความหมาย เด็กจะเริ่มรวบรวมรูปแบบต่างๆ ในการปั้นมาใช้ประกอบกันเพื่อให้เกิดเป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เด็กในวัยนี้จะควบคุมกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น และเป็นวัยแห่งการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการรวบรวมรูปแบบต่างๆ ของการปั้นมาทดลองใช้ และเด็กเริ่มพัฒนาความคิดริเริ่มในการสร้างงานมากขึ้น (Schirrmacher. 1988 : 236 - 237) เด็กส่วนใหญ่จะสร้างผลงานที่มีลักษณะเป็นชิ้น เป็นก้อน 2 ชิ้น หรือมากกว่ามาปะติดกัน ในการจัดวางชิ้นงานซึ่งสอดคล้องกับชัยณรงค์ เจริญพานิชย์กูล (2533 : 84) ที่กล่าวว่าเด็กอายุ 4 ปี จะปั้นเป็นรูปทรงเฉพาะโดยวิธีการเพิ่มเข้ามากกว่าดึงออก ส่วนใหญ่เป็นการปั้นแบบสังเคราะห์ซึ่งเด็กจะปั้นชิ้นส่วนย่อย แล้วนำมาติดกับชิ้นงานส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นก่อน ตัวอย่างเช่น เด็กจะปั้นลำตัวคน แล้วนำแขน ขา มาติด เด็กจะปั้นลำต้นของต้นไม้ แล้วนำกิ่ง ก้าน ดอก ผล มาติด เด็กจะปั้นลำตัวของสัตว์ แล้วนำ ขา หู ตา มาติด เด็กจะปั้นลำตัวเครื่องบิน แล้วนำปีก ใบพัด มาติด เป็นต้น และนอกจากนี้เด็กอายุ 4 ปี จะปั้นแบบสังเคราะห์มากกว่าการปั้นแบบวิเคราะห์ ชิ้นงานจะมีลักษณะเป็นก้อนเป็นแท่งใหญ่ๆ โดยมีรายละเอียดของชิ้นงานซับซ้อนขึ้น ซึ่งมาเยสกี้กล่าวว่าเด็กที่ปั้นแบบวิเคราะห์แสดงว่า เด็กมีความคิดส่วนย่อยมากกว่าส่วนรวม และต่อมาจะนึกถึงความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนประกอบว่ามีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกันอย่างไร (Mayesky. 1998 : 156 - 157) ชิ้นงานปั้น ส่วนใหญ่จึงเป็นการปั้นแบบสังเคราะห์
3. เด็กอายุ 5 ปี มีระดับขั้นการปั้นอย่างสร้างสรรค์ เด็กวัยนี้เป็นวัยที่ต้องการเพิ่มรายละเอียดชิ้นงานปั้นของตนด้วยสื่อวัสดุต่างๆ เพื่อให้ชิ้นงานนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เด็กอายุ 5 ปี ส่วนใหญ่จะปั้นชิ้นงานชิ้นเล็กๆมาปะติดตกแต่งให้มีรายละเอียดมากขึ้น ชิ้นงานส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการจัดกระทำกับวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ปั้นในหลายๆ วิธี โดยมีจุดมุ่งหมายพิเศษหรือการวางแผนว่าจะปั้นอะไรไว้ล่วงหน้า ส่วนใหญ่เป็นการปั้นแบบสังเคราะห์มากกว่าแบบวิเคราะห์ ซึ่งเด็กจะปั้นชิ้นส่วนย่อย แล้วนำชิ้นส่วนย่อยมาติดกับชิ้นส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นมาแล้ว ซึ่งมาเยสกี้ และคนอื่นๆ กล่าวว่า เด็กที่ปั้นแบบสังเคราะห์แสดงให้เห็นว่า เด็กมีความคิดถึงส่วนย่อยก่อนส่วนรวมเมื่อเด็กปั้นเด็กจะคิดก่อนว่าสิ่งที่ปั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้างและต่อมาจะนึกถึงความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนประกอบว่ามีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกันอย่างไร แล้วจึงต่อเข้าด้วยกันเป็นส่วนรวม (Mayesky. 1998 : 156 - 157) ชิ้นงานปั้น ส่วนใหญ่จึงเป็นการปั้นแบบลอยตัวสามารถมองเห็นได้รอบด้าน ด้านหน้า - หลัง ด้านบน - ล่าง และด้านข้าง เช่น เด็กผู้หญิงจะปั้นกระทงที่มีหลายชั้นมีดอกไม้เล็กๆ ธูปเทียน เด็กผู้ชายปั้นเสือที่อยู่ในกรงและข้างๆ กรงมีต้นไม้และมีอ่างน้ำ ซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นเพื่อให้เรื่องราวที่เด็กเล่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งฐิติรัตน์ อัตตะนังค์ (2530 : 65 - 66) กล่าวว่าการปั้นของเด็กในวัยนี้จะเริ่มมีเส้นหรือสัณฐาน เพื่อเชื่อมโยงสีต่างๆ ที่เด็กปั้น เช่น เด็กปั้นคนก็จะทำพื้นดินให้คนยืนอยู่ด้วย เด็กปั้นบ้านก็จะทำถนนหรือพื้นดินหน้าบ้านให้รถวิ่ง เด็กในวัยนี้หากเห็นว่าส่วนประกอบหรือส่วนของอวัยวะใดๆ ที่สำคัญก็จะเน้นให้ใหญ่กว่า ยาวกว่า ในขณะเดียวกันหากเด็กเห็นว่าส่วนไหนไม่สำคัญอาจจะตัดทิ้งไป และในบางครั้งก็จะเปลี่ยนแปลงลักษณะไปจากความเป็นจริง เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของตนเอง เช่น ปั้นแขนขาให้ยาวและใหญ่ผิดธรรมดา เพื่อให้รูปปั้นคนแสดงความสามารถหรือทำในสิ่งที่ตนต้องการได้ เช่น เด็กจะปั้นแขนให้มีขนาดใหญ่หรือยาวเพื่อให้หิ้วกระเป๋าได้ หรือปั้นขาให้มีขนาดใหญ่หรือยาวเพื่อเล่นฟุตบอลได้ เป็นต้น
เด็กที่มีอายุมากกว่ามีระดับขั้นการปั้นสูงกว่าเด็กที่มีอายุน้อย เนื่องจากเด็กที่มีอายุมากมีประสบการณ์ความคิดรวมยอดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือประสานกับประสาทตาได้ดีกว่า (เลิศ อานันทนะ. 2535 : 44 - 48) ซึ่งสอดคล้องกับฐิติรัตน์ อัตตะนังค์ (2530 : 65 - 66) ที่กล่าวว่าโดยปกติเด็กที่มีอายุมากกว่าย่อมจะมีประสบการณ์ความคิดรวบยอด ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตามากกว่า จึงส่งผลให้เด็กสามารถปั้นได้ดี และมีระดับขั้นการปั้นสูงกว่า ชิ้นงานปั้นของเด็กที่อายุมากจึงมีรายละเอียดต่างๆ มากกว่า เช่น ลักษณะการปะติด เด็กที่มีอายุมากกว่าจะนำชิ้นงานที่มีจำนวนมากกว่ามาปะติดกัน แบบของการปั้น เด็กที่มีอายุมากกว่าจะปั้นชิ้นงานมีชิ้นเล็กและแสดงรายละเอียดได้มากกว่า เด็กที่มีอายุน้อย และอาจเนื่องจากเด็กที่มีอายุมากกว่าได้รับประสบการณ์รอบๆ ตัว ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เด็กคุ้นเคย หรือประสบการณ์ที่อยู่ใกล้ตัวไปหาประสบการณ์ที่อยู่ไกลตัวได้มากกว่า ซึ่งจะช่วยขยายการเรียนรู้ของเด็กอย่างมีความหมายได้มากขึ้น ผลการวิจัยในครั้งนี้ สนับสนุนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างประสบการณ์ของบุคคลตลอดจนวุฒิภาวะที่สะท้อนออกมาในรูปของผลผลิตที่เป็นรูปธรรม สร้างชิ้นงานออกมาเป็นรูปทรง หรือรูปต่างๆ ที่มีความแตกต่างกัน จึงกล่าวได้ว่าชิ้นงานปั้นของเด็กแต่ละคนเป็นผลงานที่เด็กต้องการ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลไม่ควรนำไปประกวดหรือแข่งขันกันแต่ควรเก็บเป็นแฟ้มสะสมงาน โดยประเมินพัฒนาการเป็นระยะ เพื่อวิเคราะห์ว่าเด็กมีพัฒนาการอยู่ในระดับใด ควรให้ความช่วยเหลือหรือส่งเสริมพัฒนาการเด็กเป็นรายๆ ไป เด็กแต่ละคนอาจพัฒนาเร็วช้าตามวุฒิภาวะเฉพาะตนและสังคมที่แวดล้อม เมื่อเด็กวัยสูงขึ้นพัฒนาการจะสูงขึ้นตามวัย
จากผลการศึกษาและพัฒนาการปั้นของโลเวนเพลด์ เซอร์มาเชอร์ และธัญวรี พวงชาติ เป็นข้อมูลที่จะช่วยให้ผู้ปกครองและครูเข้าใจพัฒนาการปั้นของเด็ก จัดกิจกรรมและแสดงบทบาทได้อย่างเหมาะสมกับวัย และตรวจสอบพัฒนาการของเด็กแต่ละคนกับขั้นตอนพัฒนาการที่กล่าวมา หากพบความปกติจะได้แก้ไขทันท่วงที
2.5 การจัดกิจกรรมการปั้น
ครูและผู้ปกครองสามารถจัดกิจกรรมการปั้นให้แก่เด็กเล่นอย่างมีคุณค่าด้วยสื่อหลากหลายชนิดเช่นการปั้นดินน้ำมัน ดินเหนียว ขี้เลื่อยผสมแป้งเปียก เศษกระดาษผสมกาว แป้งโด เป็นต้น เด็กควรมีโอกาสเล่นปั้นด้วยสื่อที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สื่อแต่ละชนิดจะมีวิธีการจัดกิจกรรมที่แตกต่างกัน ในที่นี้ขอเสนอเฉพาะการจัดกิจกรรมการปั้นที่ใช้สื่อที่ทำจากแป้งเป็นหลักเท่านั้น (ศุภกุล เกียรติสุนทร. 2549 : 87 – 94) ดังมีวิธีการจัดกิจกรรมต่อไปนี้
1. จัดกิจกรรมให้เล่นปั้นบนโต๊ะ และเล่นปั้นบนพื้นได้ทั้งสองแบบแต่ต้องคำนึงถึงความสะดวกในการเล่นและการทำความสะอาด จึงควรปฏิบัติดังนี้
1.1 แบบเล่นปั้นบนโต๊ะพื้นหน้าโต๊ะควรปูหรือหุ้มด้วยวัตถุที่มีผิวมัน เช่น บุด้วยฟอร์เมก้าหรือปูด้วยพลาสติกผิวมันชนิดหนาหรือปูด้วยเสื่อน้ำมันแล้วตรึงให้อยู่กับที่ไม่ให้เลื่อนไปเลื่อนมา
1.2 แบบเล่นปั้นบนพื้น พื้นควรปูด้วยกระเบื้องชนิดผิวมันหรือหินขัด หากพื้นห้องไม่ได้ปูด้วยวัสดุผิวมัน ควรให้เด็กนั่งเล่นบนผ้าพลาสติกผิวมันชนิดหนาหรือปูด้วยเสื่อน้ำมัน
2. จัดหาแผ่นรองปั้นและที่วางผลงาน ซึ่งควรเป็นเสื่อน้ำมันหรือแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดหรือกระดาษแข็งหุ้มด้วยผ้าพลาสติกมันหนาตัดให้ได้ขนาด 30 × 30 เซนติเมตร เพื่อใช้เป็นแผ่นรองเวลาที่เด็กเล่นปั้นและเป็นแผ่นที่วางผลงานของเด็กแต่ละคน
3. ตัดแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแผ่นเล็กสำหรับให้เขียนชื่อตนเองและเขียนชื่อผลงานติดบนแผ่นรองปั้น
4. นำแป้งโดใส่ภาชนะที่เป็นพลาสติกใส มีผ้าชุบน้ำหมาดๆ คลุมมิดชิด
5. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ในการปั้นแป้งให้พร้อมและเพียงพอกับจำนวนของเด็กดังต่อไปนี้
5.1 เศษวัสดุที่เด็กสามารถนำมาตกแต่งผลงานการปั้นตามจินตนาการของตนเองได้ เช่น กิ่งไม้ หลอดดูด เปลือกไข่ กล่องเล็กๆ เป็นต้น
5.2 อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปั้น ได้แก่ ไม้คลึง แบบพิมพ์ขนม ลูกคลึงพลาสติก มีดพลาสติก เป็นต้น
5.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งผลงาน อาจเป็นเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น กรรไกร ปลายมล ส้อม กะชอน เป็นต้น
5.4 อุปกรณ์ประเภทของเล่น ที่ใช้ช่วยส่งเสริมการเล่นปั้นสร้างสรรค์ อุปกรณ์เหล่านี้มีขายเป็นชุด เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดและสร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการสอดคล้องกับชุดของเล่นเด็กจะนำผลงานจากการปั้นมาเล่นสมมติกับอุปกรณ์
6. สำรวจวัสดุ อุปกรณ์ และแป้งโด ที่ใช้ในการทำกิจกรรมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้และมีปริมาณที่เพียงพอกับจำนวนเด็ก
7. ครูและเด็กร่วมกันสร้างกติกาและข้อตกลงจนแน่ใจว่าเด็กเข้าใจก่อนเล่นทุกครั้ง เช่น ครูได้เตรียมแป้งโดอย่างเพียงพอสำหรับเด็กทุกคน เด็กจะต้องดึงแป้งแค่พอใช้ ถ้าไม่พอดึงหรือหยิบเพิ่มได้อีก ส่วนที่เหลือให้อยู่ในภาชนะเดิม แป้งโดควรวางอยู่ตรงกลางโต๊ะ ไม่นำแป้งโดสีหนึ่งไปปะปนกับแป้งโดอีกสีหนึ่ง การใช้วัสดุอุปกรณ์ควรแบ่งให้เพื่อนๆ ถ้าไม่ใช้ให้เก็บไว้ที่เดิม เด็กๆ จะต้องไม่ทำให้พื้นที่หรือโต๊ะเปื้อนเลอะเทอะ เล่นเสร็จแล้วต้องช่วยกันทำความสะอาดและเก็บของเข้าที่ เป็นต้น
8. ขณะที่เด็กเล่นเราควรสังเกตท่าทางและคำพูดของเด็กแต่ละคน เพื่อทำความเข้าใจว่าเด็กคิดอย่างไร มีพฤติกรรมอย่างไร (นิตยา ประพฤติกิจ. 2539 : 116)
9. ถ้าเด็กต้องการความช่วยเหลือ ครูสามารถเข้าช่วยเหลือได้ตามความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก กรณีที่เด็กเล่นปั้นครั้งแรกๆ หรือเด็กมีปัญหาในการปั้นครูอาจร่วมเล่นปั้นกับเด็ก หรือครูสาธิตปั้นให้เด็กดูด้วยความเต็มใจและระมัดระวังไม่ให้ทำแบบหรือตัวอย่างให้เด็กลอก ครูไม่ควรพูดอะไรมากไม่ควรแนะนำให้เด็กทำอย่างโน้นอย่างนี้ ถ้าเด็กถาม “ครูกำลังทำอะไร” ครูตอบว่า “ครูกำลังปั้นตามจินตนาการของครู” เป็นต้น
10. สำหรับเด็กที่มีการปั้นซ้ำๆ ครูควรที่จะขยายประสบการณ์ให้กับเด็กโดยพาเด็กเข้าห้องสมุดอ่านหนังสือภาพเกี่ยวกับการปั้น หรือสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต หรือพาเด็กไปทัศนศึกษา เช่น ครูจัดประสบการณ์หน่วยมด เด็กไปทัศนศึกษาสังเกตความเป็นอยู่ของมด เด็กคนหนึ่งสนใจรังมดจึงวาดรูปมดไว้ จากนั้นเด็กคนนี้ก็เข้าทำกิจกรรมการปั้น
11. ควรหมุนเวียนเปลี่ยนแป้งโดหลายๆชนิด เปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเล่นและวิธีการจัดกิจกรรมการเล่นปั้นให้แปลกใหม่ไม่ซ้ำซาก ถ้าสังเกตพบว่าจำนวนเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมการลดน้อยลงและระยะเวลาในการปั้นสั้นลงแสดงว่าต้องเปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์และวิธีการใหม่เพื่อกระตุ้นความสนใจของเด็ก
12. หลังจากเด็กปั้นเสร็จแล้ว ควรให้เด็กได้แสดงผลงานของตนทุกคน เด็กอาจจะมาเล่าผลงานหน้าชั้นเรียน หากเด็กคนใดยังไม่พอใจผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมา เด็กแสดงความต้องการเก็บไว้ต่อเติมในวันต่อไปครูต้องอนุญาตโดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆคลุม แล้วใช้พลาสติกหุ้มทับอีกชั้นเพื่อป้องกันแป้งโดแห้งก่อนที่จะต่อเติม ครูควรจัดแสดงผลงานเด็กโดยจัดวางตั้งประดับห้องหรือถ่ายภาพไว้ ถ้าต้องการเก็บผลงานไว้นานๆ จะต้องทาทับด้วยน้ำมันแชล็ก
13. ส่งเสริมให้เด็กนำผลงานเดี่ยวๆ ของแต่ละคนมาสร้างเป็นงานกลุ่ม เช่น นำผลงานของเด็กหลายๆชิ้นมาจัดเป็นชุดแล้วแต่งเป็นเรื่องราว แต่งเป็นนิทานร่วมกัน นำมาสนทนาและตั้งชื่อ หรือนำมาจัดลงในกระบะทรายเล่นสมมติเป็นเรื่องราวต่างๆ แล้วเล่าให้เพื่อนๆฟัง จากการวิจัยของ วิจิตรา วิเศษสมบัติ (2539 : 62-65) ซึ่งทำการวิจัยเพื่อศึกษาความพร้อมทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ความคิดรวบยอดประกอบการสนทนาในกิจกรรมการปั้น โดยให้กลุ่มทดลองได้รับการจัดประสบการณ์การความคิดรวบยอดประกอยการสนทนาในกิจกรรมการปั้นให้เด็กบอกคำพ้องเสียงกับสิ่งที่ปั้น สรุปลักษณะของงานที่ปั้น จัดงานเข้าพวก สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับลักษณะของงาน แล้วให้เด็กนำผลงานกลุ่มมาผูกเป็นเรื่อง ส่งตัวแทนมานำเสนอเรื่องและนำผลงานทั้งหมดจัดแสดง ส่วนกลุ่มควบคุมให้ได้รับประสบการณ์การปั้นแบบปกติคือ ให้เด็กทำกิจกรรมแล้วนำผลงานมาตั้งชื่อและให้เด็กอธิบายงานปั้นของตนเอง นำผลงานทั้งหมดไปจัดแสดง ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ผลการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์ความคิดรวบยอดประกอบการสนทนาในกิจกรรมการปั้นมีความพร้อมทางภาษาสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การปั้นแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 จะเห็นได้ว่าการให้เด็กทำกิจกรรมสนทนาระหว่างปั้น การเล่าเรื่องการผูกผลงานหลายๆ ชิ้น เล่าเป็นเรื่องราวหลังจากปั้นเสร็จแล้ว เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ทำให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเพื่อน ช่วยให้พัฒนาการทางสังคมดีขึ้น แล้วยังช่วยให้เด็กได้ถ่ายโยงการเรียนรู้กับกลุ่มเพื่อน ช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็ก รวมทั้งการฝึกให้เด็กเป็นคนกล้าแสดงออกและเชื่อมั่นในตนเองด้วย
กิจกรรมการปั้นแป้งโดเป็นกิจกรรมที่เด็กๆวัยนี้โปรดปรานเพราะแป้งโดมีความอ่อนนุ่มยืดหยุ่น ง่ายต่อการดัดแปลงปั้นแต่งให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการ สีและกลิ่นชวนสัมผัส ครูและผู้ปกครองจึงควรเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและตัดสินใจในการเลือกสื่อวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ครูเพียงทำหน้าที่เตรียมกิจกรรมให้พร้อม อำนวยความสะดวก กระตุ้นหรือจุดประกายความคิด ให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมเมื่อเด็กต้องการ ไม่ทำแบบหรือตัวอย่างให้เด็กลอกตาม และชี้แจงให้เด็กเข้าใจ และทำตามกติกาในการปั้นทุกครั้ง ชื่นชมยินดีกับผลงานทุกชิ้นของเด็กทุกคน
2.4 ลักษณะและพัฒนาการการปั้น
พัฒนาการทางศิลปะมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการการปั้นของเด็ก และแต่ละช่วงอายุของ เด็กปฐมวัยจะมีลักษณะและพัฒนาการการปั้นที่แตกต่างกัน ดังนี้
โลเวนเฟลด์ (lowenfeld. 1957 : 37 - 42) พบว่าเด็กมีขั้นตอนการพัฒนาการทางศิลปะคู่ขนานมากับการพัฒนาการการปั้นจึงแบ่งพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็น 5 ขั้น ในที่นี้จะกล่าวเพราะที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ตรงกับพัฒนาการทางศิลปะขั้นขีดเขี่ย อายุ 2 - 4 ปี ขั้นนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะแรก เด็กอายุประมาณ 2 ปี ถ้าได้ดินเหนียวหรือดินน้ำมันเด็กจะทุบตีโดยไม่มีความหมาย
ระยะที่สองเด็กอายุประมาณ 3 ปีเด็กจะเริ่มดึงดินออกมาเป็นชิ้นๆ บางครั้งดึงออกแล้วออกทิ้งไป บางครั้งดูชิ้นดินที่ดึงออกมาซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กัน
ระยะที่สาม เด็กอายุประมาณ 4 ปี เด็กมักจะชูดินที่ตนเล่นอยู่นั้น พร้อมกับพูดว่า “นี่เรือบิน นี่รถไฟ” ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามความคิดคำนึงของเด็กตรงกับระยะที่เด็กชอบตั้งชื่อรอยขีดเขี่ยของตน
ขั้นที่ 2 ตรงกับพัฒนาการทางศิลปะขั้นเริ่มต้นการเขียนภาพให้มีความหมาย อายุ 4 - 7 ปี ในขั้นนี้เด็กกำลังแสวงหาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับรูปลักษณะในการปั้นรูปคนเด็กจะดึงส่วนที่ยื่นออกมา เช่น จมูก แขน ขา ออกจากดินก้อนใหญ่โดยไม่คำนึงถึงรูปลักษณะของจมูก แขน ขา เหล่านั้นมากกว่าการได้จับถือก้อนดินของตน และติดส่วนนั้นกับดินก้อนใหญ่ที่สมมติว่าเป็นลำตัวโดยไม่ตกแต่งให้ดีขึ้น
เซอร์มาเชอร์ (Schirrmacher. 1988 : 263-264) ผู้คนพบว่า การเขียนมีความสัมพันธ์เกี่ยวของกับพัฒนาการการวาดภาพ การระบายสี และการปั้น จึงสรุปพัฒนาการการปั้นเป็น 4 ขั้นดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ดินเหนียวคืออะไร เด็กอายุ 2 ปี จะเกิดประสบการณ์จากการทดลองคุณสมบัติของดินเหนียว โดยการใช้ประสาทสัมผัสการมอง การจับ การดมกลิ่น การเลีย การชิมและการฟังเสียงที่เกิดจากการเล่นดินเหนียว เด็กๆ จะทิ้งขว้าง หรือจับดินเหนียวโยนให้มันกระเด้งหรือติดบนผิวหนัง เด็กๆ ไม่สนใจจะทำสิ่งอื่น นอกเหนือจากการใช้ประสาทสัมผัสและมีคำพูดง่ายๆ สั้นๆที่สัมพันธ์กับประสบการณ์การสัมผัสดินเหนียว เช่น เหนียว นิ่ม เป็นต้น
ขั้น 2 ฉันสามารถทำอะไรกับดินเหนียว จากขั้นแรกจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่ 2 เด็กอายุ 3 ปี จะทำงานเป็นระบบมากขึ้น โดยกระบวนการต่างๆ คล้ายนักวิทยาศาสตร์ มีการทดสอบดินเหนียวด้วยการม้วน หยิก ฉีก ดึง และแทงให้เป็นรู โดยใช้ร่างกายในการตรวจสอบคุณสมบัติของดินเหนียว ในขั้นนี้เด็กไม่มีความละเอียดรอบคอบ จะพบวิธีการปั้นเป็นรูปร่างต่างๆ โดยบังเอิญ เช่น ลูกบอลเล็กๆ ขนมเค้ก งู เป็นต้น เด็กจะทำพฤติกรรมการปั้นชิ้นงานซ้ำๆ หลายครั้ง
ขั้นที่ 3 มองดูซิฉันทำอะไร เด็กอายุ 4 ปี ใช้ความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบและปั้น ดินเหนียว เด็กจะนำลูกบอลมาวางบนส่วนยอดของสิ่งอื่น ๆ เด็กจะทำดินเหนียวให้แบนหรือม้วนเป็นรูปร่างใหม่ จะมีการปั้นดินเหนียวให้มีรูด้วยการดึงออก เด็กจะใช้สัญลักษณ์และการพูดเกี่ยวกับสิ่งที่ปั้น เช่น ในขั้นที่ 2 เด็กอาจใช้การแทงให้เป็นรู และเมื่ออยู่ในขั้นที่ 3 เด็กอาจจะแทงรูให้เป็น 3 รูและเรียกงานปั้นชิ้นนั้นว่าใบหน้า ผลงานจะได้ไม่สมบูรณ์และเรียบๆ เด็กจะมีจินตนาการกับชั้นงาน เช่น ลูกบอลที่ขดเป็นงู เด็กจะพูดว่า “งูกำลังจ้องมองคุณ และจะพาเลื้อยไปรอบๆ โต๊ะส่งเสียงขู่ฟ่อๆ และกัด เด็กๆ ในขั้นนี้ผลงานจะมีความสมบูรณ์ ผู้อื่นอาจจะไม่รู้ว่าผลงานนั้นคืออะไร
ขั้นที่ 4 ฉันรู้ว่าต้องไปทำอะไรกับดินเหนียวของฉัน เด็กอายุ 5 ปี มีการปั้นดินเหนียวที่ก้าวหน้า มีความคิดใหม่ๆ มีการตั้งชื่อผลงาน และภูมิใจในแบบผลงานของตนเอง เด็กต้องการกระบวนการหรือวิธีการที่เหมาะสม สามารถอธิบายขั้นตอนและผลงานได้ ผลงานจะพิสูจน์ให้เห็นข้อเท็จจริงที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของคนอื่นๆ เด็กในขั้นนี้จะรู้ว่าดินที่ปั้นเป็นอาหารหรืองู เป็นเพียงสัญลักษณ์หรือรูปแบบ และไม่ใช่สิ่งของจริงๆ ไม่ใช่อาหารรับประทานไม่ได้ จะสนุกกับรายละเอียดในการปั้นโดยใช้เครื่องมือและวัสดุอื่นๆ ตกแต่งผลงาน เช่นกระดุม และไม้จิ้มฟัน เป็นต้น
ธัญวลี พวงชาติ (2545 : 38 – 41) ได้ศึกษาพัฒนาการการปั้นของเด็กไทยอายุ 3 - 5 ปี ที่ศึกษาโรงเรียนสาธิตสังกัดสถาบันราชภัฎทั่วประเทศแล้วพบว่า
1. เด็กอายุ 3 ปี มีระดับขั้นการปั้นอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการปั้น เด็กส่วนใหญ่จะสร้างผลงานที่มีลักษณะเป็นชิ้นงาน เป็นก้อน ไม่มีการปะติดกันในการวางชิ้นงาน ชิ้นงานจะเป็นชิ้นเดี่ยวๆ เกิดจากการดึงออกเป็นชิ้นๆ หรือการสับหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เด็กจะดึงแป้งโดออกเป็นชิ้นหรือใช้มีดสับหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งชิ้นงานนั้นจะมีลักษณะคล้ายๆ กัน ชิ้นงานแต่ละชิ้นจะแสดงรายละเอียด 1 - 2 อย่าง ซึ่งสอดคล้องกับโลเวนเฟลด์ (Lowenfeld. 1957 : 33 - 39) และเซอร์มาเชอร์ (Schirrmacher. 1988 : 236 - 237) ที่กล่าวว่าเด็กอายุ 3 ปี จะไม่สามารถปั้นเป็นรูปร่างที่มองเห็นและเข้าใจได้ เพราะยังควบคุมกล้ามเนื้อมือและแขนได้ไม่ดี ผลงานของเด็กในวัยนี้จึงเป็นเรื่องราวตามความรู้สึกของตน ชิ้นงานของเด็กส่วนใหญ่เป็นชิ้นงานที่มีลักษณะนูนสูงคือ ปั้นชิ้นงานที่มองเห็นสองด้านเป็นสองมิติ เด็กจะใช้วิธีวาง ดึง หรือกดแป้งลงบนแผ่นพลาสติกจึงไม่มีการดึงออก เป็นส่วนประกอบย่อยหรือเพิ่มส่วนประกอบย่อยชิ้นเล็กๆ เข้าไป แบบของการปั้นจึงไม่สามารถจัดเป็นการปั้นแบบวิเคราะห์หรือแบบสังเคราะห์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับเซอร์มาเชอร์ (Schirrmacher. 1988 : 236 - 237) ที่กล่าวว่าเด็กอายุ 3 ปี ใช้ประสาทสัมผัส การมอง การดมกลิ่น ใช้กายสัมผัส และเด็กบางคนก็จะใช้ลิ้นชิมรส หรือการฟังเสียง
2. เด็กอายุ 4 ปี มีระดับการปั้นขั้นที่ 2 เป็นการปั้นอย่างมีความหมาย เด็กจะเริ่มรวบรวมรูปแบบต่างๆ ในการปั้นมาใช้ประกอบกันเพื่อให้เกิดเป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เด็กในวัยนี้จะควบคุมกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น และเป็นวัยแห่งการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการรวบรวมรูปแบบต่างๆ ของการปั้นมาทดลองใช้ และเด็กเริ่มพัฒนาความคิดริเริ่มในการสร้างงานมากขึ้น (Schirrmacher. 1988 : 236 - 237) เด็กส่วนใหญ่จะสร้างผลงานที่มีลักษณะเป็นชิ้น เป็นก้อน 2 ชิ้น หรือมากกว่ามาปะติดกัน ในการจัดวางชิ้นงานซึ่งสอดคล้องกับชัยณรงค์ เจริญพานิชย์กูล (2533 : 84) ที่กล่าวว่าเด็กอายุ 4 ปี จะปั้นเป็นรูปทรงเฉพาะโดยวิธีการเพิ่มเข้ามากกว่าดึงออก ส่วนใหญ่เป็นการปั้นแบบสังเคราะห์ซึ่งเด็กจะปั้นชิ้นส่วนย่อย แล้วนำมาติดกับชิ้นงานส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นก่อน ตัวอย่างเช่น เด็กจะปั้นลำตัวคน แล้วนำแขน ขา มาติด เด็กจะปั้นลำต้นของต้นไม้ แล้วนำกิ่ง ก้าน ดอก ผล มาติด เด็กจะปั้นลำตัวของสัตว์ แล้วนำ ขา หู ตา มาติด เด็กจะปั้นลำตัวเครื่องบิน แล้วนำปีก ใบพัด มาติด เป็นต้น และนอกจากนี้เด็กอายุ 4 ปี จะปั้นแบบสังเคราะห์มากกว่าการปั้นแบบวิเคราะห์ ชิ้นงานจะมีลักษณะเป็นก้อนเป็นแท่งใหญ่ๆ โดยมีรายละเอียดของชิ้นงานซับซ้อนขึ้น ซึ่งมาเยสกี้กล่าวว่าเด็กที่ปั้นแบบวิเคราะห์แสดงว่า เด็กมีความคิดส่วนย่อยมากกว่าส่วนรวม และต่อมาจะนึกถึงความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนประกอบว่ามีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกันอย่างไร (Mayesky. 1998 : 156 - 157) ชิ้นงานปั้น ส่วนใหญ่จึงเป็นการปั้นแบบสังเคราะห์
3. เด็กอายุ 5 ปี มีระดับขั้นการปั้นอย่างสร้างสรรค์ เด็กวัยนี้เป็นวัยที่ต้องการเพิ่มรายละเอียดชิ้นงานปั้นของตนด้วยสื่อวัสดุต่างๆ เพื่อให้ชิ้นงานนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เด็กอายุ 5 ปี ส่วนใหญ่จะปั้นชิ้นงานชิ้นเล็กๆมาปะติดตกแต่งให้มีรายละเอียดมากขึ้น ชิ้นงานส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการจัดกระทำกับวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ปั้นในหลายๆ วิธี โดยมีจุดมุ่งหมายพิเศษหรือการวางแผนว่าจะปั้นอะไรไว้ล่วงหน้า ส่วนใหญ่เป็นการปั้นแบบสังเคราะห์มากกว่าแบบวิเคราะห์ ซึ่งเด็กจะปั้นชิ้นส่วนย่อย แล้วนำชิ้นส่วนย่อยมาติดกับชิ้นส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นมาแล้ว ซึ่งมาเยสกี้ และคนอื่นๆ กล่าวว่า เด็กที่ปั้นแบบสังเคราะห์แสดงให้เห็นว่า เด็กมีความคิดถึงส่วนย่อยก่อนส่วนรวมเมื่อเด็กปั้นเด็กจะคิดก่อนว่าสิ่งที่ปั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้างและต่อมาจะนึกถึงความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนประกอบว่ามีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกันอย่างไร แล้วจึงต่อเข้าด้วยกันเป็นส่วนรวม (Mayesky. 1998 : 156 - 157) ชิ้นงานปั้น ส่วนใหญ่จึงเป็นการปั้นแบบลอยตัวสามารถมองเห็นได้รอบด้าน ด้านหน้า - หลัง ด้านบน - ล่าง และด้านข้าง เช่น เด็กผู้หญิงจะปั้นกระทงที่มีหลายชั้นมีดอกไม้เล็กๆ ธูปเทียน เด็กผู้ชายปั้นเสือที่อยู่ในกรงและข้างๆ กรงมีต้นไม้และมีอ่างน้ำ ซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นเพื่อให้เรื่องราวที่เด็กเล่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งฐิติรัตน์ อัตตะนังค์ (2530 : 65 - 66) กล่าวว่าการปั้นของเด็กในวัยนี้จะเริ่มมีเส้นหรือสัณฐาน เพื่อเชื่อมโยงสีต่างๆ ที่เด็กปั้น เช่น เด็กปั้นคนก็จะทำพื้นดินให้คนยืนอยู่ด้วย เด็กปั้นบ้านก็จะทำถนนหรือพื้นดินหน้าบ้านให้รถวิ่ง เด็กในวัยนี้หากเห็นว่าส่วนประกอบหรือส่วนของอวัยวะใดๆ ที่สำคัญก็จะเน้นให้ใหญ่กว่า ยาวกว่า ในขณะเดียวกันหากเด็กเห็นว่าส่วนไหนไม่สำคัญอาจจะตัดทิ้งไป และในบางครั้งก็จะเปลี่ยนแปลงลักษณะไปจากความเป็นจริง เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของตนเอง เช่น ปั้นแขนขาให้ยาวและใหญ่ผิดธรรมดา เพื่อให้รูปปั้นคนแสดงความสามารถหรือทำในสิ่งที่ตนต้องการได้ เช่น เด็กจะปั้นแขนให้มีขนาดใหญ่หรือยาวเพื่อให้หิ้วกระเป๋าได้ หรือปั้นขาให้มีขนาดใหญ่หรือยาวเพื่อเล่นฟุตบอลได้ เป็นต้น
เด็กที่มีอายุมากกว่ามีระดับขั้นการปั้นสูงกว่าเด็กที่มีอายุน้อย เนื่องจากเด็กที่มีอายุมากมีประสบการณ์ความคิดรวมยอดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือประสานกับประสาทตาได้ดีกว่า (เลิศ อานันทนะ. 2535 : 44 - 48) ซึ่งสอดคล้องกับฐิติรัตน์ อัตตะนังค์ (2530 : 65 - 66) ที่กล่าวว่าโดยปกติเด็กที่มีอายุมากกว่าย่อมจะมีประสบการณ์ความคิดรวบยอด ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตามากกว่า จึงส่งผลให้เด็กสามารถปั้นได้ดี และมีระดับขั้นการปั้นสูงกว่า ชิ้นงานปั้นของเด็กที่อายุมากจึงมีรายละเอียดต่างๆ มากกว่า เช่น ลักษณะการปะติด เด็กที่มีอายุมากกว่าจะนำชิ้นงานที่มีจำนวนมากกว่ามาปะติดกัน แบบของการปั้น เด็กที่มีอายุมากกว่าจะปั้นชิ้นงานมีชิ้นเล็กและแสดงรายละเอียดได้มากกว่า เด็กที่มีอายุน้อย และอาจเนื่องจากเด็กที่มีอายุมากกว่าได้รับประสบการณ์รอบๆ ตัว ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เด็กคุ้นเคย หรือประสบการณ์ที่อยู่ใกล้ตัวไปหาประสบการณ์ที่อยู่ไกลตัวได้มากกว่า ซึ่งจะช่วยขยายการเรียนรู้ของเด็กอย่างมีความหมายได้มากขึ้น ผลการวิจัยในครั้งนี้ สนับสนุนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างประสบการณ์ของบุคคลตลอดจนวุฒิภาวะที่สะท้อนออกมาในรูปของผลผลิตที่เป็นรูปธรรม สร้างชิ้นงานออกมาเป็นรูปทรง หรือรูปต่างๆ ที่มีความแตกต่างกัน จึงกล่าวได้ว่าชิ้นงานปั้นของเด็กแต่ละคนเป็นผลงานที่เด็กต้องการ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลไม่ควรนำไปประกวดหรือแข่งขันกันแต่ควรเก็บเป็นแฟ้มสะสมงาน โดยประเมินพัฒนาการเป็นระยะ เพื่อวิเคราะห์ว่าเด็กมีพัฒนาการอยู่ในระดับใด ควรให้ความช่วยเหลือหรือส่งเสริมพัฒนาการเด็กเป็นรายๆ ไป เด็กแต่ละคนอาจพัฒนาเร็วช้าตามวุฒิภาวะเฉพาะตนและสังคมที่แวดล้อม เมื่อเด็กวัยสูงขึ้นพัฒนาการจะสูงขึ้นตามวัย
จากผลการศึกษาและพัฒนาการปั้นของโลเวนเพลด์ เซอร์มาเชอร์ และธัญวรี พวงชาติ เป็นข้อมูลที่จะช่วยให้ผู้ปกครองและครูเข้าใจพัฒนาการปั้นของเด็ก จัดกิจกรรมและแสดงบทบาทได้อย่างเหมาะสมกับวัย และตรวจสอบพัฒนาการของเด็กแต่ละคนกับขั้นตอนพัฒนาการที่กล่าวมา หากพบความปกติจะได้แก้ไขทันท่วงที
2.5 การจัดกิจกรรมการปั้น
ครูและผู้ปกครองสามารถจัดกิจกรรมการปั้นให้แก่เด็กเล่นอย่างมีคุณค่าด้วยสื่อหลากหลายชนิดเช่นการปั้นดินน้ำมัน ดินเหนียว ขี้เลื่อยผสมแป้งเปียก เศษกระดาษผสมกาว แป้งโด เป็นต้น เด็กควรมีโอกาสเล่นปั้นด้วยสื่อที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สื่อแต่ละชนิดจะมีวิธีการจัดกิจกรรมที่แตกต่างกัน ในที่นี้ขอเสนอเฉพาะการจัดกิจกรรมการปั้นที่ใช้สื่อที่ทำจากแป้งเป็นหลักเท่านั้น (ศุภกุล เกียรติสุนทร. 2549 : 87 – 94) ดังมีวิธีการจัดกิจกรรมต่อไปนี้
1. จัดกิจกรรมให้เล่นปั้นบนโต๊ะ และเล่นปั้นบนพื้นได้ทั้งสองแบบแต่ต้องคำนึงถึงความสะดวกในการเล่นและการทำความสะอาด จึงควรปฏิบัติดังนี้
1.1 แบบเล่นปั้นบนโต๊ะพื้นหน้าโต๊ะควรปูหรือหุ้มด้วยวัตถุที่มีผิวมัน เช่น บุด้วยฟอร์เมก้าหรือปูด้วยพลาสติกผิวมันชนิดหนาหรือปูด้วยเสื่อน้ำมันแล้วตรึงให้อยู่กับที่ไม่ให้เลื่อนไปเลื่อนมา
1.2 แบบเล่นปั้นบนพื้น พื้นควรปูด้วยกระเบื้องชนิดผิวมันหรือหินขัด หากพื้นห้องไม่ได้ปูด้วยวัสดุผิวมัน ควรให้เด็กนั่งเล่นบนผ้าพลาสติกผิวมันชนิดหนาหรือปูด้วยเสื่อน้ำมัน
2. จัดหาแผ่นรองปั้นและที่วางผลงาน ซึ่งควรเป็นเสื่อน้ำมันหรือแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดหรือกระดาษแข็งหุ้มด้วยผ้าพลาสติกมันหนาตัดให้ได้ขนาด 30 × 30 เซนติเมตร เพื่อใช้เป็นแผ่นรองเวลาที่เด็กเล่นปั้นและเป็นแผ่นที่วางผลงานของเด็กแต่ละคน
3. ตัดแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแผ่นเล็กสำหรับให้เขียนชื่อตนเองและเขียนชื่อผลงานติดบนแผ่นรองปั้น
4. นำแป้งโดใส่ภาชนะที่เป็นพลาสติกใส มีผ้าชุบน้ำหมาดๆ คลุมมิดชิด
5. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ในการปั้นแป้งให้พร้อมและเพียงพอกับจำนวนของเด็กดังต่อไปนี้
5.1 เศษวัสดุที่เด็กสามารถนำมาตกแต่งผลงานการปั้นตามจินตนาการของตนเองได้ เช่น กิ่งไม้ หลอดดูด เปลือกไข่ กล่องเล็กๆ เป็นต้น
5.2 อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปั้น ได้แก่ ไม้คลึง แบบพิมพ์ขนม ลูกคลึงพลาสติก มีดพลาสติก เป็นต้น
5.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งผลงาน อาจเป็นเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น กรรไกร ปลายมล ส้อม กะชอน เป็นต้น
5.4 อุปกรณ์ประเภทของเล่น ที่ใช้ช่วยส่งเสริมการเล่นปั้นสร้างสรรค์ อุปกรณ์เหล่านี้มีขายเป็นชุด เพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดและสร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการสอดคล้องกับชุดของเล่นเด็กจะนำผลงานจากการปั้นมาเล่นสมมติกับอุปกรณ์
6. สำรวจวัสดุ อุปกรณ์ และแป้งโด ที่ใช้ในการทำกิจกรรมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้และมีปริมาณที่เพียงพอกับจำนวนเด็ก
7. ครูและเด็กร่วมกันสร้างกติกาและข้อตกลงจนแน่ใจว่าเด็กเข้าใจก่อนเล่นทุกครั้ง เช่น ครูได้เตรียมแป้งโดอย่างเพียงพอสำหรับเด็กทุกคน เด็กจะต้องดึงแป้งแค่พอใช้ ถ้าไม่พอดึงหรือหยิบเพิ่มได้อีก ส่วนที่เหลือให้อยู่ในภาชนะเดิม แป้งโดควรวางอยู่ตรงกลางโต๊ะ ไม่นำแป้งโดสีหนึ่งไปปะปนกับแป้งโดอีกสีหนึ่ง การใช้วัสดุอุปกรณ์ควรแบ่งให้เพื่อนๆ ถ้าไม่ใช้ให้เก็บไว้ที่เดิม เด็กๆ จะต้องไม่ทำให้พื้นที่หรือโต๊ะเปื้อนเลอะเทอะ เล่นเสร็จแล้วต้องช่วยกันทำความสะอาดและเก็บของเข้าที่ เป็นต้น
8. ขณะที่เด็กเล่นเราควรสังเกตท่าทางและคำพูดของเด็กแต่ละคน เพื่อทำความเข้าใจว่าเด็กคิดอย่างไร มีพฤติกรรมอย่างไร (นิตยา ประพฤติกิจ. 2539 : 116)
9. ถ้าเด็กต้องการความช่วยเหลือ ครูสามารถเข้าช่วยเหลือได้ตามความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก กรณีที่เด็กเล่นปั้นครั้งแรกๆ หรือเด็กมีปัญหาในการปั้นครูอาจร่วมเล่นปั้นกับเด็ก หรือครูสาธิตปั้นให้เด็กดูด้วยความเต็มใจและระมัดระวังไม่ให้ทำแบบหรือตัวอย่างให้เด็กลอก ครูไม่ควรพูดอะไรมากไม่ควรแนะนำให้เด็กทำอย่างโน้นอย่างนี้ ถ้าเด็กถาม “ครูกำลังทำอะไร” ครูตอบว่า “ครูกำลังปั้นตามจินตนาการของครู” เป็นต้น
10. สำหรับเด็กที่มีการปั้นซ้ำๆ ครูควรที่จะขยายประสบการณ์ให้กับเด็กโดยพาเด็กเข้าห้องสมุดอ่านหนังสือภาพเกี่ยวกับการปั้น หรือสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต หรือพาเด็กไปทัศนศึกษา เช่น ครูจัดประสบการณ์หน่วยมด เด็กไปทัศนศึกษาสังเกตความเป็นอยู่ของมด เด็กคนหนึ่งสนใจรังมดจึงวาดรูปมดไว้ จากนั้นเด็กคนนี้ก็เข้าทำกิจกรรมการปั้น
11. ควรหมุนเวียนเปลี่ยนแป้งโดหลายๆชนิด เปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเล่นและวิธีการจัดกิจกรรมการเล่นปั้นให้แปลกใหม่ไม่ซ้ำซาก ถ้าสังเกตพบว่าจำนวนเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมการลดน้อยลงและระยะเวลาในการปั้นสั้นลงแสดงว่าต้องเปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์และวิธีการใหม่เพื่อกระตุ้นความสนใจของเด็ก
12. หลังจากเด็กปั้นเสร็จแล้ว ควรให้เด็กได้แสดงผลงานของตนทุกคน เด็กอาจจะมาเล่าผลงานหน้าชั้นเรียน หากเด็กคนใดยังไม่พอใจผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมา เด็กแสดงความต้องการเก็บไว้ต่อเติมในวันต่อไปครูต้องอนุญาตโดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆคลุม แล้วใช้พลาสติกหุ้มทับอีกชั้นเพื่อป้องกันแป้งโดแห้งก่อนที่จะต่อเติม ครูควรจัดแสดงผลงานเด็กโดยจัดวางตั้งประดับห้องหรือถ่ายภาพไว้ ถ้าต้องการเก็บผลงานไว้นานๆ จะต้องทาทับด้วยน้ำมันแชล็ก
13. ส่งเสริมให้เด็กนำผลงานเดี่ยวๆ ของแต่ละคนมาสร้างเป็นงานกลุ่ม เช่น นำผลงานของเด็กหลายๆชิ้นมาจัดเป็นชุดแล้วแต่งเป็นเรื่องราว แต่งเป็นนิทานร่วมกัน นำมาสนทนาและตั้งชื่อ หรือนำมาจัดลงในกระบะทรายเล่นสมมติเป็นเรื่องราวต่างๆ แล้วเล่าให้เพื่อนๆฟัง จากการวิจัยของ วิจิตรา วิเศษสมบัติ (2539 : 62-65) ซึ่งทำการวิจัยเพื่อศึกษาความพร้อมทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ความคิดรวบยอดประกอบการสนทนาในกิจกรรมการปั้น โดยให้กลุ่มทดลองได้รับการจัดประสบการณ์การความคิดรวบยอดประกอยการสนทนาในกิจกรรมการปั้นให้เด็กบอกคำพ้องเสียงกับสิ่งที่ปั้น สรุปลักษณะของงานที่ปั้น จัดงานเข้าพวก สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับลักษณะของงาน แล้วให้เด็กนำผลงานกลุ่มมาผูกเป็นเรื่อง ส่งตัวแทนมานำเสนอเรื่องและนำผลงานทั้งหมดจัดแสดง ส่วนกลุ่มควบคุมให้ได้รับประสบการณ์การปั้นแบบปกติคือ ให้เด็กทำกิจกรรมแล้วนำผลงานมาตั้งชื่อและให้เด็กอธิบายงานปั้นของตนเอง นำผลงานทั้งหมดไปจัดแสดง ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ผลการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์ความคิดรวบยอดประกอบการสนทนาในกิจกรรมการปั้นมีความพร้อมทางภาษาสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การปั้นแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 จะเห็นได้ว่าการให้เด็กทำกิจกรรมสนทนาระหว่างปั้น การเล่าเรื่องการผูกผลงานหลายๆ ชิ้น เล่าเป็นเรื่องราวหลังจากปั้นเสร็จแล้ว เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ทำให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเพื่อน ช่วยให้พัฒนาการทางสังคมดีขึ้น แล้วยังช่วยให้เด็กได้ถ่ายโยงการเรียนรู้กับกลุ่มเพื่อน ช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็ก รวมทั้งการฝึกให้เด็กเป็นคนกล้าแสดงออกและเชื่อมั่นในตนเองด้วย
กิจกรรมการปั้นแป้งโดเป็นกิจกรรมที่เด็กๆวัยนี้โปรดปรานเพราะแป้งโดมีความอ่อนนุ่มยืดหยุ่น ง่ายต่อการดัดแปลงปั้นแต่งให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการ สีและกลิ่นชวนสัมผัส ครูและผู้ปกครองจึงควรเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและตัดสินใจในการเลือกสื่อวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ครูเพียงทำหน้าที่เตรียมกิจกรรมให้พร้อม อำนวยความสะดวก กระตุ้นหรือจุดประกายความคิด ให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมเมื่อเด็กต้องการ ไม่ทำแบบหรือตัวอย่างให้เด็กลอกตาม และชี้แจงให้เด็กเข้าใจ และทำตามกติกาในการปั้นทุกครั้ง ชื่นชมยินดีกับผลงานทุกชิ้นของเด็กทุกคน
2.6 วิธีทำแป้งโด
แป้งโดเป็นสื่อที่ใช้ในการเล่นปั้นที่โปรดปรานของเด็กๆ การทำแป้งโดมีหลายสูตร แต่ละสูตรจะมีส่วนผสมในการทำที่แตกต่างกัน จึงทำให้แป้งโดที่ได้มีเนื้อแข็งและนิ่ม หยาบและละเอียด กลิ่นและสี ที่แตกต่างกันด้วย การที่เด็กได้เล่นแป้งโดเหล่านี้ย่อมส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของเด็ก เด็กกลุ่มนี้ย่อมได้รับการพัฒนาประสาทสัมผัสหลายทางกว่าเด็กที่เล่นแป้งโดที่ทำจากสูตรเดียวกันตลอดเวลา นอกจากนี้ถ้าผู้ใหญ่เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำแป้งโดและฝึกให้เด็กสังเกต เปรียบเทียบ แยกแยะ เนื้อกลิ่นสีของแป้งโดแต่ละชนิดจะเป็นการขยายประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กๆ แป้งโดที่มีสูตรการทำง่ายๆ เด็กสามารถทำใช้เอง บางสูตรอาจซับซ้อนผู้ใหญ่กับเด็กอาจทำร่วมกัน (ศุภกุล เกียรติสุนทร. 2549 : 94) ดังต่อไปนี้
1. แป้งโดกลิ่นสีธรรมชาติ
1.1 ส่วนผสม
แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง
ครีมออฟทาทา 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมัน 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือ ½ ถ้วยตวง
น้ำที่ผสมกลิ่นดอกไม้หรือใบไม้แล้ว 2 ถ้วยตวง
1.2 วิธีทำ
1.2.1 นำใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ ผักต่างๆ เช่น ใบเตย ดอกอัญชัน ผลส้ม คะน้า มาคั้นแล้วกรองเอาแต่น้ำ หรือจะใช้ผงโอวัลติน ผงชอคโกแลต มาผสมน้ำ
1.2.2 นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมกัน คนด้วยไม้พายในทิศทางและระดับความเร็วเดียวกันจนแป้งไม่จับกันเป็นก้อน
1.2.3 นำไปตั้งไฟพร้อมทั้งคนไปเรื่อยๆ ลดความร้อนของเตาลงจนแป้งสุก
1.2.4 นำแป้งสุกแล้วมานวดจนเนื้อแป้งมีความยืดหยุ่น
1.2.5 ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ถุงพลาสติกและเก็บไว้ในตู้เย็น
2. แป้งโดชนิดนิ่ม
2.1 ส่วนผสม
แป้งสาลีตราปิระมิด ½ ถ้วย
น้ำมันพืชกลั่นสีแล้ว ¼ ถ้วย
2.2 วิธีทำ
2.2.1 นำส่วนผสมทั้งหมดผสมกัน แล้วนวดจนแป้งรวมตัวกัน ถ้าแข็งเกินไปเติมน้ำได้อีกเล็กน้อย
2.2.2 ปั้นเป็นก้อนกลม ใส่ถุงพลาสติกและเก็บไว้ในตู้เย็น
3. แป้งโดแชมพู
3.1 ส่วนผสม
แป้งสาลีตราว่าว ¾ ถ้วยตวงและ 7 ช้อนโต๊ะ
กาวน้ำ ¼ ถ้วย
แป้งโดเป็นสื่อที่ใช้ในการเล่นปั้นที่โปรดปรานของเด็กๆ การทำแป้งโดมีหลายสูตร แต่ละสูตรจะมีส่วนผสมในการทำที่แตกต่างกัน จึงทำให้แป้งโดที่ได้มีเนื้อแข็งและนิ่ม หยาบและละเอียด กลิ่นและสี ที่แตกต่างกันด้วย การที่เด็กได้เล่นแป้งโดเหล่านี้ย่อมส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของเด็ก เด็กกลุ่มนี้ย่อมได้รับการพัฒนาประสาทสัมผัสหลายทางกว่าเด็กที่เล่นแป้งโดที่ทำจากสูตรเดียวกันตลอดเวลา นอกจากนี้ถ้าผู้ใหญ่เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำแป้งโดและฝึกให้เด็กสังเกต เปรียบเทียบ แยกแยะ เนื้อกลิ่นสีของแป้งโดแต่ละชนิดจะเป็นการขยายประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กๆ แป้งโดที่มีสูตรการทำง่ายๆ เด็กสามารถทำใช้เอง บางสูตรอาจซับซ้อนผู้ใหญ่กับเด็กอาจทำร่วมกัน (ศุภกุล เกียรติสุนทร. 2549 : 94) ดังต่อไปนี้
1. แป้งโดกลิ่นสีธรรมชาติ
1.1 ส่วนผสม
แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง
ครีมออฟทาทา 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมัน 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือ ½ ถ้วยตวง
น้ำที่ผสมกลิ่นดอกไม้หรือใบไม้แล้ว 2 ถ้วยตวง
1.2 วิธีทำ
1.2.1 นำใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ ผักต่างๆ เช่น ใบเตย ดอกอัญชัน ผลส้ม คะน้า มาคั้นแล้วกรองเอาแต่น้ำ หรือจะใช้ผงโอวัลติน ผงชอคโกแลต มาผสมน้ำ
1.2.2 นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมกัน คนด้วยไม้พายในทิศทางและระดับความเร็วเดียวกันจนแป้งไม่จับกันเป็นก้อน
1.2.3 นำไปตั้งไฟพร้อมทั้งคนไปเรื่อยๆ ลดความร้อนของเตาลงจนแป้งสุก
1.2.4 นำแป้งสุกแล้วมานวดจนเนื้อแป้งมีความยืดหยุ่น
1.2.5 ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ถุงพลาสติกและเก็บไว้ในตู้เย็น
2. แป้งโดชนิดนิ่ม
2.1 ส่วนผสม
แป้งสาลีตราปิระมิด ½ ถ้วย
น้ำมันพืชกลั่นสีแล้ว ¼ ถ้วย
2.2 วิธีทำ
2.2.1 นำส่วนผสมทั้งหมดผสมกัน แล้วนวดจนแป้งรวมตัวกัน ถ้าแข็งเกินไปเติมน้ำได้อีกเล็กน้อย
2.2.2 ปั้นเป็นก้อนกลม ใส่ถุงพลาสติกและเก็บไว้ในตู้เย็น
3. แป้งโดแชมพู
3.1 ส่วนผสม
แป้งสาลีตราว่าว ¾ ถ้วยตวงและ 7 ช้อนโต๊ะ
กาวน้ำ ¼ ถ้วย
สีผสมอาหารชนิดผง
แชมพูสระผม ¼ ถ้วย
3.2 วิธีทำ
3.2.1 นำแป้ง กาวน้ำ แชมพูสระผมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3.2.2 นวดไปเรื่อยๆ พร้อมทั้งเติมแป้งครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะจนครบ 7 ช้อนโต๊ะ
3.2.3 ใส่สีผสมอาหารและนวดต่อจนมีความยืดหยุ่น ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ถุงพลาสติกแล้วเก็บในตู้เย็น
4. ขนมปังแป้งโด
4.1 ส่วนผสม
ขนมปังแผ่นตัดขอบแล้ว 8 ชิ้น
กาวน้ำ ½ ถ้วยตวง
แป้งสาลีตราว่าว ½ ถ้วยตวง
4.2 วิธีทำ
4.2.1 ฉีกขนมปังเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับกาวน้ำขยำให้เข้ากันจนเหนียว
4.2.2 ใส่แป้งและสีผสมอาหารขยำและนวดจนมีความยืดหยุ่น
4.2.3 ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ถุงพลาสติกแล้วเก็บใส่ตู้เย็น
5. ลูกโป่งแป้งโด
5.1 วัสดุ
แป้งสาลี หรือแป้งมัน ลูกโป่งเนื้อหนา
5.2 วิธีทำ
5.2.1 นำแป้งสาลีหรือแป้งมันบรรจุลงในลูกโป่ง
5.2.2 ไล่อากาศออกแล้วผูกปากลูกโป่งให้แน่น
5.2.3 ปั้นลูกโป่งเป็นก้อนกลมใส่ถุงพลาสติกเก็บไว้ในกล่องมีฝาปิดมิดชิด
5.3 วิธีการเล่น การเล่นปั้นลูกโป่งแป้งโดแตกต่างจากแป้งโดชนิดอื่น เพราะลูกโป่งห่อหุ้มแป้งจึงมีข้อจำกัดในการเล่นคือ ไม่สามารถตัด ขยำ แผ่ได้ แต่สามารถกดให้ยุบ จับให้โค้ง ดึงให้นูน เพื่อปั้นเป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการได้
แป้งโดเหล่านี้แม้มีส่วนผสมแตกต่างกัน แต่มีวิธีการเล่นและการเก็บรักษาเหมือนกัน ยกเว้นลูกโป่งแป้งโด กล่าวคือ เมื่อทำแป้งโดเสร็จแล้วให้ปั้นเป็นก้อนกลมขนาดผลส้มใส่ในถุงพลาสติกใช้ยางรัดปิดปากถุงไม่ให้อากาศเข้ามาเก็บไว้ในตู้เย็นชั้นเก็บผัก หากไม่มีตู้เย็นให้แขวนไว้นอกหน้าต่างเพื่อรับลมเย็นจากธรรมขาติ ก่อนนำไปให้เด็กเล่นต้องนวดแป้งทุกครั้งด้วยมือที่สะอาดสลัดน้ำที่ล้างมือออกโดยไม่ต้องเช็ดให้แห้ง ใช้มือที่เปียกชื่นนวดแป้งจะช่วยให้แป้งอ่อนนิ่มแล้วปั้นเป็นก้อนกลมเท่าเดิมใส่ในภาชนะพลาสติกใสคลุมด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ
แชมพูสระผม ¼ ถ้วย
3.2 วิธีทำ
3.2.1 นำแป้ง กาวน้ำ แชมพูสระผมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3.2.2 นวดไปเรื่อยๆ พร้อมทั้งเติมแป้งครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะจนครบ 7 ช้อนโต๊ะ
3.2.3 ใส่สีผสมอาหารและนวดต่อจนมีความยืดหยุ่น ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ถุงพลาสติกแล้วเก็บในตู้เย็น
4. ขนมปังแป้งโด
4.1 ส่วนผสม
ขนมปังแผ่นตัดขอบแล้ว 8 ชิ้น
กาวน้ำ ½ ถ้วยตวง
แป้งสาลีตราว่าว ½ ถ้วยตวง
4.2 วิธีทำ
4.2.1 ฉีกขนมปังเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับกาวน้ำขยำให้เข้ากันจนเหนียว
4.2.2 ใส่แป้งและสีผสมอาหารขยำและนวดจนมีความยืดหยุ่น
4.2.3 ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ถุงพลาสติกแล้วเก็บใส่ตู้เย็น
5. ลูกโป่งแป้งโด
5.1 วัสดุ
แป้งสาลี หรือแป้งมัน ลูกโป่งเนื้อหนา
5.2 วิธีทำ
5.2.1 นำแป้งสาลีหรือแป้งมันบรรจุลงในลูกโป่ง
5.2.2 ไล่อากาศออกแล้วผูกปากลูกโป่งให้แน่น
5.2.3 ปั้นลูกโป่งเป็นก้อนกลมใส่ถุงพลาสติกเก็บไว้ในกล่องมีฝาปิดมิดชิด
5.3 วิธีการเล่น การเล่นปั้นลูกโป่งแป้งโดแตกต่างจากแป้งโดชนิดอื่น เพราะลูกโป่งห่อหุ้มแป้งจึงมีข้อจำกัดในการเล่นคือ ไม่สามารถตัด ขยำ แผ่ได้ แต่สามารถกดให้ยุบ จับให้โค้ง ดึงให้นูน เพื่อปั้นเป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการได้
แป้งโดเหล่านี้แม้มีส่วนผสมแตกต่างกัน แต่มีวิธีการเล่นและการเก็บรักษาเหมือนกัน ยกเว้นลูกโป่งแป้งโด กล่าวคือ เมื่อทำแป้งโดเสร็จแล้วให้ปั้นเป็นก้อนกลมขนาดผลส้มใส่ในถุงพลาสติกใช้ยางรัดปิดปากถุงไม่ให้อากาศเข้ามาเก็บไว้ในตู้เย็นชั้นเก็บผัก หากไม่มีตู้เย็นให้แขวนไว้นอกหน้าต่างเพื่อรับลมเย็นจากธรรมขาติ ก่อนนำไปให้เด็กเล่นต้องนวดแป้งทุกครั้งด้วยมือที่สะอาดสลัดน้ำที่ล้างมือออกโดยไม่ต้องเช็ดให้แห้ง ใช้มือที่เปียกชื่นนวดแป้งจะช่วยให้แป้งอ่อนนิ่มแล้วปั้นเป็นก้อนกลมเท่าเดิมใส่ในภาชนะพลาสติกใสคลุมด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ
2.7 บทบาทของครูในการส่งเสริมพัฒนาการการปั้น
ศุภกุล เกียรติสุนทร (2549 : 97 - 99) กล่าวว่าพัฒนาการการปั้นของเด็กจะได้รับการส่งเสริมโดยการจัดกิจกรรมการปั้น รวมทั้งการแสดงบทบาทของครูในขณะที่เด็กกำลังทำกิจกรรมและการแสดงออกของครูต่อผลงานของเด็ก การแสดงบทบาทของครูในการจัดกิจกรรมการปั้นมีความคล้ายคลึงกับการแสดงบทบาทในการจัดกิจกรรมทางศิลปะ ดังนี้
1. ครูต้องแสดงออกถึงความใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ด้วยการแสวงหาสูตรในการปั้นแบบใหม่ มีวิธีการจัดกิจกรรมที่ไม่ซ้ำซาก
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจ สังเกต ทดลอง ค้นพบด้วยตัวเอง และทำความคุ้นเคยกับวัสดุที่ใช้ปั้นก่อน โดยให้เด็กได้จับต้องวัสดุที่ใช้ปั้นด้วยนิ้วมือ อุ้งมือ รวมทั้งใช้กล้ามเนื้อแขนและไหล่ในการบีบ ขยำ ทุบ นวด ให้เข้ากัน ดึงให้นูน กดให้บุ๋ม แผ่ให้เป็นแผ่น พับและม้วนเป็นแท่งกลม ผ่าและตัดต่อในลักษณะต่างๆ นอกจากเด็กจะได้คุ้นเคยกับวัสดุที่ปั้นด้วยวิธีการต่างๆ แล้วเด็กก็จะสามารถปั้นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการของตนเองต่อไปได้
3. ส่งเสริมให้เด็กปั้นตามจินตนาการของเด็กเองอย่างอิสระ ไม่ควรกำหนดแบบอย่างให้เด็กทำตาม ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กเป็นผู้กล้าคิดกล้าจินตนาการ กล้าแสดงออก เชื่อมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ผลงานตามแนวคิดของตน การกำหนดแบบให้เด็กทำตามจะทำให้เด็กสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง และสกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์ ขณะเด็กทำกิจกรรมการเล่นปั้น ครูและผู้ปกครองควรชักชวนและกระตุ้นให้เด็กแสดงความสามารถด้วยการเสนอแนะด้วยคำถามคำพูดเพียงเล็กน้อย แล้วให้เด็กคิด ทำ แก้ปัญหาและสร้างสรรค์ด้วยตัวเองอย่างอิสระ จากการศึกษาวิจัยของ วนิดา ศิลปกิจโกศล (2540 : 59) เรื่องผลของการทำกิจกรรมการปั้นแบบชี้แนะ กึ่งชี้แนะและแบบอิสระที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กที่ทำกิจกรรมการปั้นแบบกึ่งชี้แนะ มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่าเด็กที่ทำกิจกรรมการปั้นแบบชี้แนะและแบบอิสระ ซึ่งวนิดา ศิลปกิจโกศล ได้อภิปรายผลไว้ว่า กิจกรรมการปั้นแบบกึ่งชี้แนะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้สร้างสรรค์ผลงานการปั้น ตามจินตนาการของตนเองอย่างอิสระ โดยมีครูเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือด้วยการใช้คำพูด คำถาม กระตุ้นความคิดของเด็ก เมื่อเด็กมีปัญหาในการทำกิจกรรม ทำให้เด็กมีความพึงพอใจและรู้สึกอบอุ่นในการทำกิจกรรม เด็กได้รับการยอมรับทางความคิดและผลงานที่สร้างขึ้นจากครูและเพื่อทำให้เด็กเกิดความภูมิใจในความสำเร็จของตนเองและส่งผลต่อการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง
4. จงอย่าเร่งเร้าหรือเซ้าซี้เด็กที่ยังมีความลังเลใจหรือขี้ตื่นขี้อายให้ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด จงให้โอกาสแก่เด็กได้สังเกตจนกว่าเขาจะพร้อม ครูและผู้ปกครองอาจจะคอยกระตุ้นความสนใจและขยายประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ในการปั้นให้กว้างขวางด้วยอุปกรณ์ เช่น ของจำลองสัตว์เลี้ยง อุปกรณ์ประกอบการเล่นอื่นๆ เพิ่มเติมผลงานปั้น การพาไปทัศนศึกษา การเล่าเรื่อง การเล่านิทาน การอ่านหนังสือให้ฟัง การสืบค้นเกี่ยวกับการปั้นจากอินเตอร์เน็ต รวมทั้งการใช้คำถาม สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ เมื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ถ่ายทอดความคิดจินตนาการออกมาในรูปของการเล่นปั้นย่อมช่วยให้ปั้นได้กว้างขวางขึ้น
5. จงแสดงความชื่นชมยินดีในผลงาน ความสามารถและการค้นพบเล็กๆน้อยๆ ของเด็ก ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์ หรือเอางานของเขาไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น จงระลึกเสมอว่าเด็กย่อมพอใจในผลงานของเด็กเองไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดจากความพอใจของผู้ใหญ่ จงอย่าคาดหวังสิ่งผลิตใดๆ ที่สวยงามจากเด็ก และไม่ควรถามเด็กว่านี่คืออะไร หรือคาดคั้นให้เด็กเล่าถึงผลงานทั้งๆ ที่เด็กไม่อยากเล่า เพราะถ้าเด็กไม่สามารถบอกได้ จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่สกัดกั้นการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ของผลงานในครั้งต่อๆ ไป ทั้งนี้เนื่องจากเด็กไม่สามารถบรรยายความรู้สึกภายในออกมาให้เป็นคำพูด แทนที่เด็กจะปั้นตามความรู้สึก ในการปั้นครั้งต่อไปเด็กอาจจะปั้นแต่สิ่งที่เขาจะบอกได้ว่าเป็นอะไรหรือสิ่งที่ผู้อื่นเห็นแล้วต้องจะเข้าใจว่าเป็นภาพอะไร
6. จงอย่าไปทึกทักบอกชื่อสิ่งที่เด็กผลิตขึ้นเสียเอง จงรอให้เด็กบอกชื่อสิ่งที่เด็กผลิตขึ้นด้วยตัวของเด็กเอง เช่น ไม่พูดทึกทักขึ้นว่า “แหมบ้านสวยจัง” เพราะเด็กอาจจะหมายถึงคอกม้า สถานีรถไฟ ที่พักผู้โดยสารประจำทาง หรือสวนสัตว์ ก็ได้ ห้ามต่อเติมผลงานของเด็กเมื่อครูสังเกตได้ว่าเด็กกำลังอยากจะอวดผลงาน ครูอาจจะกล่าวว่า “หนูช่วยเล่าเรื่องปั้นของหนูให้ฟังสักหน่อย” จงให้ความสนใจและส่งเสริมให้กำลังใจแก่เด็ก ครูควรฉวยโอกาสสอดแทรกการสนทนาที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้เด็กได้ความคิดความรู้ในการสร้างสรรค์ผลงานครั้งต่อไป
7. จงแสดงความยินดีกับเด็กเมื่อเด็กเกิดความรู้สึกว่าเขาได้ทำสิ่งหนึ่งสำเร็จ แต่จงระมัดระวังคำพูดที่ยกย่องชมเชยต้องให้ตรงกับความเป็นจริง ให้ความสนใจและยอมรับในผลงานของเด็กแต่ละคน ผู้ใหญ่ควรระลึกว่ากิจกรรมการเล่นปั้นไม่ได้มีจุดมุ่งหมายให้เด็กลอกเลียนแบบให้ เหมือนจริง แต่เป็นการส่งเสริมกล้ามเนื้อมือ แขนให้เคลื่อนไหวทำงานประสานกันและส่งเสริมความคิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานปั้น การประเมินผลงานปั้นของเด็กจึงต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้ใหญ่ควรทำให้เด็กรู้สึกว่าผลงานที่เขาทำเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ควรสนใจและยอมรับผลงานของเด็ก โดยให้ความสนใจเมื่อเด็กนำผลงานของเขามาเสนอหรือเล่าให้ฟัง นำผลงานของเด็กไปจัดแสดงไว้มุมใดมุมหนึ่งของห้องหรือถ่ายภาพให้นำไปอวดผู้ปกครองที่บ้าน ใช้คำพูดชมเชยและให้กำลังใจเมื่อเด็กสร้างสรรค์ผลงานสำเร็จ ให้กำลังใจและชมเชยเมื่อเด็กสร้างสรรค์ผลงานแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร ให้เด็กเล่าเรื่องผลงานและเทคนิควิธีการปั้นให้เพื่อนๆฟังจะทำให้เด็กมีกำลังใจ รู้สึกภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง มีความเชื่อมั่นในผลงานและ การแสดงออกของตนเองและกล้าที่จะแสดงออกตามความคิดของตนเองอย่างอิสระในครั้งต่อ ๆ ไป ถ้าผู้ใหญ่ทำให้เด็กรู้สึกว่าผลงานของเขาไม่น่าสนใจ ในการเล่นปั้นครั้งต่อไปเด็กมักจะผลิตผลงานเพื่อเอาใจผู้ใหญ่ เป็นการสกัดกั้นจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เด็กจะเกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในการแสดงออกตามความคิดของตนเองและไม่ระบายความรู้สึกของตนผ่านผลงาน
8. จงให้โอกาสแก่เด็กประเภทที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกบังคับ หรือถูกควบคุมมากเกินไป ได้ขจัดความหวาดกลัวหรือความไม่กล้าของเขานั้นให้หมดไปเสียก่อน ด้วยการให้เขาได้ดูเด็กอื่น ๆ เล่นกันอย่างสนุกสนาน บางครั้งเมื่อเด็กลงมือทำงานก็เกิดเสียหายก่อน ด้วยการให้เขาได้ดูเด็กอื่น ๆ เล่นกันอย่างสนุกสนาน บางครั้งเมื่อเด็กลงมือทำงานก็เกิดเสียหาย ผิดพลาด ครูต้องไม่เสียงดังโวยวายหรือแสดงอาการตื่นเต้นตระหนกตกใจ เนื่องจากเป็นก้าวหนึ่งที่สำคัญของการเล่นสร้างสรรค์ ซึ่งโดยปกติแล้วเด็กมักจะทำเสียหรือทำผิดก่อนแล้วจึงแก้ปัญหาได้ การที่เด็กทำเลอะเทอะเปรอะเปื้อนก็เช่นกัน เป็นประสบการณ์ที่จำเป็นอันหนึ่งเพราะเด็กไม่สามารถจะนึกคิดได้จนกว่าเด็กจะได้ประสบการณ์โดยตรงด้วยตนเอง ครูจะต้องระงับยับยั้งเด็กที่จะไปเกะกะ ก้าวร้าวระรานเด็กอื่นหรือไปทำให้การเล่นของเด็กอื่นเสียหายหรือใช้วัสดุอุปกรณ์การเล่นในวิธีที่ผิด ๆ
ครูและผู้ปกครองเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัย การแสดงออกของครูผู้ส่งผลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กในระยะยาว ดังนั้นจึงควรแสดงบทบาทของตนอย่างระมัดระวังและสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กทุกขั้นตอนขณะที่เด็กทำกิจกรรมเมื่อเด็กสร้างสรรค์ผลงานแล้วครูและผู้ปกครองก็ยังต้องแสดงบทบาทเพื่อให้เด็กภาคภูมิใจในผลงานของตน
2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปั้น
งานวิจัยในประเทศ
วิจิตรา วิเศษสมบัติ (2539 : 73) ได้ศึกษาความพร้อมทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ความคิดรวบยอดประกอบการสนทนาในกิจกรรมการปั้น พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ความคิดรวบยอดประกอบการสนทนาในกิจกรรมการปั้น มีความพร้อมทางภาษาแตกต่างจากเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การปั้นแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ธัญวลี พวงชาติ (2545 : 36 – 40) ได้ศึกษาการปั้นของเด็กอายุ 3 – 5 ปี ในโรงเรียนสาธิต สังกัดสถาบันราชภัฎทั่วประเทศ พบว่า
1. เด็กอายุ 3 – 5 ปี ปั้นชิ้นงานอิสระที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับอาหารมากที่สุด รองลงมาคือ กระทงธรรมชาติ สัตว์ ของเล่น คน ยานพาหนะ อุปกรณ์กีฬา บ้าน ของใช้ เช่น หมอน ตะกร้า โอ่ง ผลไม้ รูปทรงต่างๆ เครื่องประดับ เช่น สร้อยข้อมือ กำไล สะพาน และธงชาติ
2. เด็กอายุ 3 ปี มีระดับขั้นการปั้นอยู่ในขั้นที่ 1 ขั้นเริ่มต้นการปั้น เด็กอายุ 4 ปี มีระดับการปั้นอยู่ในขั้นที่ 2 ขั้นการปั้นอย่างมีความหมาย และเด็กอายุ 5 ปี มีระดับการปั้นอยู่ในขั้นที่ 3 ขั้นการปั้นอย่างสร้างสรรค์
3. เด็กอายุ 3 ปี 4 ปี และ 5 ปี มีระดับขั้นการปั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
วนิดา ศิลปกิจโกศิล (2540 : 55 - 59 ) ได้ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการปั้นแบบชี้แนะ กึ่งชี้แนะและแบบอิสระ ที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้ทำกิจกรรมการปั้นแบบชี้แนะ และแบบอิสระ มีความเชื่อมั่นในตนเองหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
งานวิจัยต่างประเทศ
เบรนดา (Brenda. 1991 : 2326 – B) ได้ศึกษาเรื่องการจัดระบบเกี่ยวกับพื้นฐานการปั้น ซึ่งเป็นผลมาจากความทรงจำของเด็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยและเกรด 4 โดยให้เด็กทั้ง 2 กลุ่ม ทำกิจกรรมการปั้นสัปดาห์ละ 1–2 ครั้ง จนถึง 4 สัปดาห์และบันทึกภาพขณะที่เด็กทำกิจกรรมการปั้น ภาพถ่ายแสดงให้เห็นขั้นตอนในการทำกิจกรรมหลังจากการจัดกิจกรรมไปแล้ว 7 – 9 วัน นำผลที่ได้มาทบทวนอีกครั้ง โดยนำภาพถ่ายจากงานปั้นให้เด็กจัดประเภทหรือพวกและให้เหตุผลเกี่ยวกับการจัดพวก จากการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยให้เหตุผลอย่างง่ายๆ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เด็กได้รับข้อมูลโดยบังเอิญ สำหรับเด็กเกรด 4 จะใช้เหตุผลในการจัดพวกได้มากที่สุดเนื่องจากเด็กมีประสบการณ์ทำให้การปั้นมีความแตกต่างกันออกไปมากกว่า
ดราวิง (Draving. 1990 : 468 – P) ได้ศึกษาเรื่องความคิดสร้างสรรค์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาโดยการจัดโปรแกรมศิลปะการปั้นจากดินเหนียว จากการจัดกิจกรรมศิลปะการปั้นดินเหนียวนับเป็นผลดีกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาถึงกระบวนการเรียนรู้ การสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา เพื่อตอบคำถาม ปัญหาในการวิจัย 3 ข้อด้วยกันคือ
1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาสามารถเรียนรู้ได้อย่างไร
2. มีเทคนิควิธีการใดที่สามารถสอนศิลปะการปั้นให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาได้อย่างเหมาะสม
3. มีตัวบ่งชี้ใดบ้างที่ชี้บ่งถึงการพัฒนาการทางจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
การออกแบบเครื่องมือวิจัยครั้งนี้ใช้การจัดโปรแกรมศิลปะการปั้นด้วยสื่อดินเหนียว รวบรวมข้อมูลโดยการถ่ายภาพกระบวนการต่าง ๆ ในการปั้น ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการจัดโปรแกรมศิลปะการปั้นด้วยสื่อดินเหนียวมีประโยชน์กับเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาและเป็นแนวทางในการวิจัยในครั้งต่อไป
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปั้น สรุปได้ว่า กิจกรรมการปั้นสำหรับเด็กเป็นกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการจัดกิจกรรมการปั้นนั้นเด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง และได้มีโอกาสสร้างสรรค์งานในลักษณะที่มีรูปทรงสามมิติ ทั้งได้ผ่อนคลายความเครียดในขณะทุบดิน และยังเป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอีกด้วย
ศุภกุล เกียรติสุนทร (2549 : 97 - 99) กล่าวว่าพัฒนาการการปั้นของเด็กจะได้รับการส่งเสริมโดยการจัดกิจกรรมการปั้น รวมทั้งการแสดงบทบาทของครูในขณะที่เด็กกำลังทำกิจกรรมและการแสดงออกของครูต่อผลงานของเด็ก การแสดงบทบาทของครูในการจัดกิจกรรมการปั้นมีความคล้ายคลึงกับการแสดงบทบาทในการจัดกิจกรรมทางศิลปะ ดังนี้
1. ครูต้องแสดงออกถึงความใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ด้วยการแสวงหาสูตรในการปั้นแบบใหม่ มีวิธีการจัดกิจกรรมที่ไม่ซ้ำซาก
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจ สังเกต ทดลอง ค้นพบด้วยตัวเอง และทำความคุ้นเคยกับวัสดุที่ใช้ปั้นก่อน โดยให้เด็กได้จับต้องวัสดุที่ใช้ปั้นด้วยนิ้วมือ อุ้งมือ รวมทั้งใช้กล้ามเนื้อแขนและไหล่ในการบีบ ขยำ ทุบ นวด ให้เข้ากัน ดึงให้นูน กดให้บุ๋ม แผ่ให้เป็นแผ่น พับและม้วนเป็นแท่งกลม ผ่าและตัดต่อในลักษณะต่างๆ นอกจากเด็กจะได้คุ้นเคยกับวัสดุที่ปั้นด้วยวิธีการต่างๆ แล้วเด็กก็จะสามารถปั้นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการของตนเองต่อไปได้
3. ส่งเสริมให้เด็กปั้นตามจินตนาการของเด็กเองอย่างอิสระ ไม่ควรกำหนดแบบอย่างให้เด็กทำตาม ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กเป็นผู้กล้าคิดกล้าจินตนาการ กล้าแสดงออก เชื่อมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ผลงานตามแนวคิดของตน การกำหนดแบบให้เด็กทำตามจะทำให้เด็กสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง และสกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์ ขณะเด็กทำกิจกรรมการเล่นปั้น ครูและผู้ปกครองควรชักชวนและกระตุ้นให้เด็กแสดงความสามารถด้วยการเสนอแนะด้วยคำถามคำพูดเพียงเล็กน้อย แล้วให้เด็กคิด ทำ แก้ปัญหาและสร้างสรรค์ด้วยตัวเองอย่างอิสระ จากการศึกษาวิจัยของ วนิดา ศิลปกิจโกศล (2540 : 59) เรื่องผลของการทำกิจกรรมการปั้นแบบชี้แนะ กึ่งชี้แนะและแบบอิสระที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กที่ทำกิจกรรมการปั้นแบบกึ่งชี้แนะ มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่าเด็กที่ทำกิจกรรมการปั้นแบบชี้แนะและแบบอิสระ ซึ่งวนิดา ศิลปกิจโกศล ได้อภิปรายผลไว้ว่า กิจกรรมการปั้นแบบกึ่งชี้แนะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้สร้างสรรค์ผลงานการปั้น ตามจินตนาการของตนเองอย่างอิสระ โดยมีครูเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือด้วยการใช้คำพูด คำถาม กระตุ้นความคิดของเด็ก เมื่อเด็กมีปัญหาในการทำกิจกรรม ทำให้เด็กมีความพึงพอใจและรู้สึกอบอุ่นในการทำกิจกรรม เด็กได้รับการยอมรับทางความคิดและผลงานที่สร้างขึ้นจากครูและเพื่อทำให้เด็กเกิดความภูมิใจในความสำเร็จของตนเองและส่งผลต่อการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง
4. จงอย่าเร่งเร้าหรือเซ้าซี้เด็กที่ยังมีความลังเลใจหรือขี้ตื่นขี้อายให้ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด จงให้โอกาสแก่เด็กได้สังเกตจนกว่าเขาจะพร้อม ครูและผู้ปกครองอาจจะคอยกระตุ้นความสนใจและขยายประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ในการปั้นให้กว้างขวางด้วยอุปกรณ์ เช่น ของจำลองสัตว์เลี้ยง อุปกรณ์ประกอบการเล่นอื่นๆ เพิ่มเติมผลงานปั้น การพาไปทัศนศึกษา การเล่าเรื่อง การเล่านิทาน การอ่านหนังสือให้ฟัง การสืบค้นเกี่ยวกับการปั้นจากอินเตอร์เน็ต รวมทั้งการใช้คำถาม สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ เมื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ถ่ายทอดความคิดจินตนาการออกมาในรูปของการเล่นปั้นย่อมช่วยให้ปั้นได้กว้างขวางขึ้น
5. จงแสดงความชื่นชมยินดีในผลงาน ความสามารถและการค้นพบเล็กๆน้อยๆ ของเด็ก ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์ หรือเอางานของเขาไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น จงระลึกเสมอว่าเด็กย่อมพอใจในผลงานของเด็กเองไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดจากความพอใจของผู้ใหญ่ จงอย่าคาดหวังสิ่งผลิตใดๆ ที่สวยงามจากเด็ก และไม่ควรถามเด็กว่านี่คืออะไร หรือคาดคั้นให้เด็กเล่าถึงผลงานทั้งๆ ที่เด็กไม่อยากเล่า เพราะถ้าเด็กไม่สามารถบอกได้ จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่สกัดกั้นการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ของผลงานในครั้งต่อๆ ไป ทั้งนี้เนื่องจากเด็กไม่สามารถบรรยายความรู้สึกภายในออกมาให้เป็นคำพูด แทนที่เด็กจะปั้นตามความรู้สึก ในการปั้นครั้งต่อไปเด็กอาจจะปั้นแต่สิ่งที่เขาจะบอกได้ว่าเป็นอะไรหรือสิ่งที่ผู้อื่นเห็นแล้วต้องจะเข้าใจว่าเป็นภาพอะไร
6. จงอย่าไปทึกทักบอกชื่อสิ่งที่เด็กผลิตขึ้นเสียเอง จงรอให้เด็กบอกชื่อสิ่งที่เด็กผลิตขึ้นด้วยตัวของเด็กเอง เช่น ไม่พูดทึกทักขึ้นว่า “แหมบ้านสวยจัง” เพราะเด็กอาจจะหมายถึงคอกม้า สถานีรถไฟ ที่พักผู้โดยสารประจำทาง หรือสวนสัตว์ ก็ได้ ห้ามต่อเติมผลงานของเด็กเมื่อครูสังเกตได้ว่าเด็กกำลังอยากจะอวดผลงาน ครูอาจจะกล่าวว่า “หนูช่วยเล่าเรื่องปั้นของหนูให้ฟังสักหน่อย” จงให้ความสนใจและส่งเสริมให้กำลังใจแก่เด็ก ครูควรฉวยโอกาสสอดแทรกการสนทนาที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้เด็กได้ความคิดความรู้ในการสร้างสรรค์ผลงานครั้งต่อไป
7. จงแสดงความยินดีกับเด็กเมื่อเด็กเกิดความรู้สึกว่าเขาได้ทำสิ่งหนึ่งสำเร็จ แต่จงระมัดระวังคำพูดที่ยกย่องชมเชยต้องให้ตรงกับความเป็นจริง ให้ความสนใจและยอมรับในผลงานของเด็กแต่ละคน ผู้ใหญ่ควรระลึกว่ากิจกรรมการเล่นปั้นไม่ได้มีจุดมุ่งหมายให้เด็กลอกเลียนแบบให้ เหมือนจริง แต่เป็นการส่งเสริมกล้ามเนื้อมือ แขนให้เคลื่อนไหวทำงานประสานกันและส่งเสริมความคิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานปั้น การประเมินผลงานปั้นของเด็กจึงต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้ใหญ่ควรทำให้เด็กรู้สึกว่าผลงานที่เขาทำเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ควรสนใจและยอมรับผลงานของเด็ก โดยให้ความสนใจเมื่อเด็กนำผลงานของเขามาเสนอหรือเล่าให้ฟัง นำผลงานของเด็กไปจัดแสดงไว้มุมใดมุมหนึ่งของห้องหรือถ่ายภาพให้นำไปอวดผู้ปกครองที่บ้าน ใช้คำพูดชมเชยและให้กำลังใจเมื่อเด็กสร้างสรรค์ผลงานสำเร็จ ให้กำลังใจและชมเชยเมื่อเด็กสร้างสรรค์ผลงานแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร ให้เด็กเล่าเรื่องผลงานและเทคนิควิธีการปั้นให้เพื่อนๆฟังจะทำให้เด็กมีกำลังใจ รู้สึกภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง มีความเชื่อมั่นในผลงานและ การแสดงออกของตนเองและกล้าที่จะแสดงออกตามความคิดของตนเองอย่างอิสระในครั้งต่อ ๆ ไป ถ้าผู้ใหญ่ทำให้เด็กรู้สึกว่าผลงานของเขาไม่น่าสนใจ ในการเล่นปั้นครั้งต่อไปเด็กมักจะผลิตผลงานเพื่อเอาใจผู้ใหญ่ เป็นการสกัดกั้นจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เด็กจะเกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในการแสดงออกตามความคิดของตนเองและไม่ระบายความรู้สึกของตนผ่านผลงาน
8. จงให้โอกาสแก่เด็กประเภทที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกบังคับ หรือถูกควบคุมมากเกินไป ได้ขจัดความหวาดกลัวหรือความไม่กล้าของเขานั้นให้หมดไปเสียก่อน ด้วยการให้เขาได้ดูเด็กอื่น ๆ เล่นกันอย่างสนุกสนาน บางครั้งเมื่อเด็กลงมือทำงานก็เกิดเสียหายก่อน ด้วยการให้เขาได้ดูเด็กอื่น ๆ เล่นกันอย่างสนุกสนาน บางครั้งเมื่อเด็กลงมือทำงานก็เกิดเสียหาย ผิดพลาด ครูต้องไม่เสียงดังโวยวายหรือแสดงอาการตื่นเต้นตระหนกตกใจ เนื่องจากเป็นก้าวหนึ่งที่สำคัญของการเล่นสร้างสรรค์ ซึ่งโดยปกติแล้วเด็กมักจะทำเสียหรือทำผิดก่อนแล้วจึงแก้ปัญหาได้ การที่เด็กทำเลอะเทอะเปรอะเปื้อนก็เช่นกัน เป็นประสบการณ์ที่จำเป็นอันหนึ่งเพราะเด็กไม่สามารถจะนึกคิดได้จนกว่าเด็กจะได้ประสบการณ์โดยตรงด้วยตนเอง ครูจะต้องระงับยับยั้งเด็กที่จะไปเกะกะ ก้าวร้าวระรานเด็กอื่นหรือไปทำให้การเล่นของเด็กอื่นเสียหายหรือใช้วัสดุอุปกรณ์การเล่นในวิธีที่ผิด ๆ
ครูและผู้ปกครองเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัย การแสดงออกของครูผู้ส่งผลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กในระยะยาว ดังนั้นจึงควรแสดงบทบาทของตนอย่างระมัดระวังและสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กทุกขั้นตอนขณะที่เด็กทำกิจกรรมเมื่อเด็กสร้างสรรค์ผลงานแล้วครูและผู้ปกครองก็ยังต้องแสดงบทบาทเพื่อให้เด็กภาคภูมิใจในผลงานของตน
2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปั้น
งานวิจัยในประเทศ
วิจิตรา วิเศษสมบัติ (2539 : 73) ได้ศึกษาความพร้อมทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ความคิดรวบยอดประกอบการสนทนาในกิจกรรมการปั้น พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ความคิดรวบยอดประกอบการสนทนาในกิจกรรมการปั้น มีความพร้อมทางภาษาแตกต่างจากเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การปั้นแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ธัญวลี พวงชาติ (2545 : 36 – 40) ได้ศึกษาการปั้นของเด็กอายุ 3 – 5 ปี ในโรงเรียนสาธิต สังกัดสถาบันราชภัฎทั่วประเทศ พบว่า
1. เด็กอายุ 3 – 5 ปี ปั้นชิ้นงานอิสระที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับอาหารมากที่สุด รองลงมาคือ กระทงธรรมชาติ สัตว์ ของเล่น คน ยานพาหนะ อุปกรณ์กีฬา บ้าน ของใช้ เช่น หมอน ตะกร้า โอ่ง ผลไม้ รูปทรงต่างๆ เครื่องประดับ เช่น สร้อยข้อมือ กำไล สะพาน และธงชาติ
2. เด็กอายุ 3 ปี มีระดับขั้นการปั้นอยู่ในขั้นที่ 1 ขั้นเริ่มต้นการปั้น เด็กอายุ 4 ปี มีระดับการปั้นอยู่ในขั้นที่ 2 ขั้นการปั้นอย่างมีความหมาย และเด็กอายุ 5 ปี มีระดับการปั้นอยู่ในขั้นที่ 3 ขั้นการปั้นอย่างสร้างสรรค์
3. เด็กอายุ 3 ปี 4 ปี และ 5 ปี มีระดับขั้นการปั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
วนิดา ศิลปกิจโกศิล (2540 : 55 - 59 ) ได้ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการปั้นแบบชี้แนะ กึ่งชี้แนะและแบบอิสระ ที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้ทำกิจกรรมการปั้นแบบชี้แนะ และแบบอิสระ มีความเชื่อมั่นในตนเองหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
งานวิจัยต่างประเทศ
เบรนดา (Brenda. 1991 : 2326 – B) ได้ศึกษาเรื่องการจัดระบบเกี่ยวกับพื้นฐานการปั้น ซึ่งเป็นผลมาจากความทรงจำของเด็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยและเกรด 4 โดยให้เด็กทั้ง 2 กลุ่ม ทำกิจกรรมการปั้นสัปดาห์ละ 1–2 ครั้ง จนถึง 4 สัปดาห์และบันทึกภาพขณะที่เด็กทำกิจกรรมการปั้น ภาพถ่ายแสดงให้เห็นขั้นตอนในการทำกิจกรรมหลังจากการจัดกิจกรรมไปแล้ว 7 – 9 วัน นำผลที่ได้มาทบทวนอีกครั้ง โดยนำภาพถ่ายจากงานปั้นให้เด็กจัดประเภทหรือพวกและให้เหตุผลเกี่ยวกับการจัดพวก จากการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยให้เหตุผลอย่างง่ายๆ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เด็กได้รับข้อมูลโดยบังเอิญ สำหรับเด็กเกรด 4 จะใช้เหตุผลในการจัดพวกได้มากที่สุดเนื่องจากเด็กมีประสบการณ์ทำให้การปั้นมีความแตกต่างกันออกไปมากกว่า
ดราวิง (Draving. 1990 : 468 – P) ได้ศึกษาเรื่องความคิดสร้างสรรค์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาโดยการจัดโปรแกรมศิลปะการปั้นจากดินเหนียว จากการจัดกิจกรรมศิลปะการปั้นดินเหนียวนับเป็นผลดีกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาถึงกระบวนการเรียนรู้ การสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา เพื่อตอบคำถาม ปัญหาในการวิจัย 3 ข้อด้วยกันคือ
1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาสามารถเรียนรู้ได้อย่างไร
2. มีเทคนิควิธีการใดที่สามารถสอนศิลปะการปั้นให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาได้อย่างเหมาะสม
3. มีตัวบ่งชี้ใดบ้างที่ชี้บ่งถึงการพัฒนาการทางจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
การออกแบบเครื่องมือวิจัยครั้งนี้ใช้การจัดโปรแกรมศิลปะการปั้นด้วยสื่อดินเหนียว รวบรวมข้อมูลโดยการถ่ายภาพกระบวนการต่าง ๆ ในการปั้น ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการจัดโปรแกรมศิลปะการปั้นด้วยสื่อดินเหนียวมีประโยชน์กับเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาและเป็นแนวทางในการวิจัยในครั้งต่อไป
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปั้น สรุปได้ว่า กิจกรรมการปั้นสำหรับเด็กเป็นกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการจัดกิจกรรมการปั้นนั้นเด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง และได้มีโอกาสสร้างสรรค์งานในลักษณะที่มีรูปทรงสามมิติ ทั้งได้ผ่อนคลายความเครียดในขณะทุบดิน และยังเป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอีกด้วย
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
3. การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
4. แบบแผนการทดลองและวิธีดำเนินการทดลอง
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยค้นคว้าครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียน ชาย – หญิง อายุระหว่าง 3 – 4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 1 ห้องเรียน จำนวน 19 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชาย – หญิง อายุระหว่าง 3 – 4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 8 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)
2. เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดังนี้
1. แผนการจัดกิจกรรมการปั้น
2. แบบสังเกตพัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัย
3. แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
4. แบบประเมินพัฒนาการด้านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
3. การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
การสร้างแผนการจัดกิจกรรมการปั้น มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปั้น ของธัญวลี พวงชาติ (2545) ณัฐวรรณ ขนชัยภูมิ (2546) วรรณี อยู่คง (2547) และศุภกุล เกียรติสุนทร (2549)
2. สร้างแผนการจัดกิจกรรมการปั้น ซึ่งมีกรอบของรายละเอียดดังนี้
2.1 ชื่อกิจกรรม
2.2 จุดประสงค์ของการทำกิจกรรม
2.3 สื่อประกอบการปั้น
2.4 อุปกรณ์ประกอบการปั้น
2.5 ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
2.6 ขั้นการประเมินผล
3. นำแผนการจัดกิจกรรมการปั้นที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจพิจารณาและปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมโดยใช้เกณฑ์การตัดสิน 2 ใน 3 ท่านของผู้เชี่ยวชาญที่มีความคิดเห็นตรงกัน ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญดังนี้
(1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรใจ สารยศ อาจารย์ประจำโรงเรียนละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
(2) อาจารย์จันทนา เชื้อไทย อาจารย์ประจำโรงเรียนวัดสุธาโภชน์ พระนครศรีอยุธยา
(3) อาจารย์ภารณี เศรษฐวงศ์สิน อาจารย์ประจำโรงเรียนวัดทางยาว พระนครศรีอยุธยา
ผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ 2 ใน 3 ท่าน มีความเห็นตรงกัน คือ ให้แก้ไขสมมติฐานให้ถูกต้อง และใช้คำแทนกลุ่มทดลองให้เหมือนกันกับชื่อเรื่องวิจัย คือถ้าใช้คำว่าเด็กปฐมวัยก็ให้ใช้เหมือนกันทั้งหมด
4. นำแผนการจัดกิจกรรมการปั้นมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
5. นำแผนการจัดกิจกรรมการปั้น ที่ปรับปรุงแก้ไขตามข้อ 4 เพื่อปรับปรุงสื่อประกอบการปั้น และขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนด
6. นำแผนการจัดกิจกรรมการปั้นที่ปรับปรุงเหมาะสมแล้วไปจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์ แล้วนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง
การสร้างแบบสังเกตพัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัย มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาทฤษฎีพัฒนาการการปั้นของเซอร์มาเซอร์ ในเอกสารประกอบการสอนของศุภกุล เกียรติสุนทร (2549) และงานวิจัยของวรรณี อยู่คง (2547)
2. นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในข้อ 1 มาสร้างเกณฑ์การสังเกตให้ครอบคลุมถึงพัฒนาการการปั้นทั้ง 4 ขั้นพัฒนาการ มีจำนวนรวมทั้งหมด 17 ข้อ
3. สร้างคู่มือในการดำเนินการสังเกตพัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัย
4. นำแบบสังเกตพัฒนาการการปั้น ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเพื่อตรวจหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบสังเกต จำนวน 3 ท่าน ดังนี้
(1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรใจ สารยศ อาจารย์ประจำโรงเรียนละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
(2) อาจารย์จันทนา เชื้อไทย อาจารย์ประจำโรงเรียนวัดสุธาโภชน์ พระนครศรีอยุธยา
(3) อาจารย์ภารณี เศรษฐวงศ์สิน อาจารย์ประจำโรงเรียนวัดทางยาว พระนครศรีอยุธยา
ผลการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านลงความเห็นและให้คะแนนรวม โดยใช้เกณฑ์ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ (IOC)
5. นำแบบสังเกตและคู่มือดำเนินการสังเกตพัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัยมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 2 ใน 3 ท่าน
6. นำคะแนนที่ได้มาหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ( – Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. 2538 : 200) ปรากฏว่า.....
7. นำแบบสังเกตพัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัยที่ปรับปรุงเหมาะสมแล้วไปจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง
การสร้างแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จากผลการวาดภาพ ทีซีพี – ดีพี (TCT – DP : Test For Creative Thinking – Drawing Production) ของ เยลเลน และ เออร์บัน (Jellen and Urban)
ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จากผลการวาดภาพของ เยลเลน และ เออร์บัน (Jellen and Urban) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบทดสอบทีซีที – ดีพี (TCT – DP : Test For Creative Thinking – Drawing Production) ซึ่งแปลโดย อนินทิตา โปษะกฤษณะ (2532 : 96) ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการตามลำดับขั้นดังนี้
1.1 ศึกษาคุณภาพและวิธีการใช้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จากผลการวาดภาพหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบทดสอบ ทีซีที – ดีพี (TCT – DP : Test For Creative Thinking – Drawing Production) ของ เยลเลน และ เออร์บัน (กนิษฐา ชูขันธ์. 2541 : 45 ; อ้างอิงจาก (Jellen & Urban. 1986 : 138 - 155) ชาวเยอรมัน เพื่อทำความเข้าใจ
ลักษณะของแบบทดสอบ
แบบทดสอบนี้เป็นแบบทดสอบที่ใช้กระดาษและดินสอ โดยใช้ทดสอบเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ซึ่งกำหนดรูปแบบดังนี้
1. สิ่งที่กำหนด เป็นสิ่งเร้าที่จัดเตรียมไว้ ในรูปแบบของชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมี รูปครึ่งวงกลม รูปมุมฉาก รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบไม่สมบูรณ์ จุด รูปรอยเส้นประ รูปเส้นโค้งคล้ายตัว S ซึ่งประกอบอยู่ด้านในและด้านนอกกรอบสี่เหลี่ยมใหญ่
2. การตอบสิ่งเร้า ผู้ถูกทดสอบสามารถตอบสนองได้อย่างอิสระตามจินตนาการโดยการวาดภาพขึ้นมาภายในขอบเขตของช่วงเวลาที่กำหนดให้ และมีเกณฑ์สำหรับยึดถือเป็นหลักในการประเมินคุณค่า ความคิดสร้างสรรค์จากผลการวาดภาพทั้งหมด 11 เกณฑ์
3. การใช้แบบทดสอบ
3.1 ผู้ถูกทดสอบจะได้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จากผลการวาดภาพ ทีซีที – ดีพี (TCT – DP : Test For Creative Thinking – Drawing Production) และดินสอดำ ซึ่งไม่มียางลบ เพื่อไม่ให้ผู้ตอบเปลี่ยนภาพที่วาดแล้ว
3.2 ผู้ทดสอบอ่านคำสั่งช้าๆ และชัดเจนดังนี้
- ผู้ถูกทดสอบเข้าใจแล้วให้ลงมือวาดภาพ ถ้าหากมีคำถามในช่วงที่กำลังทำแบบทดสอบ ผู้ทดสอบอาจตอบในลักษณะ “เด็กๆอยากจะวาดอะไรก็ได้ตามที่อยากจะวาดทุกรูปเป็นสิ่งที่ถูกต้องทั้งสิ้น ทำอย่างไรก็ได้ไม่มีสิ่งใดผิด”
- ในการทดสอบกำหนดเวลา 15 นาที หลังจากนั้นผู้ทดสอบจะเก็บแบบทดสอบทั้งหมด และเขียนชื่อ อายุ เพศ และชื่อเรื่องภาพไว้มุมขวาบนของแบบทดสอบ
- จดบันทึกเวลาการทำแบบทดสอบของผู้ที่ทำเสร็จก่อน 12 นาที ไว้มุมขวาบนของแบบทดสอบ
การให้คะแนนความคิดสร้างสรรค์
ในแบบทดสอบทีซีที – ดีพี (TCT – DP) มีชิ้นส่วนรูปร่างต่างๆ 6 ชิ้นส่วน คือ วงกลม จุด มุมฉากใหญ่ เส้นโค้ง เส้นประ สี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็กปลายเปิดนอกกรอบสี่เหลี่ยมใหญ่ (ซึ่งกรอบสี่เหลี่ยมไม่นับอยู่ใน 6 ชิ้นส่วนที่กำหนดไว้) ชิ้นส่วนรูปร่างต่างๆ 6 ชิ้นส่วน มีผลต่อการตรวจให้คะแนน โดยการนำภาพวาดแต่ละภาพมาประเมินตามเกณฑ์ 11 ข้อ ดังนี้
1. การต่อเติม (Cn : Continuations)
2. ความสมบูรณ์ (Cm : Completions)
3. ภาพที่สร้างขึ้นใหม่ (Ne : New Elements)
4. การต่อเนื่องด้วยเส้น (Cl : Connections made with lines)
5. การต่อเนื่องที่ทำให้เกิดเป็นเรื่องราว (Cth : Connections made that Contribute to a theme)
6. การข้ามเส้นกั้นเขตโดยการใช้ชิ้นส่วนที่กำหนดให้นอกกรอบใหญ่ (Bfd : Boundary breaking fragment – dependent)
7. การข้ามเส้นกั้นเขตอย่างอิสระโดยไม่ใช้ส่วนที่กำหนดให้นอกกรอบใหญ่ (Bfi)
8. การแสดงความลึก ใกล้ – ไกล หรือมิติของภาพ (Pe)
9. อารมณ์ขัน (Hu)
10. การคิดแปลกใหม่ ไม่คิดตามแบบแผน (Uc)
11. ความเร็ว (Sp)
คะแนนรวมของแบบทดสอบ ทีซีที – ดีพี
ด้านหลังของแบบทดสอบมีข้อเล็กๆ อยู่ 11 ช่อง แต่ละช่องมีรหัสสำหรับให้คะแนน วิธีการให้คะแนนเพียงแต่พับส่วนล่างของแบบทดสอบขึ้นมา ก็สามารถให้คะแนนได้ทันที คะแนนรวมของแบบทดสอบ ทีซีที – ดีพี (Total Score) คือ 72 คะแนน โดยมีรายละเอียดของคะแนนดังนี้ เกณฑ์ข้อที่ 1 – 11 ยกเว้นข้อ 10 คะแนนข้อละ 6 คะแนน ข้อ 10 แบ่งเป็น 4 ข้อย่อย ข้อย่อยละ 3 คะแนน รวม 12 คะแนน
ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ
เนื่องจากแบบทดสอบ ทีซีที – ดีพี (TCT – DP : Test For Creative Thinking – Drawing Production) ของ เยลเลน และ เออร์บัน (กนิษฐา ชูขันธ์. 2541 : 45 ; อ้างอิงจาก Jellen ; & Urban. 1986 : 138 – 155) ได้หาความเชื่อมั่นโดยนำแบบทดสอบไปทดสอบกับเด็กต่างระดับความรู้ได้ค่าสหสัมพันธ์
1.2 การให้คะแนนแบบทดสอบ ทีซีที – ดีพี ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยเป็นผู้ตรวจแบบทดสอบเอง และผู้เชี่ยวชาญ อีก 2 ท่าน เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของการให้คะแนนของผู้วิจัย คือ
(1) อาจารย์วิตินันท์ สุนา อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
(2) อาจารย์พรรัก อินทามระ อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
นำผลการให้คะแนนมาเปรียบเทียบดูความแตกต่าง หากคะแนนรายคนแตกต่างกันมากกว่า 3 คะแนน ต้องนำมาวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์การให้คะแนน 11 ข้อ ร่วมกันระหว่างผู้ให้คะแนนทั้ง 3 ท่าน และในการตรวจครั้งนี้พบว่า.............
5. นำแผนการจัดกิจกรรมการปั้น ที่ปรับปรุงแก้ไขตามข้อ 4 เพื่อปรับปรุงสื่อประกอบการปั้น และขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนด
6. นำแผนการจัดกิจกรรมการปั้นที่ปรับปรุงเหมาะสมแล้วไปจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์ แล้วนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง
การสร้างแบบสังเกตพัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัย มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาทฤษฎีพัฒนาการการปั้นของเซอร์มาเซอร์ ในเอกสารประกอบการสอนของศุภกุล เกียรติสุนทร (2549) และงานวิจัยของวรรณี อยู่คง (2547)
2. นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในข้อ 1 มาสร้างเกณฑ์การสังเกตให้ครอบคลุมถึงพัฒนาการการปั้นทั้ง 4 ขั้นพัฒนาการ มีจำนวนรวมทั้งหมด 17 ข้อ
3. สร้างคู่มือในการดำเนินการสังเกตพัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัย
4. นำแบบสังเกตพัฒนาการการปั้น ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเพื่อตรวจหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบสังเกต จำนวน 3 ท่าน ดังนี้
(1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรใจ สารยศ อาจารย์ประจำโรงเรียนละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
(2) อาจารย์จันทนา เชื้อไทย อาจารย์ประจำโรงเรียนวัดสุธาโภชน์ พระนครศรีอยุธยา
(3) อาจารย์ภารณี เศรษฐวงศ์สิน อาจารย์ประจำโรงเรียนวัดทางยาว พระนครศรีอยุธยา
ผลการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านลงความเห็นและให้คะแนนรวม โดยใช้เกณฑ์ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ (IOC)
5. นำแบบสังเกตและคู่มือดำเนินการสังเกตพัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัยมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 2 ใน 3 ท่าน
6. นำคะแนนที่ได้มาหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ( – Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. 2538 : 200) ปรากฏว่า.....
7. นำแบบสังเกตพัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัยที่ปรับปรุงเหมาะสมแล้วไปจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง
การสร้างแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จากผลการวาดภาพ ทีซีพี – ดีพี (TCT – DP : Test For Creative Thinking – Drawing Production) ของ เยลเลน และ เออร์บัน (Jellen and Urban)
ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จากผลการวาดภาพของ เยลเลน และ เออร์บัน (Jellen and Urban) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบทดสอบทีซีที – ดีพี (TCT – DP : Test For Creative Thinking – Drawing Production) ซึ่งแปลโดย อนินทิตา โปษะกฤษณะ (2532 : 96) ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการตามลำดับขั้นดังนี้
1.1 ศึกษาคุณภาพและวิธีการใช้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จากผลการวาดภาพหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบทดสอบ ทีซีที – ดีพี (TCT – DP : Test For Creative Thinking – Drawing Production) ของ เยลเลน และ เออร์บัน (กนิษฐา ชูขันธ์. 2541 : 45 ; อ้างอิงจาก (Jellen & Urban. 1986 : 138 - 155) ชาวเยอรมัน เพื่อทำความเข้าใจ
ลักษณะของแบบทดสอบ
แบบทดสอบนี้เป็นแบบทดสอบที่ใช้กระดาษและดินสอ โดยใช้ทดสอบเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ซึ่งกำหนดรูปแบบดังนี้
1. สิ่งที่กำหนด เป็นสิ่งเร้าที่จัดเตรียมไว้ ในรูปแบบของชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมี รูปครึ่งวงกลม รูปมุมฉาก รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบไม่สมบูรณ์ จุด รูปรอยเส้นประ รูปเส้นโค้งคล้ายตัว S ซึ่งประกอบอยู่ด้านในและด้านนอกกรอบสี่เหลี่ยมใหญ่
2. การตอบสิ่งเร้า ผู้ถูกทดสอบสามารถตอบสนองได้อย่างอิสระตามจินตนาการโดยการวาดภาพขึ้นมาภายในขอบเขตของช่วงเวลาที่กำหนดให้ และมีเกณฑ์สำหรับยึดถือเป็นหลักในการประเมินคุณค่า ความคิดสร้างสรรค์จากผลการวาดภาพทั้งหมด 11 เกณฑ์
3. การใช้แบบทดสอบ
3.1 ผู้ถูกทดสอบจะได้แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จากผลการวาดภาพ ทีซีที – ดีพี (TCT – DP : Test For Creative Thinking – Drawing Production) และดินสอดำ ซึ่งไม่มียางลบ เพื่อไม่ให้ผู้ตอบเปลี่ยนภาพที่วาดแล้ว
3.2 ผู้ทดสอบอ่านคำสั่งช้าๆ และชัดเจนดังนี้
- ผู้ถูกทดสอบเข้าใจแล้วให้ลงมือวาดภาพ ถ้าหากมีคำถามในช่วงที่กำลังทำแบบทดสอบ ผู้ทดสอบอาจตอบในลักษณะ “เด็กๆอยากจะวาดอะไรก็ได้ตามที่อยากจะวาดทุกรูปเป็นสิ่งที่ถูกต้องทั้งสิ้น ทำอย่างไรก็ได้ไม่มีสิ่งใดผิด”
- ในการทดสอบกำหนดเวลา 15 นาที หลังจากนั้นผู้ทดสอบจะเก็บแบบทดสอบทั้งหมด และเขียนชื่อ อายุ เพศ และชื่อเรื่องภาพไว้มุมขวาบนของแบบทดสอบ
- จดบันทึกเวลาการทำแบบทดสอบของผู้ที่ทำเสร็จก่อน 12 นาที ไว้มุมขวาบนของแบบทดสอบ
การให้คะแนนความคิดสร้างสรรค์
ในแบบทดสอบทีซีที – ดีพี (TCT – DP) มีชิ้นส่วนรูปร่างต่างๆ 6 ชิ้นส่วน คือ วงกลม จุด มุมฉากใหญ่ เส้นโค้ง เส้นประ สี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็กปลายเปิดนอกกรอบสี่เหลี่ยมใหญ่ (ซึ่งกรอบสี่เหลี่ยมไม่นับอยู่ใน 6 ชิ้นส่วนที่กำหนดไว้) ชิ้นส่วนรูปร่างต่างๆ 6 ชิ้นส่วน มีผลต่อการตรวจให้คะแนน โดยการนำภาพวาดแต่ละภาพมาประเมินตามเกณฑ์ 11 ข้อ ดังนี้
1. การต่อเติม (Cn : Continuations)
2. ความสมบูรณ์ (Cm : Completions)
3. ภาพที่สร้างขึ้นใหม่ (Ne : New Elements)
4. การต่อเนื่องด้วยเส้น (Cl : Connections made with lines)
5. การต่อเนื่องที่ทำให้เกิดเป็นเรื่องราว (Cth : Connections made that Contribute to a theme)
6. การข้ามเส้นกั้นเขตโดยการใช้ชิ้นส่วนที่กำหนดให้นอกกรอบใหญ่ (Bfd : Boundary breaking fragment – dependent)
7. การข้ามเส้นกั้นเขตอย่างอิสระโดยไม่ใช้ส่วนที่กำหนดให้นอกกรอบใหญ่ (Bfi)
8. การแสดงความลึก ใกล้ – ไกล หรือมิติของภาพ (Pe)
9. อารมณ์ขัน (Hu)
10. การคิดแปลกใหม่ ไม่คิดตามแบบแผน (Uc)
11. ความเร็ว (Sp)
คะแนนรวมของแบบทดสอบ ทีซีที – ดีพี
ด้านหลังของแบบทดสอบมีข้อเล็กๆ อยู่ 11 ช่อง แต่ละช่องมีรหัสสำหรับให้คะแนน วิธีการให้คะแนนเพียงแต่พับส่วนล่างของแบบทดสอบขึ้นมา ก็สามารถให้คะแนนได้ทันที คะแนนรวมของแบบทดสอบ ทีซีที – ดีพี (Total Score) คือ 72 คะแนน โดยมีรายละเอียดของคะแนนดังนี้ เกณฑ์ข้อที่ 1 – 11 ยกเว้นข้อ 10 คะแนนข้อละ 6 คะแนน ข้อ 10 แบ่งเป็น 4 ข้อย่อย ข้อย่อยละ 3 คะแนน รวม 12 คะแนน
ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ
เนื่องจากแบบทดสอบ ทีซีที – ดีพี (TCT – DP : Test For Creative Thinking – Drawing Production) ของ เยลเลน และ เออร์บัน (กนิษฐา ชูขันธ์. 2541 : 45 ; อ้างอิงจาก Jellen ; & Urban. 1986 : 138 – 155) ได้หาความเชื่อมั่นโดยนำแบบทดสอบไปทดสอบกับเด็กต่างระดับความรู้ได้ค่าสหสัมพันธ์
1.2 การให้คะแนนแบบทดสอบ ทีซีที – ดีพี ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยเป็นผู้ตรวจแบบทดสอบเอง และผู้เชี่ยวชาญ อีก 2 ท่าน เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของการให้คะแนนของผู้วิจัย คือ
(1) อาจารย์วิตินันท์ สุนา อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
(2) อาจารย์พรรัก อินทามระ อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
นำผลการให้คะแนนมาเปรียบเทียบดูความแตกต่าง หากคะแนนรายคนแตกต่างกันมากกว่า 3 คะแนน ต้องนำมาวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์การให้คะแนน 11 ข้อ ร่วมกันระหว่างผู้ให้คะแนนทั้ง 3 ท่าน และในการตรวจครั้งนี้พบว่า.............
4. แบบแผนการทดลองและวิธีดำเนินการทดลอง
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองโดยใช้แผนการทดลองแบบ One – Group Pretest – Posttest Design (ล้วน สานยศ และ อังคณา สายยศ. 2538 : 249)
ความหมายของสัญลักษณ์
ER คือ กลุ่มตัวอย่างในการทดลอง
T1 คือ การทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) โดยใช้แบบสังเกตพัฒนาการการ
ปั้นของเด็กปฐมวัย และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
X คือ การจัดกิจกรรมการปั้น
T2 คือ การทดสอบหลังการทดลอง (Posttest) โดยใช้แบบสังเกตพัฒนาการการ
ปั้นของเด็กปฐมวัย และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
การดำเนินการทดลองมีขั้นตอนดังนี้
1. ทำการทดสอบเด็กก่อนการทดลอง (pretest) ด้วยแบบสังเกตพัฒนาการการปั้นของ เด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ ทีซีที – ดีพี (TCT – DP : Test For Creative Thinking – Drawing Production) ของเยลเลนและเออร์บัน (Jellen & Urban. 1986 : 138 – 155)
2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเอง โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้รับการจัดกิจกรรมการปั้น ซึ่งทำการทดลองในช่วงเวลาที่นอกเหนือจากเวลาเรียน กิจกรรมปั้นแป้งโดจะเปลี่ยนอุปกรณ์สัปดาห์ละ 1 อย่าง จำนวนกิจกรรมการปั้นแป้งโด 10 กิจกรรม ใช้เวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ โดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคาร และวันพุธ วันละ 1 ครั้งๆ ละ 20 นาที ช่วงระหว่างเวลา 11.30 – 11.50 น. รวมทั้งสิ้น 30 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมดังนี้
2.1 ครูแนะนำกิจกรรม
2.2 ให้เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
2.3 ให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม
2.4 เมื่อทำกิจกรรมเสร็จให้เด็กนำผลงานมาเล่าให้ครูฟัง
2.5 ครูจดบันทึกและถ่ายภาพผลงานเด็กนำไปเก็บเข้าแฟ้มสะสมผลงาน
หมายเหตุ
กิจกรรมที่จัดในการทดลองครั้งนี้ จัดเป็นโต๊ะการจัดกิจกรรมการปั้นแป้งโด ทั้งหมด 2 โต๊ะกิจกรรม โดยแบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่มและให้เด็กหมุนเวียนทำกิจกรรมให้ครบทุกโต๊ะ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ซึ่ง 2 สัปดาห์แรกยังไม่ใช้สื่อประกอบการปั้น เนื่องจากในช่วง 2 สัปดาห์แรกเป็นการฝึกวินัยในการปฏิบัติตามข้อตกลง และตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 จนสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยได้จัดเตรียมสื่อประกอบการปั้น ตามตารางข้างต้น
3. เมื่อดำเนินการทดลองครบ 10 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง (Posttest) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบสังเกตและแบบทดสอบฉบับเดียวกันกับที่ใช้ก่อนการทดลอง
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองไปวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ ดังนี้
1. สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1.1 หาค่าเฉลี่ย (Mean) โดยคำนวณจากสูตร (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. 2538 : 73)
1.2 หาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยคำนวณจากสูตร (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. 2538 : 79)
2. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
2.1 สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) โดยคำนวณจากสูตร (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. 2538 : 250)
3. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน
3.1 เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนก่อนทดลองและหลังการทดลอง โดยใช้ t – test แบบ Dependent Samples โดยคำนวณจากสูตร (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. 2538 : 104)
4. การแปลผลระดับความสามารถของพัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัย
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองโดยใช้แผนการทดลองแบบ One – Group Pretest – Posttest Design (ล้วน สานยศ และ อังคณา สายยศ. 2538 : 249)
ความหมายของสัญลักษณ์
ER คือ กลุ่มตัวอย่างในการทดลอง
T1 คือ การทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) โดยใช้แบบสังเกตพัฒนาการการ
ปั้นของเด็กปฐมวัย และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
X คือ การจัดกิจกรรมการปั้น
T2 คือ การทดสอบหลังการทดลอง (Posttest) โดยใช้แบบสังเกตพัฒนาการการ
ปั้นของเด็กปฐมวัย และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
การดำเนินการทดลองมีขั้นตอนดังนี้
1. ทำการทดสอบเด็กก่อนการทดลอง (pretest) ด้วยแบบสังเกตพัฒนาการการปั้นของ เด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ ทีซีที – ดีพี (TCT – DP : Test For Creative Thinking – Drawing Production) ของเยลเลนและเออร์บัน (Jellen & Urban. 1986 : 138 – 155)
2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเอง โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้รับการจัดกิจกรรมการปั้น ซึ่งทำการทดลองในช่วงเวลาที่นอกเหนือจากเวลาเรียน กิจกรรมปั้นแป้งโดจะเปลี่ยนอุปกรณ์สัปดาห์ละ 1 อย่าง จำนวนกิจกรรมการปั้นแป้งโด 10 กิจกรรม ใช้เวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ โดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคาร และวันพุธ วันละ 1 ครั้งๆ ละ 20 นาที ช่วงระหว่างเวลา 11.30 – 11.50 น. รวมทั้งสิ้น 30 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมดังนี้
2.1 ครูแนะนำกิจกรรม
2.2 ให้เด็กเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ
2.3 ให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม
2.4 เมื่อทำกิจกรรมเสร็จให้เด็กนำผลงานมาเล่าให้ครูฟัง
2.5 ครูจดบันทึกและถ่ายภาพผลงานเด็กนำไปเก็บเข้าแฟ้มสะสมผลงาน
หมายเหตุ
กิจกรรมที่จัดในการทดลองครั้งนี้ จัดเป็นโต๊ะการจัดกิจกรรมการปั้นแป้งโด ทั้งหมด 2 โต๊ะกิจกรรม โดยแบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่มและให้เด็กหมุนเวียนทำกิจกรรมให้ครบทุกโต๊ะ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ซึ่ง 2 สัปดาห์แรกยังไม่ใช้สื่อประกอบการปั้น เนื่องจากในช่วง 2 สัปดาห์แรกเป็นการฝึกวินัยในการปฏิบัติตามข้อตกลง และตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 จนสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยได้จัดเตรียมสื่อประกอบการปั้น ตามตารางข้างต้น
3. เมื่อดำเนินการทดลองครบ 10 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง (Posttest) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบสังเกตและแบบทดสอบฉบับเดียวกันกับที่ใช้ก่อนการทดลอง
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองไปวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ ดังนี้
1. สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1.1 หาค่าเฉลี่ย (Mean) โดยคำนวณจากสูตร (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. 2538 : 73)
1.2 หาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยคำนวณจากสูตร (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. 2538 : 79)
2. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
2.1 สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) โดยคำนวณจากสูตร (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. 2538 : 250)
3. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน
3.1 เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนก่อนทดลองและหลังการทดลอง โดยใช้ t – test แบบ Dependent Samples โดยคำนวณจากสูตร (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. 2538 : 104)
4. การแปลผลระดับความสามารถของพัฒนาการการปั้นของเด็กปฐมวัย
1 comment:
Casino Site Review 2021 | Lucky Club
Betting Odds: In this review, you'll discover the site's features, games, payment methods, luckyclub and much more. As one of the fastest growing UK online casinos, Rating: 4.1 · Review by LuckyClub
Post a Comment